กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำในชุมชน
รหัสโครงการ 2563-L3351-02-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 15,640.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุไร พงค์จันทร์เสถียร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน
3.00
2 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร
3.00
3 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย
3.00
4 ร้อยละของร้านชำที่ขายยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพซึ่งห้ามขายในร้านชำ
3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันสุขภาพของคนในพื้นที่ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายชนิด ที่เป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งสาเหตุเกิดจากอาหารการกินสารเคมีที่ปนเปื้อนมาในอาหารในรูปแบบต่างๆ ทำให้ประชาชนเกิดโรคมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์สุขภาพหลายชนิดที่เกิดขึ้น ทั้งผลิตภัณฑ์อาหารยา และเครื่องสำอาง ที่กลุ่มผู้ผลิตโฆษณาเพื่อดึงดูดความสนใจผู้บริโภคให้มาใช้สินค้า เกิดการแข่งขันทางธุรกิจกลุ่มผู้ผลิตพยายามหาจุดขายของผลิตภัณฑ์ บางผลิตภัณฑ์มีการใช้สารที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสม เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค เช่น สารไฮโดรควิโนน สารปรอท กรดวิตามินเอ ซึ่งห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สารสเตียรอยด์ ห้ามใช้ในยาแผนโบราณ ส่วนใหญ่จะพบในยาลูกกลอน กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผัก ผลไม้ ใช้สารเคมีเพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ รวมทั้ง ร้านค้าที่นำผลิตภัณฑ์สุขภาพมาขายในร้าน ยังมีการแอบนำผลิตภัณฑ์ ยาที่ห้ามจำหน่ายในร้านชำมาขายให้ประชาชนในชุมชนจำเป็นต้องให้ประชาชนได้รับความรู้และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้โดยผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ( อสม. )เป็นแกนนำในการดำเนินกิจกรรม ปีงบประมาณ 2562 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ได้ตรวจประเมินร้านชำในชุมชน พบว่า มีร้านขายของชำที่แอบขายยาและเครื่องสำอางที่ห้ามขาย จำนวน 4 ร้าน (ร้อยละ 25) และประชาสัมพันธ์การห้ามขายบุหรี่ให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ สำหรับกลุ่มผู้บริโภคและเกษตรกร ได้ตรวจเลือดหาสารเคมีตกค้าง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มไม่ปลอดภัย ร้อยละ 44.09และกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 40.16 ดังนั้นหากประชาชนในพื้นที่ไม่ได้รับความรู้ ไม่ได้รับการเฝ้าระวังความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสาเหตุที่มาจากการรับประทานอาหาร การใช้ยาและเครื่องสำอาง อาจทำให้เกิดอาการแพ้สารเคมี แพ้ยา หรือแพ้เครื่องสำอาง ซึ่งการเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของครอบครัวที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการรักษา ดังนั้นการเฝ้าระวัง ด้านอาหาร ยา และ เครื่องสำอางเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนในชุมชนเกิดการเจ็บป่วย อีกทั้งกระตุ้นให้ประชาชนปลูกผัก ผลไม้ กินเองที่บ้านเพื่อลดระดับสารเคมีตกค้างในเลือดป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำในชุมชนขึ้น เพื่อสร้างแกนนำช่วยเฝ้าระวัง ตรวจร้านชำ ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำและประชาชนในการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพเครื่องสำอาง อาหาร ยา ที่ปลอดภัย และรับทราบข้อมูลข่าวสารผลิตภัณฑ์ที่ประกาศห้ามใช้ซึ่งได้ผ่านการตรวจจากอสม.นักวิทย์และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 ตรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำขายของชำและทีมตรวจมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ผู้ประกอบการและทีมมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ

3.00 40.00
2 เพื่อให้ร้านขายของชำทุกร้านได้รับการเฝ้าระวัง และตรวจการขายอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ร้านชำทุกร้านต้องมีการเฝ้าระวังอาหาร ยา  เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่มีอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน

3.00 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,640.00 1 15,640.00
??/??/???? กิจกรรมตรวจร้านขายของชำในชุมชน 0 5,500.00 -
29 ก.ค. 63 กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในชุมชนและ อสม.นักวิทย์ 0 10,140.00 15,640.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้ประกอบการร้านชำและทีมตรวจได้รับความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยาเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  • ร้านขายของชำทุกร้านได้รับการเฝ้าระวัง และตรวจการขายอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2562 00:00 น.