กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรอง เฝ้าระวัง ป้องกัน ภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5301-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ตำบลบ้านควน
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 20,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุภา นวลดุก นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ปฏิบัติราชการแทน ผอ.รพ.สต.บ้านควน 1
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2563 31 ส.ค. 2563 20,300.00
รวมงบประมาณ 20,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 318 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 (ร้อยละ)ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า ฟัน และภาวะซึมเศร้า
84.04
2 (ร้อยละ)ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต
89.62

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคกลุ่ม NCDs (Non-communicable diseases) คือ โรคที่ไม่ติดต่อ ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัส คลุกคลี หรือมีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งต่าง ๆ เพราะโรคของกลุ่มนี้ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค โรคในกลุ่ม NCDs เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต การเจริญเติบโตของโรคจะค่อยๆสะสมอาการทีละนิด ค่อยๆ เกิดและค่อยๆทวีความรุนแรง สุดท้ายจะเกิดอาการเรื้อรังในที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลอย่างถูกต้องและทันเวลา ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้างข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่ม โรคไม่ติดต่อ NCDs เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยเป็น โรค NCDs ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตปีละกว่า 300,000 คน และคาดว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต่อชีวิต มักเกิดขึ้นแบบเรื้อรังหรือแบบเฉียบพลันดังข้อมูลสถิติย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปี2559 ถึง 2561ดังตาราง ต่อไปนี้ จำนวนและอัตราตายด้วยโรคไม่ติดต่อต่อแสนประชากร ทั้งหมดในประเทศไทย ปี 2559 – 2561 โรค โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง ปี พ.ศ. จำนวน(คน) อัตราจำนวน (คน) อัตรา จำนวน (คน) อัตรา 25597,930 12.0514,487 22.0131,68548.13 25608,525 13.07 14,322 21.9631,17247.81 25618,590 13.13 14,305 21.8730,83747.15

จำนวนและอัตราตายด้วยโรคไม่ติดต่อ ต่อแสนประชากร ในจังหวัดสตูล ปี 2559 – 2561 โรคโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง ปี พ.ศ. จำนวน (คน) อัตรา จำนวน (คน)อัตรา จำนวน (คน)อัตรา 25594815.15 50 15.78 103 32.52 2560 6319.8072 22.13 112 35.20112 35.20 2561 7824.3682 25.61 122 38.11122 38.11 ข้อมูล ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2562 กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข จากข้อมูลตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่า อัตราการตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้นทุกปีซึ่งปัญหาดังกล่าว
ปัจจุบันเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นโรคที่มี ภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย เช่น ภาวะแทรกซ้อนทางสมองตา ไต เท้า ฟัน และภาวะซึมเศร้าภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจคัดกรองปีละครั้งเพื่อค้นหา เฝ้าระวังติดตาม ป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวและดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหา ให้ได้รับการดูแลรักษา อย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว รพ.สต.ตำบลบ้านควน มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 224 คนโรคเบาหวานอย่างเดียว จำนวน23 คนและโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน71 คนรวมทั้งหมด 318 คน กลุ่มป่วยดังกล่าวมีภาวะแทรกซ้อนทางสมองจำนวน5 คน คิดเป็นร้อยละ 1.57 (เป้าหมาย 318 คน)ทางตา จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 7.44 (เป้าหมาย 94 คน) ไตวายเรื้อรัง จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.13 (เป้าหมาย 318 คน) เพื่อเป็นการเฝ้าระวังอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังรพ.สต.ตำบลบ้านควน จึงจัดทำโครงการคัดกรอง ค้นหา เฝ้าระวัง ป้องกัน ภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2563 ขึ้นเพื่อดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เป็นไปตามตัวชี้วัดตามที่กระทรวงสาธารสุขได้กำหนดไว้ และให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ที่มีปัญหา เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า ฟัน และภาวะซึมเศร้า

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า ฟัน และภาวะซึมเศร้า

84.04 100.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต

89.62 100.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการดูแลต่อเนื่อง ส่งต่อ

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการดูแลต่อเนื่อง ส่งต่อ

100.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า ฟัน และภาวะซึมเศร้า

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการดูแลต่อเนื่อง ส่งต่อ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

??/??/???? คัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต 7,950.00 -
??/??/???? คัดกรองการมองเห็นเบื้องต้น (VA) และคัดกรองภาวะซึมเศร้า 4,850.00 -
??/??/???? ติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มป่วยติดเตียงและกลุ่มที่มีปัญหาต้องติดตามต่อเนื่องที่บ้าน 7,500.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกราย ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า ฟัน และภาวะซึมเศร้า
  2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทุกราย ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต
  3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการดูแลต่อเนื่อง ส่งต่อ ทุกราย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2562 00:00 น.