กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โต๊ะเด็ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้า ประจำปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โต๊ะเด็ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาทางสังคมมากกว่าจะเป็นปัญหาทางการแพทย์แต่เพียงอย่างเดียวแม้ว่าการจัดบริการให้ความช่วยเหลือผู้อยู่ในภาวะวิกฤตของชีวิตและการให้การรักษาทางจิตเวชอย่างถูกต้องจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่มาตรการการป้องกันการฆ่าตัวตายหลายประการ ต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆในสังคม เราอาจกำหนดมาตรการป้องกันการฆ่าตัวตาย ได้แก่ การจัดการศึกษา การควบคุมวิธีการที่ใช้ในการฆ่าตัวตาย จัดบริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต การวินิจฉัยและรักษาโรคทางจิตเวชอย่างถูกต้อง การสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและสังคม การเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้า ซึ่งภาวะซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่มีผู้เป็นจำนวนไม่น้อย แต่ยังมีผู้รู้จักโรคนี้ไม่มากนัก บางคนเป็นโดยที่ตัวเองไม่ทราบ คิดว่าเป็นเพราะตนเองคิดมากไปเองก็มี ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที เป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตาย สำหรับสาเหตุของภาวะซึมเศร้า มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัย ทั้งจากด้านกรรมพันธุ์ การพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเด็ก พัฒนาการของจิตใจ รวมถึง การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองบางตัว โดยมีความเครียดทางจิตสังคมเป็นตัวกระตุ้นให้เป็นโรคมากขึ้น เช่น การสูญเสียคนที่รัก การหย่าร้าง การมีโรคทางกายที่เรื้อรังและการไปพึ่งพิงสารเสพติด ความเครียดทางจิตสังคมประกอบกับมีสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่ อยู่ในภาวะตึงเครียดเป็นเวลานาน และส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาโรคซึมเศร้าในคนไทย(กรมสุขภาพจิต,2551) พบว่า วิถีชีวิต วัฒนธรรมมีผลต่อลักษณะอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้น โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถดูแลรักษาได้ ซึ่งโรคนี้เป็นการเจ็บป่วยอย่างหนึ่งของร่างกายเช่นเดียวกับการป่วยด้วยโรคอื่นๆ ถ้าได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง

สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็ง ในปีงบประมาณ ๒๕๖๒ มีการคัดกรองโรคซึมเศร้า ในกลุ่มประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปจำนวน ๓,๐๖๐ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๕๕ โดยส่วนใหญ่ จะคัดกรองในกลุ่มโรคเรื้อรัง และผู้มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นส่วนใหญ่ การค้นหาผู้ป่วยโรคซึมเศร้ายังไม่ครอบคลุม และไม่เชื่อมโยงกับระบบการดูแลรักษาในสถานบริการสาธารณสุข และการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีน้อยมาก มีประมาณร้อยละ 3.5 จากประเด็นปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการส่งเสริมพัฒนาเครือข่ายสาธารณสุขได้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความความสำคัญ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ความรู้ กระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา และเข้ามามีส่วนร่วมตลอดจน เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า การป้องกันและช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้านอกจากนี้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านยังมีส่วนร่วมในการสำรวจคัดกรองผู้มีภาวะซึมเศร้าด้วย ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็ง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าขึ้นเพื่อเป็นการลดอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและแกนนำหมู่บ้าน มีความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า การป้องกันและการช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

0.00
2 2. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและแกนนำหมู่บ้าน สามารถดำเนินการสำรวจคัดกรองผู้มีภาวะซึมเศร้า ในกลุ่มประชาชน ๑๕ปีขึ้นไป

 

0.00
3 3. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสามารถพัฒนาทักษะด้านจิตใจ มีความพร้อมในการเผชิญปัญหา และสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข

 

0.00
4 4. เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายในการป้องกันและดูแลรักษาโรคซึมเศร้าอย่างต่อเนื่อง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและแกนนำหมู่บ้าน 100

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/04/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมโครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมโครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน  ๑ มื้อๆละ ๕๐ บาท x ๑๐๐ คน  เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาท x ๑๐๐ คน  เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท 3.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม จำนวน ๑๐๐ คน x ๓๐ บาท เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท 4.ค่าวิทยากร ๑ คน x ๓ ชั่วโมง x ๓oo เป็นเงิน ๙๐๐ บาท 5.ค่าป้ายไวนิล จำนวน ๑ ผืน เป็นเงิน ๗๒๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและแกนนำหมู่บ้าน มีความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า การป้องกันและการช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า 2.ประชาชนอายุ ๑๕ ปี ขึ้นไป ได้รับการเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้า ร้อยละ ๕๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14620.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,620.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เป็นการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าแก่ประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปให้ มีความพร้อมในการเผชิญปัญหา สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข


>