กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพทำสวนยางพารา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพทำสวนยางพารา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ

อบต.เกาะเปาะ

นางสาวญาณญา เสาวิไล

องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ (คน)

 

0.00
2 ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

 

15.00
3 จำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

 

0.00

ปัญหาสุขภาวะที่พบเจอของผู้ประกอบอาชีพการทำสวนยางพารา คือร่างกายความทรุดโทรมของร่างกาย ซึ่งวิถีของชาวสวนยางสัมพันธ์กับสารเคมีหลายตัว ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มโค่น ปลูก กรีด ไปจนถึงขั้นการแปรรูปยาง นอกจากนี้มีการพักผ่อนน้อย จากสถิติของสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้คนกรีดยางในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีโรคประจำตัวสูงถึง 70% โรคที่พบมากที่สุดคือภูมิแพ้ รองลงมาคือเบาหวาน นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี จากข้อมูลมีรายละเอียดจะพบว่า คนกรีดยาง 1 คน กรีดยางเฉลี่ย 15 ไร่ ดังนั้นในเวลา 1 วัน จะมีการกรีดกว่า 1,200 ครั้ง และจะต้องเดินในสวนยางราวๆ7 กิโลเมตร นั่นหมายถึงกล้ามเนื้อและสายตาที่ถูกใช้ไปอย่างหนักหน่วง ยังไม่นับการหายใจท่ามกลางอากาศที่มีออกซิเจนต่ำในช่วงเวลากลางคืน และภัยจากสัตว์มีพิษ เช่น งู หรือตะขาบ อีกด้วย
ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีอาชีพหลัก คือ การทำสวนยาง แรงงานกลุ่มนี้จัดเป็นแรงงงานนอกระบบที่มีความเสี่ยงจากการทำงาน สาเหตุหนึ่งจากการสัมผัสความเสี่ยงเหล่านี้คือการใช้ท่าทางในการทำงาน การจัดสภาพแวดล้อม รวมทั้งการเลือกใช้อุปกรณ์เพื่อป้องกันความเสียงที่ไม่เหมาะสม การดำเนินมาตรการเชิงรุกในการตรวจการประเมินปัจจัยเสี่ยงด้วยวิธีวิเคราะห์ในกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อลดอุบัติเหตุ รวมถึงการเกิดโรคโรคในการทำงาน
จากสาเหตุสำคัญที่จะช่วยลดความรุนแรงของปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น คือ การส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้ประกอบอาชีพทำสวนองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ จึงได้จัดทำโครงการโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพทำสวนยางพาราเพื่อให้ประชาชนมีการจัดการความเสี่ยงในการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลเกาะเปาะ เพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยาง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่

จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ เพิ่มขึ้น(คน)

0.00 15.00
2 เพื่อลดจำนวนแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ ลดลง

15.00 10.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนมาตราการ ในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

มีจำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน เพิ่มขึ้น

0.00 3.00

2.1 เพื่อให้ประชาชนมีการจัดการความเสี่ยงในการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลเกาะเปาะ
2.2 เพื่อให้เกิดกลุ่มอาสาสมัครอาชีวอนามัย ตำบลเกาะเปาะ ที่มีความรู้และทักษะการเรียนรู้
เกี่ยวกับอาชีวะอนามัยเชิงรุกเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้งานแอพพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล เกิดมาตรฐาน ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
2.3 เพื่อให้เกิดบทเรียนจาการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบ
อาชีพสวนยางพารา และเกิดนวัตกรรมการลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยาง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย(อสอช.) ตำบลเกาะเปาะ (7 เมษายน 2563)

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย(อสอช.) ตำบลเกาะเปาะ (7 เมษายน 2563)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย ให้ความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก การประเมินความเสี่ยง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้งานแอพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล
-ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 15 คนๆละ 50 บาทๆละ 750 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (2 มื้อ) จำนวน 15 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 1000 บาท
-ค่าพาหนะในการเดินทางไปอบรม จำนวน 15 คนๆละ 2 เที่ยวๆละ 100 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 เมษายน 2563 ถึง 7 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดกลุ่มอาสาสมัครอาชีวอนามัย ตำบลเกาะเปาะ จำนวน 15 คน ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก การประเมินความเสี่ยง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้งานแอพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9100.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา (8 -30 เมษายน 2563)

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา (8 -30 เมษายน 2563)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา โดยใช้แอพลิเคชั่นหรือแบบสอบถาม
งบประมาณ
-ค่าจ้างเหมาสำรวจและจัดเก็บข้อมูล จำนวน 50 ชุดๆละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 เมษายน 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดฐานข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลเกาะเปาะ รายงานผลการสำรวจข้อมูล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และพัฒนามาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ(29 พฤษภาคม 2563))

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และพัฒนามาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ(29 พฤษภาคม 2563))
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการตัวแทนผู้นำชุมชน ตัวแทน อสอช.และผู้ประกอบอาชีพ ร่วมกันพัฒนารูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม มาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
-ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800บาท
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 15 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 750 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (1 มื้อ) จำนวน 15 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 375 บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 1,000 บาท
-ค่าป้าย ป้ายไวนิล ขนาด 1 x 3เมตร) แยกเป็น-ค่าป้ายโครงการ( ป้ายไวนิล ขนาด 1 x 3เมตร) จำนวน 1 ป้ายๆละ 750 บาท
-ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ( ป้ายไวนิล ขนาด 1 x 3เมตร) จำนวน 3 ป้ายๆละ 750 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 พฤษภาคม 2563 ถึง 29 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดรูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลเกาะเปาะ เกิดมาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6925.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ (3 กรกฎาคม 2563)

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ (3 กรกฎาคม 2563)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลเกาะเปาะ จำนวน 50 คน
-ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน คนละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(2 มื้อ) จำนวน 50 คนๆละ 25 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 2,000 บาท
-ค่าป้ายโครงการ( ป้ายไวนิล ขนาด 1 x 3เมตร) จำนวน 1 ผืนๆละ 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2563 ถึง 3 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลแคเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11350.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมถอดบทเรียนและพัฒนานวัตกรรมการลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา (11 กันยายน 2563)

ชื่อกิจกรรม
ประชุมถอดบทเรียนและพัฒนานวัตกรรมการลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา (11 กันยายน 2563)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตัวแทนผู้นำชุมชน ตัวแทน อสอช. และตัวแทนผู้ประกอบอาชีพ จำนวน 65 คน ประชุมร่วมกันเพื่อถอดบทเรียนและพัฒนานวัตกรรมการลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 65 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(1 มื้อ) จำนวน 65 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1625 บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 1,000 บาท --ค่าป้ายโครงการ( ป้ายไวนิล ขนาด 1 x 3เมตร) จำนวน 1 ผืนๆละ 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กันยายน 2563 ถึง 11 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดบทเรียนจากการดำเนินงานส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา เกิดนวัตกรรมการลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6625.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดฐานข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลเกาะเปาะ
2. เกิดกลุ่มอาสาสมัครอาชีวอนามัย ตำบลเกาะเปาะ ที่มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก การประเมินความเสี่ยง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้งานแอพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล
3. เกิดรูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลเกาะเปาะ
4. เกิดมาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
5. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลเกาะเปาะเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
6. เกิดบทเรียนจากการดำเนินงานส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา
7. เกิดนวัตกรรมการลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา


>