กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียนเขต รพ.สต.บูกิต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้องจังหวัดนราธิวาส

โรงเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อของนักเรียนในโรงเรียน

 

90.00

โรคติดต่อนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก โรคหัด โรคสุกใส โรคมือเท้าปาก โรคอุจจาระร่วง และโรคตาแดง เป็นต้น ถือเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิต และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ แต่พบว่าปัญหาโรคติดต่อไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
จากข้อมูลการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต ปี ๒๕๖๒ พบว่าจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน ๑๑ ราย คิดเป็น ๑๗๒.๖๓ต่อแสนประชากร โรคหัด จำนวน ๑ ราย คิดเป็น๑๕.๖๙ต่อแสนประชากร โรคสุกใส จำนวน ๒๕ ราย คิดเป็น ๓๙๒.๓๔ ต่อแสนประชากร โรคมือเท้าปากไม่มีผู้ป่วย โรคอุจจาระร่วง จำนวน ๖๔ ราย คิดเป็น ๑,๐๐๔.๓๔ต่อแสนประชากร โรคอุจจาระร่วง จำนวน ๖๔ ราย คิดเป็น ๑,๐๓๕ ต่อแสนประชากร และโรคตาแดง จำนวน ๘ ราย คิดเป็น ๑๒๕.๕๕ ต่อแสนประชากรซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าที่กำหนด คือไม่เกิน ๙๐ คน ต่อแสนประชากร (www.naradusis.info)จากข้อมูลผู้ป่วยข้างต้น พบผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มวัยเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บูกิตจึงต้องมีการดำเนินการควบคุมโรคในโรงเรียนเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการแพร่กระจายเชื้อโรคต่างๆ
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการควบคุม ป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียน จึงได้ประสานความร่วมมือกับโรงเรียนในเขตรับผิดชอบเพื่อจัดทำโครงการ ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียน เขต รพ.สต.บูกิตอำเภอเจาะไอร้องจังหวัดนราธิวาส ปี ๒๕๖๓

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ การควบคุมและป้องกันโรค

1.แกนนำนักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับโรคติดต่อ การควบคุมและป้องกันโรค ร้อยละ 80

50.00 80.00
2 2.เพื่อลดการเกิดโรคติดต่อในโรงเรียน เมื่อเทียบกับผลการเกิดโรค 5 ปีย้อนหลัง

2.เกิดการระบาดของโรคติดต่อในโรงเรียนลดลง เมื่อเทียบกับผลการเกิดโรค 5 ปีย้อนหลัง

90.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน 2 โรง 2 วัน ( ร.ร.บ้านบูกิต / ร.ร.บ้านเจาะเกาะ )

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน 2 โรง 2 วัน ( ร.ร.บ้านบูกิต / ร.ร.บ้านเจาะเกาะ )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร ๖๐๐ บาท X ๑ คนX ๔ ชม.X ๒ วัน เป็นเงิน ๔,๘๐๐ บาท
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม ๒๕ บาทXจำนวน ๕๐ คน X ๒ มื้อ X๒ วันเป็นเงิน ๕,๐๐๐บาท
  • ค่าวัสดุ(ป้ายไวนิล) ขนาด ๑.๒ X ๒ เมตรเป็นเงิน ๖๐๐ บาท
  • ค่าวัสดุดำเนินงานโครงการ เป็นเงิน ๓,๕๔๐ บาท (ตามเอกสารแนบท้าย) ทั้งหมด จำนวน ๑๓,๙๔๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำนักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับโรคติดต่อ การควบคุมและป้องกันโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13940.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำในโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,940.00 บาท

หมายเหตุ :
๑.จัดประชุมชี้แจงและวิเคราะห์ข้อมูลการเกิดโรคติดต่อ ปี พ.ศ. ๒๕๖๒พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้อำนวยการโรงเรียน หรือครูอนามัยโรงเรียนเพื่อค้นหาปัญหา และแนวทางการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่
๒.เจ้าหน้าที่เตรียมข้อมูลชี้แจงผู้อำนวยการโรงเรียน หรือครูอนามัยโรงเรียน เรื่องการเกิดโรคติดต่อในสถานศึกษา เพื่อค้นหาปัญหา และแนวทางการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่
๓.จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำนักเรียนเกี่ยวกับโรคติดต่อ และการควบคุม ป้องกันโรคติดต่อเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจโรคติดต่อ
๔.แกนนำนักเรียน มีการสำรวจลูกน้ำยุงลายทุกเดือน
๕.สรุป และประเมินผลการดำเนินงานปี พ.ศ. ๒๕๖๓

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.แกนนำนักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับโรคติดต่อ การควบคุมและป้องกันโรค
2.เกิดการระบาดของโรคติดต่อในโรงเรียนลดลง เมื่อเทียบกับผลการเกิดโรค ๕ ปี ย้อนหลัง


>