กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เรียง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เรียง

องค์การบริหารส่วนตำบลเรียง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นแมลงนำโรค ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน พบได้ทุกกลุ่มอายุ แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มอายุ เด็ก 5 – 14 ปี การระบาดของโรคจะเกิดในช่วงฤดูฝน โดยธรรมชาติของการเกิดโรคจะมีลักษณะการระบาดปีเว้นปี หรือปีเว้นสองปีหรือระบาดติดต่อกัน 2 ปีเว้น1 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน 2562 ผู้ป่วยจำนวน 1,561 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 197.17 ต่อแสนประชากร อำเภอรือเสาะอยู่อันดับที่ 5 ของจังหวัดนราธิวาส ผู้ป่วยจำนวน 153 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 213.17 ต่อแสนประชากร และในเขตตำบลเรียง มีผู้ป่วยจำนวน 16 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 284.5 (เกณฑ์ไม่เกิด 50 ต่อแสนประชากร)
กรมควบคุมโรคได้เตรียมความพร้อมรับการระบาดโดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ และมาตรการในการควบคุมโรค ระยะแรกมีการประชุมปฏิบัติการโรคไข้เลือดออกยุงลายเป็นตัวพาหะนำโรค เพื่อเร่งรัดการเฝ้าระวังโรคสกัดกั้นการแพร่ระบาด การป้องกันและควบคุมโรค การดูแลผู้ป่วย การเผยแพร่ความรู้ส่งเสริมบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อให้ประชาชนมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น สามารถรับมือกับโรคไข้ไข้เลือดออก ที่ยุงลายเป็นตัวพาหะนำโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งผลการดำเนินงานจะช่วยลดโรคไข้เลือดออกด้วย สำหรับการป้องกันควบคุมโรค ที่สำคัญคือ ประชาชน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมให้สะอาด และสามารถป้องกันการติดเชื้อ และลดการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเรียง และคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลเรียง เป็นองค์กรหลักที่ต้องรับผิดชอบต่อปัญหาดังกล่าวเพื่อเป็นการลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตลอดจน อสม. และประชาชน ในชุมชนเกิดความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ อสม.และประชาชนมีความรู้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่มียุงลายเป็นตัวพาหะนำโรค และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายชนิดต่างๆ 2. เพื่อเป็นการทำลายตัวแก่ และตัวเต็มวัยของยุงลาย โดยการพ่นหมอกควัน 3. เพื่อให้ อสม. สำรวจลูกน้ำยุงลายตามละแวกบ้านที่รับผิดชอบ เพื่อหาค่า HI, CI
  1. เพื่อให้ อสม.และประชาชนมีความรู้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่มียุงลายเป็นตัวพาหะนำโรค และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายชนิดต่างๆ
  2. เพื่อเป็นการทำลายตัวแก่ และตัวเต็มวัยของยุงลาย โดยการพ่นหมอกควัน
  3. เพื่อให้ อสม. สำรวจลูกน้ำยุงลายตามละแวกบ้านที่รับผิดชอบ เพื่อหาค่า HI, CI
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 02/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
เป็นเงิน 39,050.-บาท (สามหมื่นเก้าพันห้าสิบบาทถ้วน) รายละเอียดดังนี้     กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ อสม. ผู้นำชุมชน และผู้นำศาสนา ในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก         1.1 ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 52 คน         เป็นเงิน 2,600.-บาท         1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 52 คน   เป็นเงิน 2,600.-บาท      1.3 ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท            เป็นเงิน 3,000.-บาท             1.4 ค่าจัดทำสื่อไวนิลรณรงค์และประชาสัมพันธ์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
ขนาด ๑.๒ เมตร* 2.๔ เมตร จำนวน 4 ผืนๆละ 1,000 บาท                  เป็นเงิน 4,000.-บาท

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์พ่นหมอกควันในชุมชน
    2.1 ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย(ทรายอะเบท) จำนวน 1 ถัง          เป็นเงิน 5,200.- บาท

2.2 น้ำยาพ่นหมอกควัน จำนวน 1 ขวด                  เป็นเงิน 1,650.-บาท 2.3 ค่าจ้างเหมาพ่นหมอกควัน จำนวน 4 หมู่บ้าน          เป็นเงิน 8,000.-บาท         2.4 น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับพ่นหมอกควัน จำนวน 4 หมู่บ้านๆละ 3,000 บาท   เป็นเงิน 12,000.-บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 39,050 บาท (สามหมื่นเก้าพันห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เพื่อให้ อสม.ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และประชาชนทั่วไปมีความรู้และเกิดความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
2.เพื่อเป็นการลดจำนวนยุงตัวแก่ หรือยุงตัวเต็มวัย จะทำให้วงจรการระบาดของโรคลดลง โดยการพ่นหมอกควัน


>