กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ ในสถานศึกษาและชุมชนตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ ในสถานศึกษาและชุมชนตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน

1.นายวัฒนชัย ไชยจิตต์
2.นางรสนา บินหมาน
3.นางวนิดา ศรีริภาพ
4.นางอภิยา เหตทอง
5.นางสาวมารียา สุขสง่า

โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง โรงเรียนบ้านวังประจันและชุมชนหมู่ที่ 1 2 3 4

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อสำคัญที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มียุงลาย (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค โดยเกิดจากเชื้อไข้เลือดออกซึ่งเป็นไวรัสมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ เด็งกี (Dengue) กับชิกุนคุนยา(Chigunkunya) ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมีสาเหตุจากเชื้อเด็งกี ซึ่งยังแบ่งออกเป็นพันธุ์ย่อยๆ ได้อีก 4 ชนิด ได้แก่ ชนิด 1, 2, 3,และ 4 เชื้อเด็งกีเหล่านี้สามารถทำ ให้เกิดไข้เลือดออกที่รุนแรงได้ ประมาณร้อยละ10 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีสาเหตุจากเชื้อชิกุนคุนยา ซึ่งมักมีอาการไม่รุนแรงคือไม่ทำ ให้เกิดภาวะช็อกเช่นที่เกิดจากเชื้อเด็งกี่ อุบัติการณ์ของโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทยซึ่งมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในทุกปีตำบลวังประจันมีการระบาดของโรคไข้เลือดอออกในทุกปี ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วย 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2557 ถึง ปี 2561 ตามลำดับ ดังนี้ ปี 2557 ผู้ป่วยสงสัย 7 ราย ผู้ป่วยยืนยัน 0 ราย ปี 2558 ผู้ป่วยสงสัย 32 ราย ผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย ปี 2559 ผู้ป่วยสงสัย 14 ราย ผู้ป่วยยืนยัน 0 ราย ปี 2560 ผู้ป่วยสงสัย 7 ราย ผู้ป่วยยืนยัน 0 ราย ปี 2561 ผู้ป่วยสงสัย 9 ราย ผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย ปี 2562 ผู้ป่วยสงสัย 9 ราย ผู้ป่วยยืนยัน 0 ราย ผลการสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายประจำเดือนตุลาคม 2562 ค่า HI เท่ากับ ร้อยละ 17 CI เป็น 0 ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ประชาชนยังขาดการมีส่วนร่วมในการควบคุม ป้องกันโรค จึงต้องทำปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่การทำงานเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคดังกล่าว ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชน ผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดและลดอัตราป่วยในการเกิดโรคในพื้นที่ตำบลวังประจันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ ในสถานศึกษาและชุมชนตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2563 โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาลงให้เหลือน้อยที่สุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (H.I.) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (H.I.) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ายุงลายในโรงเรียน (C.I.) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ในเขตรับผิดชอบ

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน (C.I.) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ในเขตรับผิดชอบ

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและโรคติดต่ออื่นๆ

นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและโรคติดต่ออื่นๆ หลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80

0.00
4 ข้อที่ 4. เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดจากขยะและแหล่งแพร่กระจายโรคในชุมชน

จำนวนหลังคาเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มากกว่าร้อยละ 70

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจงนโยบายเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ๒. ปรึกษาหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ๓. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและโรคติดต่ออื่นๆ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและโรคติดต่ออื่นๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและโรคติดต่ออื่นๆ และแต่งตั้งทีมหนูน้อย พิชิตยุง เพื่อสำรวจลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน แก่เด็กนักเรียนในเขตรับผิดชอบจำนวน 2 แห่ง
โรงเรียนบ้านวังประจันชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวนนักเรียน 54 คน โรงเรียนทุ่งมะปรังชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-ม.3จำนวนนักเรียน 71 คน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บ.x125คน=3,125 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและโรคติดต่ออื่นๆ หลังการอบรม มากกว่า   ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3125.00

กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย กิจกรรมการสำรวจลูกน้ำยุงลาย เพื่อสร้างแรงจูงใจ ให้กับ อสม.และครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย กิจกรรมการสำรวจลูกน้ำยุงลาย เพื่อสร้างแรงจูงใจ ให้กับ อสม.และครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมรณรงค์ปรับปรุงศาสนสถาน โรงเรียน และในชุมชน ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อม และการรักษาความสะอาด ตามมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค และการจัดการขยะในครัวเรือน ด้วยหลัก 3 R (Reduce/ Reuse/ Recycle)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ปรับปรุงศาสนสถาน โรงเรียน และในชุมชน ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อม และการรักษาความสะอาด ตามมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค และการจัดการขยะในครัวเรือน ด้วยหลัก 3 R (Reduce/ Reuse/ Recycle)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ปรับปรุงศาสนสถาน โรงเรียน และในชุมชน ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อม และการรักษาความสะอาด ตามมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค และการจัดการขยะในครัวเรือน ด้วยหลัก 3 R (Reduce/ Reuse/ Recycle)และออกสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ 4 หมู่บ้านโดยอสม. จนท.สาธารณสุข ผู้นำชุมชน อปท.จำนวน 5 ครั้ง ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บ.x 60 คน x 5 ครั้ง=7,500 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (ค่า HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
  2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด (CI) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบ
  3. ชุมชน ศาสนสถาน และในโรงเรียน มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัยจากโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค และปลอดจากขยะและแหล่งแพร่กระจายโรคในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,625.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (ค่า HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด (CI) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบ
3. ชุมชน ศาสนสถาน และในโรงเรียน มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัยจากโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค และปลอดจากขยะและแหล่งแพร่กระจายโรคในชุมชน
4. ทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
5. โรงเรียนและชุมชนมีการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ
6. นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและโรคติดต่ออื่นๆ หลังการอบรม มากกว่า ร้อยละ 80


>