กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ บ้านเรือนหมู่ที่ ๖ บ้านโคกโหนด สะอาดปราศจากโรคไข้เลือดออกปีงบประมาณ ๒๕๖๓

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ บ้านเรือนหมู่ที่ ๖ บ้านโคกโหนด สะอาดปราศจากโรคไข้เลือดออกปีงบประมาณ ๒๕๖๓

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๖ บ้านโคกโหนด ตำบลหารเทา

1.นางวัลลภา แท่นสงค์
2.นางมลทิพย์ แก้วมณี
3.นางปราณี แก้วมณี
4.นายสมพร สอนมา
5.นางพัชราภรณ์ แก้วมาก

หมู่ที่ ๖ บ้านโคกโหนด ตำบลหารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยตลอดมา เนื่องจากเป็นโรคติดต่อที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไม่ใช่น้อย ความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งๆที่ทุกหน่วยงาน ทุกสังกัด ได้ช่วยกันรณรงค์ ป้องกันและควบคุมตลอดมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ในปี ๒๕๕๙-๒๕๖๐ เท่ากับ ๖,๑๗๑๓.๒๘ และ ๖.๒๐ ตามลำดับ (ที่มา:ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค ๕๐๖ สำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ ๒๐ กุมพาพันธ์ ๒๕๖๑)
การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม-ตุลาคม ของทุกปี ชีวนิสัยของยุงจะออกหากินในเวลากลางวัน การแพร่เชื้อและการกระจายโรคอาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมกัน
สำหรับผลจากการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ ๖ บ้านโคกโหนดร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไทรพอนปี ๒๕๖๒ พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน ๑ ราย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกได้คือ มีแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย ภาชนะ ขยะที่ขาดการกำจัดที่ถูกวิธี จากการสำรวจลูกน้ำยุงลายโดยอาสาสมัครสาธารณสุขพบค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายสูงเกินเกณฑ์มาตราฐานทุกปี(เกณฑ์มาตราฐาน ค่า HI ต้องน้อยกว่า ๑๐) อีกทั้งพื้นที่หมู่บ้านใกล้เคียงมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ถ้าหากไม่มีการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โรคไข้เลือดออก หมู่ที่ ๖ บ้านโคกโหนด อาจจะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้
อาสาสัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๖ บ้านโคกโหนด ตำบลหารเทา จึงได้จัดทำโครงการบ้านเรือนหมู่ที่๖ บ้านโคกโหนด สะอาดปราศจากไข้เลือดออกปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านเห็นความสำคัญและตระหนักในเรื่องของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและได้มีส่วนร่วมมากขึ้น และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ ๙๐ ของครัวเรือนเข้าร่วมดำเนินงานตามโครงการ

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือน

ร้อยละ ๙๐ ของครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/11/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นตอนการวางแผนการดำเนินงานการจัดการขยะ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นตอนการวางแผนการดำเนินงานการจัดการขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ประชุมคณะกรรมการเพื่อชี้แจงโครงการและมอบหมายหน้าที่ -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน ๑ มื้อๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๔๐ คน เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท
๒.ประชาสัมพันธ์โครงการ ๒ ขั้นตอนการดำเนินงาน(ไม่ใช่งบประมาณ) ๓.พัฒนาทักษะการจัดการขยะแก่คณะกรรมการดำเนินโครงการ แกนนำ และ อสม. จำนวน ๒๒ คน -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมาย วิทยากร และผู้จัดการโครงการ จำนวน ๔๒ คนๆละ ๑ มื้อๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๔๒ คน เป็นเงิน ๑,๐๕๐ บาท (ไม่ใช่งบประมาณ) -ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน ๓ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท -ค่าวัสดุในการอบรม จำนวน ๕๐๐ บาท ๔.ติดตามกระตุ้นการดำเนินกิจกรรมตามโครงการโดย อสม. เดือนละ ๒ ครั้ง (ไม่ใช้งบประมาณ) ๕.ประเมินผลผลการทำลายแหล่งเพาะธุ์ลูกน้ำยุงลาย เดือนละ ๑ ครั้ง จำนวน ๓ เดือน ต่อเนื่อง โดยไขว้เขตรับผิดชอบของ อสม. -ค่าแบบประเมิน จำนวน ๓๐๐ ชุด ราคาชุดละ ๒ บาท รวมเป็นเงิน ๖๐๐ บาท ๖.ประเมินบ้านตามเกณฑ์ประกวด โดยการสุ่มประเมินของกรรมการและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข(สุ่ม ๗๐% ของครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม) -ค่าตอบแทนกรรมการ จำนวน ๕ คนๆละ ๒ วันๆละ ๓๐๐ บาท เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท -ค่าแบบประเมิน จำนวน ๗๐ ชุดๆละ ๒ บาท เป็นเงิน ๑๔๐ บาท -ค่าของรางวัลสำหรับบ้านเรือนที่ชนะการประกวด จำนวน ๓,๐๐๐ บาท โดยแยกเป็น รางวัลที่ ๑ จำนวน ๓,๐๐๐ บาท
รางวัลที่ ๒ จำนวน ๑,๐๐๐ บาท รางวัลที่ ๓ จำนวน ๕๐๐ บาท -ค่าวัสดุในการอบรม จำนวน ๗๐๐ บาท ๗.ขั้นตอนสรุปผลการดำเนินโครงการกิจกรรมถอดบทเรียนเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเพื่อต่อยอด -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๔๐ คนๆละ ๑ มื้อ ราคามื้อละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท ๘.คืนข้อมูลผลดำเนินกิจกรรมให้ชุมชน (ไม่ใช่งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12790.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,790.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.หมู่ที่ ๖ บ้านโคกโหนดปราศจากโรคไข้เลือดออก
๒.หมู่ที่ ๖ บ้านโคกโหนด เป็นหมู่ที่สะอาด สิ่งแวดล้อมดี ไม่มีขยะ


>