กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรอง เฝ้าระวัง ป้องกัน ภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

รพ.สต.ตำบลบ้านควน

1.นางสุภา นวลดุก
2.นางวัชรบินสอาด
3.นางสาวโสภิตรา นารีเปน

ชุมชนหมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 (ร้อยละ)ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า ฟัน และภาวะซึมเศร้า

 

84.04
2 (ร้อยละ)ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต

 

89.62

โรคกลุ่ม NCDs (Non-communicable diseases) คือ โรคที่ไม่ติดต่อ ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัส คลุกคลี หรือมีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งต่าง ๆ เพราะโรคของกลุ่มนี้ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค โรคในกลุ่ม NCDs เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต การเจริญเติบโตของโรคจะค่อยๆสะสมอาการทีละนิด ค่อยๆ เกิดและค่อยๆทวีความรุนแรง สุดท้ายจะเกิดอาการเรื้อรังในที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลอย่างถูกต้องและทันเวลา ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้างข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่ม โรคไม่ติดต่อ NCDs เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยเป็น โรค NCDs ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตปีละกว่า 300,000 คน และคาดว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต่อชีวิต มักเกิดขึ้นแบบเรื้อรังหรือแบบเฉียบพลันดังข้อมูลสถิติย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปี2559 ถึง 2561ดังตาราง
ต่อไปนี้
จำนวนและอัตราตายด้วยโรคไม่ติดต่อต่อแสนประชากร ทั้งหมดในประเทศไทย ปี 2559 – 2561
โรค โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง
ปี พ.ศ. จำนวน(คน) อัตราจำนวน (คน) อัตรา จำนวน (คน) อัตรา
25597,930 12.0514,487 22.0131,68548.13
25608,525 13.07 14,322 21.9631,17247.81
25618,590 13.13 14,305 21.8730,83747.15

จำนวนและอัตราตายด้วยโรคไม่ติดต่อ ต่อแสนประชากร ในจังหวัดสตูล ปี 2559 – 2561
โรคโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง
ปี พ.ศ. จำนวน (คน) อัตรา จำนวน (คน)อัตรา จำนวน (คน)อัตรา
25594815.15 50 15.78 103 32.52
2560 6319.8072 22.13 112 35.20112 35.20
2561 7824.3682 25.61 122 38.11122 38.11
ข้อมูล ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2562 กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
จากข้อมูลตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่า อัตราการตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้นทุกปีซึ่งปัญหาดังกล่าว
ปัจจุบันเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นโรคที่มี
ภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย เช่น ภาวะแทรกซ้อนทางสมองตา ไต เท้า ฟัน และภาวะซึมเศร้าภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจคัดกรองปีละครั้งเพื่อค้นหา เฝ้าระวังติดตาม ป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวและดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหา ให้ได้รับการดูแลรักษา อย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว
รพ.สต.ตำบลบ้านควน มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 224 คนโรคเบาหวานอย่างเดียว จำนวน23 คนและโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน71 คนรวมทั้งหมด 318 คน กลุ่มป่วยดังกล่าวมีภาวะแทรกซ้อนทางสมองจำนวน5 คน คิดเป็นร้อยละ 1.57 (เป้าหมาย 318 คน)ทางตา จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 7.44 (เป้าหมาย 94 คน) ไตวายเรื้อรัง จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.13 (เป้าหมาย 318 คน) เพื่อเป็นการเฝ้าระวังอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังรพ.สต.ตำบลบ้านควน จึงจัดทำโครงการคัดกรอง ค้นหา เฝ้าระวัง ป้องกัน ภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2563 ขึ้นเพื่อดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เป็นไปตามตัวชี้วัดตามที่กระทรวงสาธารสุขได้กำหนดไว้ และให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ที่มีปัญหา เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า ฟัน และภาวะซึมเศร้า

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า ฟัน และภาวะซึมเศร้า

84.04 100.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต

89.62 100.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการดูแลต่อเนื่อง ส่งต่อ

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการดูแลต่อเนื่อง ส่งต่อ

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 318
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 318 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จะต้องได้รับการตรวจคัดกรอง ค้นหาภาวะแทรกซ้อน
- ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไตโดยการตรวจเลือดทุกราย
- ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน คัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไตโดยการเจาะเลือดและเก็บปัสสาวะส่งตรวจทุกราย
- จัดกลุ่มแยกผู้ป่วยตามระยะของการทำงานของไตเพื่อให้ผู้ป่วย ได้รับการติดตาม ดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องรวดเร็ว และเหมาะสมกับระยะของโรคที่เป็น

งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน318คนๆละ 25บาท จำนวน 1มื้อ เป็นเงิน 7,950บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7950.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองการมองเห็นเบื้องต้น (VA) และคัดกรองภาวะซึมเศร้า

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองการมองเห็นเบื้องต้น (VA) และคัดกรองภาวะซึมเศร้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวาน และตรวจคัดกรองการมองเห็นเบื้องต้น โดยมีแกนนำ อสม.ที่ได้รับการฝึกปฏิบัติออกตรวจคัดกรองการมองเห็นเบื้องต้น (VA)และคัดกรองภาวะซึมเศร้า เพื่อเตรียมความพร้อมในการตรวจค้นหาภาวะเบาหวานขึ้นตา โดยทีมสหวิชาชีพ จาก รพ.สตูล ต่อไป

งบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน94คนๆละ 25บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 2,350 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแกนนำ อสม.เชี่ยวชาญจำนวน 10คนๆละ25 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 2 วันเป็นเงิน1,000 บาท
-ค่าอาหารกลางวันแกนนำ อสม.เชี่ยวชาญจำนวน 10คนๆละ75 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 2 วันเป็นเงิน1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองการมองเห็นเบื้องต้น (VA) และคัดกรองภาวะซึมเศร้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4850.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มป่วยติดเตียงและกลุ่มที่มีปัญหาต้องติดตามต่อเนื่องที่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มป่วยติดเตียงและกลุ่มที่มีปัญหาต้องติดตามต่อเนื่องที่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เนื่องจากแต่ละหมู่บ้านจะมีกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง หรือกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้ามารับบริการยังสถานบริการด้วยตนเองได้  ญาติจะต้องติดต่อ อสม. เพื่อติดตามให้ไปตรวจสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน  นำผลตรวจที่ได้ แจ้ง จนท. เพื่อพิจารณา ค้นหาปัญหาสุขภาพ จัดยา พร้อมทั้งนัดครั้งต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ได้รับการดูแลต่อเนื่อง โดยญาติและแกนนำ อสม. ไม่ขาดยา  ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง ดังนั้นเครื่องมือ และอุปกรณ์ ที่ใช้ในการตรวจ จะต้องมีความพร้อมและมีคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความเที่ยงและมีคุณภาพ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะส่งผลต่อการพิจารณาจ่ายยาและการจัดการผู้ป่วยให้ได้คุณภาพต่อไป

งบประมาณ
-  ค่าแถบตรวจระดับน้ำตาลในหลอดเลือดฝอย ( Dextro strip ) หมู่ละ 2 กล่อง  จำนวน 10 กล่องๆละ  750 บาท  เป็นเงิน 7,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของผู้ป้วยติดเตียง  ได้รับการดูแล ติดตามต่อเนื่องที่บ้านโดย อสม.

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,300.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกราย ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า ฟัน และภาวะซึมเศร้า
2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทุกราย ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต
3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการดูแลต่อเนื่อง ส่งต่อ ทุกราย


>