กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในกลุ่มประชาชนทั่วไปโดยใช้แอโรบิค เทศบาลตำบลยะหา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในกลุ่มประชาชนทั่วไปโดยใช้แอโรบิค เทศบาลตำบลยะหา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหา

กองสาธารณสุขและส่ิ่งแวดล้อม

1. นายกฤตภาส ปฐมนุพงษ์
2. นางมาซือน๊ะ ดอเลาะฮีแต

อาคารเอนกประสงค์ เทศบาลตำบลยะหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

25.00

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ที่มีความทันสมัย สะดวกสบายมากขึ้น ทำให้วิถีชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไปประชาชนมีการออกกำลังกายน้อยลง ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และปัจจุบันปัญหาโรคไม่ติดต่อได้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า โรคที่เป็นปัญหาในชุมชน ๕ อันดับแรก ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้แก่โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคหัวใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่พบในกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุ จากการสอบถามพบว่าผู้ป่วยขาดการออกกำลังกายและบริโภคอาหารไม่ถูกต้องก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งถ้าประชาชนได้บริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ และมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถลดปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ปี 2563 ขึ้น โดยการจัดอบรมให้ความรู้หลักการออกกำลังกาย และปฏิบัติการออกกำลังกายในรูปแบบเต้นบาสโลป โยคะ และลีลาส เป็นวิธีการออกกำลังกาย ที่เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนมีความตระหนักและตื่นตัว เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย และมีความสนุกสนาน ผ่อนคลาย ไม่จำเจ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ แล้วยังเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง เสริมสร้างความสามัคคี และที่สำคัญการออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)เพิ่มขึ้น

25.00 75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ และสาธิตการเต้นแอโรบิค

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ และสาธิตการเต้นแอโรบิค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ และสาธิตการเต้นแอโรบิค ให้แก่ประชาชนทั่วไป จำนวน 80 คน
1ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด1x3 เมตรจำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 750.-บาท
รวมเป็นเงิน 750.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 2 เต้นแอโรบิคสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทุกวันพุธ

ชื่อกิจกรรม
เต้นแอโรบิคสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทุกวันพุธ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เต้นแอโรบิคสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทุกวันพุธ
1. ค่าเครื่องดื่ม (จำนวน 32 ครั้ง มื้อละ 10 x 80 เป็นเงิน 25,600.-บาท 2 ค่าวิทยากรนำเต้น จำนวน 300x32 ชั่วโมง จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 9,600.-บาท (ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2563) 3 ค่าพาหนะในการเดินทาง ครั้งละ 300x32 ครั้ง เป็นเงิน 9,600.-บาท 4. ค่าตู้ลำโพง ขยายขนาด 650 w พร้อมไมค์ลอยคู่ เป็นเงิน 8,000.-บาท กิจกรรมที่ 1 รวมเป็นเงิน750.-บาท
กิจกรรมที่ 2รวมเป็นเงิน 52,800.-บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น53,550.-บาท รวม 2 กิจกรรม เป็นเงิน 53,550.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
53550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 54,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้หลักในการออกกำลังกาย
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพแข็งแรง
3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4. ชุมชนเกิดการรวมกลุ่มและมีความสามัคคี


>