2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การใช้ยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น ยังเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย เป็นปัญหาที่สร้างความกังวลให้กับทุกคน เพราะไม่เพียงแต่ประเทศจะต้องสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นทรัพยากรอันมีค่าที่สุดของประเทศไปแล้ว ปัญหายาเสพติดยังนำมาซึ่งปัญหาอื่นอีกมากมาย ทั้งในแง่สังคมอย่าง เช่นการก่ออาชญากรรม ปล้น จี้ ฯลฯ เกิดปัญหาส่วนบุคคลในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต เช่น ปัญหาทางจิต ปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลเองต้องสูญเสียเงินในการบำบัดอาการติดยา รักษาอาการติดยา ทั้งการเลิกยาไอซ์ เลิกยาบ้า เลิกกัญชา ฯลฯ สิ่งที่น่าวิตกกังวลคือวัยรุ่นที่ใช้สารเสพติดนั้นมีแนวโน้มที่จะอายุน้อยลงเรื่อยๆ มีการใช้สารเสพติดเพิ่มขึ้นในกลุ่มอายุ 12 – 19 ปี และในปี 2562 มีการสำรวจพบว่าเด็กและเยาวชนหรือวัยรุ่นใช้สารเสพติดเป็นจำนวนร้อยละ 3.72การติดยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่นจะเริ่มจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ก่อนจะนำไปสู่สารเสพติดชนิดอื่นๆที่มีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ที่น่าวิตกยิ่งไปกว่านั้นคือในกลุ่มเด็กและเยาวชนหรือวัยรุ่น มีการใช้สารเสพติดร่วมกันมากกว่าหนึ่งชนิด และยังมีการใช้สารอื่นๆมาผสมเพื่อให้ออกฤทธิ์คล้ายสารเสพติดประกอบกับการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยถือว่าเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2565 พบว่า มีผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า จากเดิมในปี 2564 มีผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าอยู่ประมาณ 78,742 คน แต่ในปี 2565 มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 709,677 คน โดยในกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุ 15 - 24 ปี มีผู้สูบเพิ่มขึ้น 10 เท่าเช่นกัน จากเดิม 24,050 คน เพิ่มเป็น 269,533 คน ทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนถือว่าเข้าขั้นวิกฤต โดยเฉพาะในปี 2566 - 2567 พบว่ามีเด็กและเยาวชนที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องมีอายุที่น้อยลง โดยที่พบเห็นเด็กที่มีช่วงอายุ 9 - 12 ปี เคยลองสูบบุหรี่ไฟฟ้าถึงร้อยละ 43 และประเด็นที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง คือ พบว่ามีนักเรียนหญิงสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากกว่านักเรียนชาย ซึ่งปรากฏการณ์นี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นอกจากนี้ ยังพบว่าเด็กประถมศึกษาตอนปลาย รวมถึงมัธยมศึกษาตอนต้น สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43 นอกจากนี้ บุหรี่ไฟฟ้าถือว่าเป็นต้นทางของการสูบบุหรี่ โดยเด็กและเยาวชนที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนเมื่อได้ลองสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วมีโอกาสเสี่ยงที่จะหันไปสูบบุหรี่มวนในอนาคตสูงขึ้น 2 - 12 เท่า รวมถึงมีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้สารเสพติดอื่น ๆ อันจะนำไปสู่ปัญหาหรือเกิดผลกระทบทางสังคมในอนาคต
จากปัญหาและสถานการณ์ดังกล่าวทางชมรม อสม.ประจำหมู่บ้านยะหอ หมู่ที่ 10 ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในสร้างความรู้และส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ห่างไกลจากบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติด จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมให้ความรู้การป้องกันบุหรี่ไฟฟ้าและยาเสพติดในชุมชน ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/07/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. เด็กนักเรียนและเยาวชนได้รับรู้และรับทราบถึงปัญหาบุหรี่ไฟ้ฟ้าและยาเสพติดในชุมชน
2. เด็กและเยาวชนมีทักษะทางความคิด สร้างภูมิคุ้มกันทางด้านกายและจิตใจให้เด็กนักเรียนและเยาวชน