กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

1.นางอุไรพงค์จันทร์เสถียร
2.นางละเอียด สุวรรณชาตรี
3.นายชรินทร์ หนูเกื้อ
4.นางเพ็ญ ขาวมาก
5.นางอำไพ ก้งเส้ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

 

3.00
2 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

3.00
3 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

3.00
4 ร้อยละของร้านชำที่ขายยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพซึ่งห้ามขายในร้านชำ

 

3.00

ในปัจจุบันสุขภาพของคนในพื้นที่ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายชนิด ที่เป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งสาเหตุเกิดจากอาหารการกินสารเคมีที่ปนเปื้อนมาในอาหารในรูปแบบต่างๆ ทำให้ประชาชนเกิดโรคมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์สุขภาพหลายชนิดที่เกิดขึ้น ทั้งผลิตภัณฑ์อาหารยา และเครื่องสำอาง ที่กลุ่มผู้ผลิตโฆษณาเพื่อดึงดูดความสนใจผู้บริโภคให้มาใช้สินค้า เกิดการแข่งขันทางธุรกิจกลุ่มผู้ผลิตพยายามหาจุดขายของผลิตภัณฑ์ บางผลิตภัณฑ์มีการใช้สารที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสม เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค เช่น สารไฮโดรควิโนน สารปรอท กรดวิตามินเอ ซึ่งห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สารสเตียรอยด์ ห้ามใช้ในยาแผนโบราณ ส่วนใหญ่จะพบในยาลูกกลอน กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผัก ผลไม้ ใช้สารเคมีเพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ รวมทั้ง ร้านค้าที่นำผลิตภัณฑ์สุขภาพมาขายในร้าน ยังมีการแอบนำผลิตภัณฑ์ ยาที่ห้ามจำหน่ายในร้านชำมาขายให้ประชาชนในชุมชนจำเป็นต้องให้ประชาชนได้รับความรู้และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้โดยผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ( อสม. )เป็นแกนนำในการดำเนินกิจกรรม ปีงบประมาณ 2562 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ได้ตรวจประเมินร้านชำในชุมชน พบว่า มีร้านขายของชำที่แอบขายยาและเครื่องสำอางที่ห้ามขาย จำนวน 4 ร้าน (ร้อยละ 25) และประชาสัมพันธ์การห้ามขายบุหรี่ให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ สำหรับกลุ่มผู้บริโภคและเกษตรกร ได้ตรวจเลือดหาสารเคมีตกค้าง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มไม่ปลอดภัย ร้อยละ 44.09และกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 40.16 ดังนั้นหากประชาชนในพื้นที่ไม่ได้รับความรู้ ไม่ได้รับการเฝ้าระวังความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสาเหตุที่มาจากการรับประทานอาหาร การใช้ยาและเครื่องสำอาง อาจทำให้เกิดอาการแพ้สารเคมี แพ้ยา หรือแพ้เครื่องสำอาง ซึ่งการเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของครอบครัวที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการรักษา ดังนั้นการเฝ้าระวัง ด้านอาหาร ยา และ เครื่องสำอางเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนในชุมชนเกิดการเจ็บป่วย อีกทั้งกระตุ้นให้ประชาชนปลูกผัก ผลไม้ กินเองที่บ้านเพื่อลดระดับสารเคมีตกค้างในเลือดป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำในชุมชนขึ้น เพื่อสร้างแกนนำช่วยเฝ้าระวัง ตรวจร้านชำ ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำและประชาชนในการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพเครื่องสำอาง อาหาร ยา ที่ปลอดภัย และรับทราบข้อมูลข่าวสารผลิตภัณฑ์ที่ประกาศห้ามใช้ซึ่งได้ผ่านการตรวจจากอสม.นักวิทย์และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 ตรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำขายของชำและทีมตรวจมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ผู้ประกอบการและทีมมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ

3.00 40.00
2 เพื่อให้ร้านขายของชำทุกร้านได้รับการเฝ้าระวัง และตรวจการขายอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ร้านชำทุกร้านต้องมีการเฝ้าระวังอาหาร ยา  เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่มีอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน

3.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 31/07/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในชุมชนและ อสม.นักวิทย์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในชุมชนและ อสม.นักวิทย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 3 คนๆละ2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • อาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท
  • ป้ายไวนิล ขนาด 1.5 x 2 เมตร ตรม.ละ 180 บาทจำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 540 บาท
  • ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 40 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ประกอบการร้านขายของชำในชุมชนและ อสม.นักวิทย์ มีความรู้และทักษะการตรวจประเมินยา อาหาร และเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10140.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจร้านขายของชำในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจร้านขายของชำในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเบี้ยเลี้ยง อสม. นักวิทยิ ในการลงตรวจร้านชำ จำนวน 20 คนๆละ100 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าชุดตรวจเป็นเงิน 3,500บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้านชำทุกร้านในชุมชนได้รับการตรวจประเมินร้านชำคุณภาพโดย อสม.นักวิทย์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,640.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ผู้ประกอบการร้านชำและทีมตรวจได้รับความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยาเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
- ร้านขายของชำทุกร้านได้รับการเฝ้าระวัง และตรวจการขายอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ


>