กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้า ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L2539-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
วันที่อนุมัติ 27 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 เมษายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,620.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารียานี ยา
พี่เลี้ยงโครงการ นางโนรีดา บือราเฮง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 23 พ.ย. 2563 23 พ.ย. 2563 14,620.00
รวมงบประมาณ 14,620.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาทางสังคมมากกว่าจะเป็นปัญหาทางการแพทย์แต่เพียงอย่างเดียวแม้ว่าการจัดบริการให้ความช่วยเหลือผู้อยู่ในภาวะวิกฤตของชีวิตและการให้การรักษาทางจิตเวชอย่างถูกต้องจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่มาตรการการป้องกันการฆ่าตัวตายหลายประการ ต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆในสังคม เราอาจกำหนดมาตรการป้องกันการฆ่าตัวตาย ได้แก่ การจัดการศึกษา การควบคุมวิธีการที่ใช้ในการฆ่าตัวตาย จัดบริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต การวินิจฉัยและรักษาโรคทางจิตเวชอย่างถูกต้อง การสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและสังคม การเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้า ซึ่งภาวะซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่มีผู้เป็นจำนวนไม่น้อย แต่ยังมีผู้รู้จักโรคนี้ไม่มากนัก บางคนเป็นโดยที่ตัวเองไม่ทราบ คิดว่าเป็นเพราะตนเองคิดมากไปเองก็มี ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที เป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตาย สำหรับสาเหตุของภาวะซึมเศร้า มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัย ทั้งจากด้านกรรมพันธุ์ การพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเด็ก พัฒนาการของจิตใจ รวมถึง การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองบางตัว โดยมีความเครียดทางจิตสังคมเป็นตัวกระตุ้นให้เป็นโรคมากขึ้น เช่น การสูญเสียคนที่รัก การหย่าร้าง การมีโรคทางกายที่เรื้อรังและการไปพึ่งพิงสารเสพติด ความเครียดทางจิตสังคมประกอบกับมีสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่ อยู่ในภาวะตึงเครียดเป็นเวลานาน และส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาโรคซึมเศร้าในคนไทย(กรมสุขภาพจิต,2551) พบว่า วิถีชีวิต วัฒนธรรมมีผลต่อลักษณะอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้น โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถดูแลรักษาได้ ซึ่งโรคนี้เป็นการเจ็บป่วยอย่างหนึ่งของร่างกายเช่นเดียวกับการป่วยด้วยโรคอื่นๆ ถ้าได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง

สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็ง ในปีงบประมาณ ๒๕๖๒ มีการคัดกรองโรคซึมเศร้า ในกลุ่มประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปจำนวน ๓,๐๖๐ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๕๕ โดยส่วนใหญ่ จะคัดกรองในกลุ่มโรคเรื้อรัง และผู้มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นส่วนใหญ่ การค้นหาผู้ป่วยโรคซึมเศร้ายังไม่ครอบคลุม และไม่เชื่อมโยงกับระบบการดูแลรักษาในสถานบริการสาธารณสุข และการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีน้อยมาก มีประมาณร้อยละ 3.5 จากประเด็นปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการส่งเสริมพัฒนาเครือข่ายสาธารณสุขได้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความความสำคัญ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ความรู้ กระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา และเข้ามามีส่วนร่วมตลอดจน เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า การป้องกันและช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้านอกจากนี้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านยังมีส่วนร่วมในการสำรวจคัดกรองผู้มีภาวะซึมเศร้าด้วย ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็ง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าขึ้นเพื่อเป็นการลดอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและแกนนำหมู่บ้าน มีความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า การป้องกันและการช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

0.00
2 2. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและแกนนำหมู่บ้าน สามารถดำเนินการสำรวจคัดกรองผู้มีภาวะซึมเศร้า ในกลุ่มประชาชน ๑๕ปีขึ้นไป

 

0.00
3 3. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสามารถพัฒนาทักษะด้านจิตใจ มีความพร้อมในการเผชิญปัญหา และสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข

 

0.00
4 4. เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายในการป้องกันและดูแลรักษาโรคซึมเศร้าอย่างต่อเนื่อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
23 พ.ย. 63 จัดอบรมให้ความรู้และการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า และการจัดการความเครียดด้วยตนเอง 100 14,620.00 14,620.00
รวม 100 14,620.00 1 14,620.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เป็นการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าแก่ประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปให้ มีความพร้อมในการเผชิญปัญหา สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2562 00:00 น.