กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมะเร็งปากมดลูกป้องกันได้ตั้งแต่วัยเรียนปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุไหงปาดี

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุไหงปาดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์โรคมะเร็งปากมดลูกปัจจุบันมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี และเป็นมะเร็งที่พบมาก แล้วเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในผู้หญิงไทยเฉลี่ยประมาณ 2,000–3,000 คนต่อปี และมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 6,000 ราย ต่อปี ส่วนใหญ่อายุ30-50ปีสาเหตุที่ทำผู้หญิงเป็นมะเร็งปากมดลูกก็คือการติดเชื้อเอชพีวี(HPV:Human papillomavirus) จากการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่มีเชื้อทั้งนี้ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกคนสามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อมะเร็งปากมดลูกด้วยการมีเพศสัมพันธุ์อย่างปลอดภัยและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเมื่อถึงอายุที่เหมาะสมสำหรับเด็กหญิงผู้ปกครองสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกให้บุตรหลานได้โดยพาบุตรหลานผู้หญิงไปรับบริการฉีดวัคซีนเอชพีวี ให้ครบโด๊สตามที่กำหนด
ปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้สถานบริการสาธารณสุขฉีดวัคซีนเอชพีวีให้กับนักเรียนหญิงชั้นประถมปีที่5 ทุกคนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งนักเรียนจะต้องได้รับวัคซีนจำนวน 2 ครั้งห่างกัน 6 เดือน ดังนั้น เนื่องจากวัคซีนดังกล่าวเป็นวัคซีนตัวใหม่ที่ไม่เคยฉีดให้กับนักเรียนมาก่อน และผู้ปกครองรวมทั้งครูก็อาจจะไม่เคยได้รับรู้เรื่องวัคซีนเอชพีวี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุไหงปาดี จึงได้จัดทำโครงการเพื่อที่จะให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ และการเตรียมตัวเข้าสู่วัยรุ่น ให้กับนักเรียนหญิงชั้นประถมปีที่4-5 ในโรงเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุไหงปาดี และเป็นการประชาสัมพันธ์เรื่องวัคซีนเอชพีวี ให้กับผู้ปกครองและบุคลากรในโรงเรียนทราบ พร้อมทั้งไปให้บริการฉีดวัคซีนเอชพีวี ให้นักเรียนหญิงชั้นประถมปีที่5 ทุกคน ภายใต้ชื่อโครงการ “มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้ ตั้งแต่วัยเรียน”ปีงบประมาณ 2563

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกแก่นักเรียนหญิงชั้นประถมปีที่4-5 ในโรงเรียนเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุไหงปาดี

นักเรียนมีความรู้เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 80

0.00 80.00
2 2.เพื่อนักเรียนหญิงชั้นประถมปีที่5ในโรงเรียนเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุไหงปาดีได้รับการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก

นักเรียนได้รับการฉีดวัคซีนร่้อยละ 100

0.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2020

กำหนดเสร็จ 30/06/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก วัคซีน เอช พีวี และการเตรียมตัวเข้าสู่วัยรุ่น โดยมีวิทยากรบรรยาย พร้อมทั้งให้ทำแบบทดสอบก่อนหลังให้ความรู้และให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการบรรยายโดยจัดเป็นกลุ่มย่อย

ชื่อกิจกรรม
1.ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก วัคซีน เอช พีวี และการเตรียมตัวเข้าสู่วัยรุ่น โดยมีวิทยากรบรรยาย พร้อมทั้งให้ทำแบบทดสอบก่อนหลังให้ความรู้และให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการบรรยายโดยจัดเป็นกลุ่มย่อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 80 คน เป็นจำนวนเงิน 2,000 บาท ๒.ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท จำนวน 80 คน เป็นจำนวนเงิน 4,000บาท ๓. ค่าป้ายโครงการขนาด200×120ซม.จำนวน1 ป้ายเป็นเงิน720 บาท ๔. ค่าวัสดุอุปกรณ์โครงการ เป็นเงิน 1,800บาท ค่าแฟ้มกระดุม 80 เล่ม เล่มละ10 บาท เป็นเงิน800 บาท ค่าปากกา 80 ด้าม ด้ามละ 5 บาท เป็นเงิน 400 บาท ค่าสมุดเล่มเล็ก 80 เล่ม เล่มละ 5 บาท เป็นเงิน 400 บาท ๕.ค่าวิทยากร 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ600บาท เป็นเงิน 1,200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจต่อโรคมะเร็งและรู้จักวัคซีน เอช พีวี และมีความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่วัยรุ่น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9720.00

กิจกรรมที่ 2 2.จัดกิจกรรม work shop ในเรื่องของโรคมะเร็งปากมดลูก วัคซีน เอช พีวี และเรื่่องการเปลี่ยนของร่างกานโดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย และนำเสนอผลงานตามกลุ่ม

ชื่อกิจกรรม
2.จัดกิจกรรม work shop ในเรื่องของโรคมะเร็งปากมดลูก วัคซีน เอช พีวี และเรื่่องการเปลี่ยนของร่างกานโดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย และนำเสนอผลงานตามกลุ่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 80 คน เป็นจำนวนเงิน 2,000 บาท 2.ค่ากระดาษชาร์ทเขียนแบบ  20 แผ่น แผ่นละ 5 บาท เป็นเงิน 100 บาท 3.ปากกาเคมี  5  ด้าม ด้ามละ 20 บาท  เป็นเงิน 100 บาท 4.ค่าวิทยากร 1 ชั่วโมง ชั่วโมงละ600บาท เป็นเงิน 600บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำ work shop สามารถแลกเเปลี่ยนความรู้และนำเสนอผลงานได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

กิจกรรมที่ 3 3.ออกให้บริการฉีควัคซีน เอช พีวี ในกลุ่มเด็กนักเรียนหญิงชั้น ป.5

ชื่อกิจกรรม
3.ออกให้บริการฉีควัคซีน เอช พีวี ในกลุ่มเด็กนักเรียนหญิงชั้น ป.5
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-นักเรียนหญิงชั้นป.5 ได้รับวัคซีน เอช พีวี ครบทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,520.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนหญิงชั้นประถมปีที่ 4-5 ในโรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุไหงปาดีมีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ80
2.นักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้รับบริการฉีดวัคซีนเอชพีวีร้อยละ 100


>