กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียนเขต รพ.สต.บูกิต
รหัสโครงการ 63 - L2479 - 1 - 02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้องจังหวัดนราธิวาส
วันที่อนุมัติ 7 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 13,940.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซัยนะ ดีแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อของนักเรียนในโรงเรียน
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก โรคหัด โรคสุกใส โรคมือเท้าปาก โรคอุจจาระร่วง และโรคตาแดง เป็นต้น ถือเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิต และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ แต่พบว่าปัญหาโรคติดต่อไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จากข้อมูลการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต ปี ๒๕๖๒ พบว่าจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน ๑๑ ราย คิดเป็น ๑๗๒.๖๓ต่อแสนประชากร โรคหัด จำนวน ๑ ราย คิดเป็น๑๕.๖๙ต่อแสนประชากร โรคสุกใส จำนวน ๒๕ ราย คิดเป็น ๓๙๒.๓๔ ต่อแสนประชากร โรคมือเท้าปากไม่มีผู้ป่วย โรคอุจจาระร่วง จำนวน ๖๔ ราย คิดเป็น ๑,๐๐๔.๓๔ต่อแสนประชากร โรคอุจจาระร่วง จำนวน ๖๔ ราย คิดเป็น ๑,๐๓๕ ต่อแสนประชากร และโรคตาแดง จำนวน ๘ ราย คิดเป็น ๑๒๕.๕๕ ต่อแสนประชากรซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าที่กำหนด คือไม่เกิน ๙๐ คน ต่อแสนประชากร (www.naradusis.info)จากข้อมูลผู้ป่วยข้างต้น พบผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มวัยเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บูกิตจึงต้องมีการดำเนินการควบคุมโรคในโรงเรียนเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการแพร่กระจายเชื้อโรคต่างๆ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการควบคุม ป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียน จึงได้ประสานความร่วมมือกับโรงเรียนในเขตรับผิดชอบเพื่อจัดทำโครงการ ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียน เขต รพ.สต.บูกิตอำเภอเจาะไอร้องจังหวัดนราธิวาส ปี ๒๕๖๓

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ การควบคุมและป้องกันโรค

1.แกนนำนักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับโรคติดต่อ การควบคุมและป้องกันโรค ร้อยละ 80

50.00 80.00
2 2.เพื่อลดการเกิดโรคติดต่อในโรงเรียน เมื่อเทียบกับผลการเกิดโรค 5 ปีย้อนหลัง

2.เกิดการระบาดของโรคติดต่อในโรงเรียนลดลง เมื่อเทียบกับผลการเกิดโรค 5 ปีย้อนหลัง

90.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ การควบคุมและป้องกันโรค

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อลดการเกิดโรคติดต่อในโรงเรียน เมื่อเทียบกับผลการเกิดโรค 5 ปีย้อนหลัง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

17 ก.ย. 63 สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 0.00 0.00 -
18 ก.ย. 63 จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน 2 โรง 2 วัน ( ร.ร.บ้านบูกิต / ร.ร.บ้านเจาะเกาะ ) 0.00 13,940.00 -
23 ก.ย. 63 ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 0.00 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๑.จัดประชุมชี้แจงและวิเคราะห์ข้อมูลการเกิดโรคติดต่อ ปี พ.ศ. ๒๕๖๒พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้อำนวยการโรงเรียน หรือครูอนามัยโรงเรียนเพื่อค้นหาปัญหา และแนวทางการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่ ๒.เจ้าหน้าที่เตรียมข้อมูลชี้แจงผู้อำนวยการโรงเรียน หรือครูอนามัยโรงเรียน เรื่องการเกิดโรคติดต่อในสถานศึกษา เพื่อค้นหาปัญหา และแนวทางการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่ ๓.จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำนักเรียนเกี่ยวกับโรคติดต่อ และการควบคุม ป้องกันโรคติดต่อเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจโรคติดต่อ ๔.แกนนำนักเรียน มีการสำรวจลูกน้ำยุงลายทุกเดือน ๕.สรุป และประเมินผลการดำเนินงานปี พ.ศ. ๒๕๖๓

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แกนนำนักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับโรคติดต่อ การควบคุมและป้องกันโรค
2.เกิดการระบาดของโรคติดต่อในโรงเรียนลดลง เมื่อเทียบกับผลการเกิดโรค ๕ ปี ย้อนหลัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2562 00:00 น.