2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ ที่สำคัญมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมี หรือ ผัก-ผลไม้ที่ไม่ปลอดสารพิษ เพราะเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืช อย่างไม่ถูกวิธีเพื่อเหตุผลทางการค้าและพาณิชย์ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุแบบยั่งยืน คือการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน และการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน การปลูกผักรับประทานเองแบบผักอินทรีย์ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยใช้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งนี้การบริโภคผักที่ปลอดสารพิษในปริมาณที่เหมาะสมเป็นประจำ จะช่วยทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี ไม่เจ็บได้ง่าย ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถป้องกันทำให้ได้ผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค หากคนในชุมชนไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน และกำจัดศัตรูพืชลดต้นทุนทั้งนี้ผลผลิตของเกษตรกรในด้านค่าใช้จ่าย ต่างๆ เช่น มีค่าใช้จ่ายในซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ลดลง และยังสามารถแจกจ่ายผัก ผลไม้ ให้แก่คนในชุมชนเพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนกลับมาดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงในการบริโภคปลอดสารพิษ อีกทั้งปัจจุบันนี้ปัญหาของขยะอินทรีย์เป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่งโดยปัญหาที่เกิดขึ้นมีผลมาจากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งที่เกิดจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ซึ่งขยะในครัวเรือนจะเป็นขยะที่สามารถเน่าเสียได้ มีผลให้เกิดความเน่าเสียส่งกลิ่นเน่าเหม็น มีผลให้การจัดการขยะอื่นๆ มีความยุ่งยากมากขึ้นอีก และจากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลให้รัฐบาลจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นงบประมาณในการจัดการขยะในแต่ละปีค่อนข้างสูง ดังนั้นแนวทางหนึ่งที่มีต้นทุนต่ำ และมีการจัดการที่ไม่ยุ่งยาก และไม่ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อการจัดการขยะอื่นๆ คือ การจัดการกำจัดในแต่ละครัวเรือน ด้วยกระบวนการจัดการขยะเปียกในชุมชนโดยใช้บ่อก๊าซชีวภาพ สามารถนำมาใช้บำบัดของเสียอินทรีย์ที่ให้ก๊าซชีวภาพเป็นผลพลอยได้ และยังสามารได้รับประโยชน์ด้านสภาพแวดล้อม โดยการนำมูลสัตว์ ปัสสาวะ น้ำล้างคอกมาทิ้งลงในบ่อก๊าซชีวภาพ จะช่วยให้กลิ่นเหม็นและแมลงวันในบริเวณนั้นลดลง ผลจากการหมักมูลในบ่อเป็นเวลานานๆ ทำให้ไข่พยาธิหรือมูลสัตว์ถูกทำลายหรือตายด้วย ซึ่งเป็นการทำลายแหล่งเพาะเชื้อโรคบางชนิด เช่น โรคบิด อหิวาตกโรค และพยาธิที่แพร่กระจายจากมูลสัตว์ด้วยกัน นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันไม่ให้มูลสัตว์ถูกชะล้างลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติอีกด้วย ปัจจุบันตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง มีศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแปลงสาธิต และเป็นพื้นที่ทำกินของชาวบ้านใช้ในการสร้างผลผลิตทางการเกษตร และเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีเศรษฐกิจพอเพียง
ดังนั้นกลุ่มเกษตรกรบ้านโคก ตำบลจวบ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อแจกจ่ายให้กับคนในชุมชนเพื่อเป็นไปตามแนวทางของหลักเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถจัดการขยะเปียกในชุมชนโดยใช้บ่อก๊าซชีวภาพเพื่อลดการแพร่กระจ่ายเชื้อโรคจากสัตว์นำโรค สามารถนำร่องเป็นตัวอย่างของการสร้างต้นทุนพลังงานในชุมชนด้วยของเสียในชุมชนของตนเองได้ดีขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 02/12/2019
กำหนดเสร็จ 31/12/2020
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
ประชุมคณะกรรมการกองทุกหลักประกันสุขภาพตำบลจวบ
จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
ดำเนินกิจกรรมดังนี้
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพปลูกผักปลอดสารพิษ
-ปลูกผักปลอดสารพิษในรูปแบบผักกางมุ้ง
-นำผักปลอดสารพิษไปแจกจ่ายให้ประชาชนบริโภคในโครงการอำเภอเคลื่อนที่
กิจกรรมกำจัดขยะโดยการทำบ่อแก๊ซชีวภาพ
-จัดทำบ่อแก๊ซชีวภาพในศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างต้นแบบในการกำจัดขยะเปียกครัวเรือนที่ได้จากการขนขยะเปียกในชุมชน
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชนมีความตระหนักในการกำจัด ขัดแยกขยะเปียกในชุมชนได้มากขึ้น
2. ประชาชนในตำบลจวบได้ความรู้ในการใช้บ่อก๊าซชีวภาพเพื่อลดการแพร่กระจ่ายของเชื้อโรคจากสัตว์นำโรคได้มากยิ่งขึ้น
3. ประชาชนมีความรู้ในเรื่องการรับประทานอาหารปลอดสารพิษและมีภาวะสุขภาพที่ดี
4. ประชาชนมีการปลูกผักปลอดสารพิษ รับประทานเองในครัวเรือน