กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ตำบลควนโดนร่วมใจ ลด ละ เลิก ยาสูบและบุหรี่ เพื่อชุมชนสุขภาพดีปลอดควัน ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคจากบุหรี่ จึงผลักดันให้เกิดความร่วมมือ ทีมหมอครอบครัวระดับอำเภอ ตำบลและชุมชน ภายในตำบลควนโดน อำเภอควนโดน ภายใต้แผนงานป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และลดนักสูบหน้าใหม่ พ

 

80.00

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคจากบุหรี่ จึงผลักดันให้เกิดความร่วมมือ ทีมหมอครอบครัวระดับอำเภอ ตำบลและชุมชน ภายในตำบล ควนโดน อำเภอควนโดน ภายใต้แผนงานป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป้าหมาย ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมากจากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่จำนวน 11.4 ล้านคนอัตราการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 20.7 ต่อประชากรพันคนอยู่ในกลุ่มอายุ 25 - 59 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานมากที่สุดร้อยละ 23.5 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 16.6และกลุ่มอายุ 15 - 24 ปีร้อยละ 14.7 ตามลำดับ เป็นผู้ชายร้อยละ 40.5 และผู้หญิงร้อยละ 2.2 โดยสูบบุหรี่จากโรงงานอย่างเดียวมากที่สุด 5.3 ล้านคน รองลงมาคือบุหรี่มวนเอง 4.2 ล้านคน และทั้งบุหรี่โรงงาน/บุหรี่มวนเอง 1.9 ล้านคนและมีคนไทยได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านร้อยละ 28.1 มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นราว 2 - 3 แสนคนต่อปีคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ 6 คนและเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่ร้อยละ 12 ของการตายทั้งหมดผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า ที่สำคัญ 1 ใน 4 เป็นเด็กเล็กที่ตายเพราะได้รับควันบุหรี่มือสองหากการควบคุมการบริโภคยาสูบไม่เข้มแข็งจะมีการตายด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ถึง 8 ล้านคนใน 20 ปีข้างหน้า การรณรงค์เพื่อป้องกันและลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ รวมทั้งการช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ จึงเป็นเป้าหมายหลัก ที่จะช่วยลดอัตราความเจ็บป่วย และการตายจากโรคที่มีสาเหตุจากการสูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่เป็นสิ่งที่บุคคลต้องใช้ความพยายาม และความตั้งใจ ต้องอาศัยการสนับสนุนจากบุคลากรสุขภาพเพื่อช่วยเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนัก และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิก ยาสูบและบุหรี่ พร้อมทั้งสามารถแนะนำผู้ที่สนใจให้เลิกสูบได้

กลุ่ม อสม. แกนนำชุมชน ผู้นำศาสนา และภาคีเครือข่ายต่างๆ มีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนัก และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิก ยาสูบและบุหรี่ พร้อมทั้งสามารถแนะนำผู้ที่สนใจให้เลิกสูบได้

80.00 80.00
2 เพื่อเพิ่มสถานที่ปลอดการสูบบุหรี่ ในชุมชนและส่งเสริมเข้าร่วมโครงการ ที่นี่ปลอดบุหรี่ และลดการเกิดนักสูบหน้าใหม่ในพื้นที่

เกิดสถานที่ปลอดการสูบบุหรี่ ในชุมชนเพิ่มขึ้น และส่งเสริมเข้าร่วมโครงการ ที่นี่ปลอดบุหรี่ และลดการเกิดนักสูบหน้าใหม่ในพื้นที่

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มแกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและภาคีเครือข่าย ในการร่วมกัน หาแนวทาง ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และยาสูบในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มแกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและภาคีเครือข่าย ในการร่วมกัน หาแนวทาง ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และยาสูบในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ ๑. เตรียมข้อมูลสุขภาพ เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่
๒. ประชุมชี้แจงนโยบายเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ๓. ปรึกษาหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ๔. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ ขั้นดำเนินการ ๑. ประชุมชี้แจงเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 2. ประชาสัมพันธ์โครงการ 3. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ดังนี้ 3.1 กิจกรรม จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มแกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและภาคีเครือข่าย ในการร่วมกัน หาแนวทาง ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และยาสูบในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มแกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และภาคีเครือข่าย ตัวแทนจากหมู่ที่ 2,3,4,6,7,8,9 และหมู้ที่ 10 ตำบลควนโดน จำนวน 40 คน โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมในโครงการ ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน คนละ 100 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 2 คนๆ ละ 2 ชั่วโมงชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 1,200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของการสูบบุหรี่หรือยาสูบ พร้อมทั้งมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อ ลด ละ เลิก สูบบุหรี่หรือ ยาสูบ ร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5200.00

กิจกรรมที่ 2 ร้านค้า สถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะ ในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของการสูบบุหรี่หรือยาสูบ พร้อมทั้งมีการปรับพื้นที่ เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลอดการสูบบุหรี่หรือยาสูบ

ชื่อกิจกรรม
ร้านค้า สถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะ ในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของการสูบบุหรี่หรือยาสูบ พร้อมทั้งมีการปรับพื้นที่ เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลอดการสูบบุหรี่หรือยาสูบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ ๑. เตรียมข้อมูลสุขภาพ เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่
๒. ประชุมชี้แจงนโยบายเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ๓. ปรึกษาหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ๔. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ ขั้นดำเนินการ ๑. ประชุมชี้แจงเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 2. ประชาสัมพันธ์โครงการ 3. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ดังนี้ 3.1 กิจกรรม ร้านค้า สถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะ ในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของการสูบบุหรี่หรือยาสูบ พร้อมทั้งมีการปรับพื้นที่ เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลอดการสูบบุหรี่หรือยาสูบ กลุ่มเป้าหมาย ตัวแทนจาก ร้านค้า สถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะในชุมชนเพื่อเพิ่มพื้นที่ปลอดการสูบบุหรี่หรือยาสูบ ตัวแทนจากหมู่ที่ 2,3,4,6,7,8,9 และหมู้ที่ 10 ตำบลควนโดน จำนวน 40 คน โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมในโครงการ ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 86 คนๆ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,150 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 1 คน จำนวน 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านค้า สถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะ ในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของการสูบบุหรี่หรือยาสูบ พร้อมทั้งมีการปรับพื้นที่ เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลอดการสูบบุหรี่หรือยาสูบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายแกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและภาคีเครือข่าย มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของการสูบบุหรี่หรือยาสูบ พร้อมทั้งมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อ ลด ละ เลิก สูบบุหรี่หรือ ยาสูบ ร้อยละ 50
2.ร้านค้า สถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะ ในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของการสูบบุหรี่หรือยาสูบ พร้อมทั้งมีการปรับพื้นที่ เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลอดการสูบบุหรี่หรือยาสูบ ร้อบละ 50


>