กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 1

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

ชมรม อสม. หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งไหม้

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการศึกษาของมูลนิธิสถาบันวิจัย พบว่าประชากรที่มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่พึ่งประสงค์มี 5 กิจกรรม ได้แก่ 1 ออกกำลังกาย 2 รับประทานผักสดและผลไม้สด 3 ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว 4 ไม่ดื่มสุราเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 5.ไม่สูบบุหรี่ ทั้งนี้การออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นพฤติกรรมที่พบในประชากรต่ำมาก ดังนั้นประชากรจึงเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมองตีบ อัมพฤกษ์อัมพาต เพิ่มขึ้น การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้นในชีวิตประจำวันอย่างน้อย 30 นาทีต่อวันหรือ 5 วันต่อสัปดาห์ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนั้นยังทำให้กล้ามเนื้อขาแขนแข็งแรง ทำให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง เป็นสิ่งสำคัญยิ่งของชีวิตมนุษย์เพราะการมีสุขภาพดีถือเป็นความโชคดีของชีวิตคนเราทุกคน จึงจำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญด้วยการกินและออกกำลังกายอย่างถูกหลักอนามัย โดยส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายให้เหมาะสมตามวัย ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 1 บ้านทุ่งไหม้ ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการอบรมส่งเสริมการออกกำลังกายลดเสี่ยงโรคเรื้อรังโดยการเต้นแอโรบิคและบาสโลบขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนร่วมมือกันเห็นความสำคัญด้านออกกำลังกายให้มากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่างๆได้ในประชาชนที่ไม่มีความรู้ใรการดูแลสุขภาพร่างกายได้อย่างถูกต้อง

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี

0.00
2 เพื่อสร้างแกนนำ อสม. ให้มีความรู้สามารถนำไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้

ประชาชนมีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม ในการดูแลสุขภาพตนเองได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7250.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกท่าแอโรบิกและบาสโลบ

ชื่อกิจกรรม
ฝึกท่าแอโรบิกและบาสโลบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เรื่องท่าออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัย
2.ประชาชนมีสุขภาพในการดูแลตนเองให้แขนขาแข็งแรงลดการเกิดโรคได้
3.ประชาชนผู้เข้าร่วมรับการอบรมมีความรู้ในการป้องกันตนเองไม่ให้เกิดโรค
4.ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน
5.ลดปัญหาการเกิดโรคต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น
6.ประชาชนมีสุขภาพที่ดี


>