กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกำจัดขยะเปียกในครัวเรือน สร้างสุขภาพที่ดีในการบริโภคผักปลอดสารพิษ หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งวิมาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

กลุ่มแกนนำจัดการขยะมูลฝอยหมู่ที่ 2

1.นางดายัด วังอาหลังประธานกลุ่ม
2.นางทัศนีย์เต๊ะหมันรองประธานกลุ่ม
3.นางรุ่งฤดี รองเมืองเหรัญญิกกลุ่ม
4.นายอับดุลรอหมาน หลังปุเต๊ะประชาสัมพันธ์กลุ่ม
5. นางฮอดีย๊ะตะหวัน กรรมการ

พื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งวิมาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนครัวเรือนที่มีการจัดการขยะเปียกอย่างถูกวิธี

 

80.00
2 จำนวนสถานที่ลักลอบทิ้งขยะมูลฝอยในพื้นที่หมู่ที่ 2

 

2.00
3 ไม่มีแหล่งเรียนรู้หรือจุดสาธิตในการบริโภคผักปลอดสารพิษ

 

0.00

พื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งวิมาน มีจำนวนครัวเรือนประมาณ 224 ครัวเรือน จากการสำรวจ ยังพบการทิ้งขยะเปียกรวมในถุงขยะประจำบ้านส่งผลให้มีกลิ่น และความสกปรกจากการหมักหมม เนื่องจากรถขยะให้บริการเก็บขยะสัปดาห์ละ 1 ครั้งเท่านั้น และพบมีการลักลอบทิ้งขยะในพื้นที่ว่างส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรวมจึงเป็นสาเหตุที่ทางกลุ่มแกนนำจัดการขยะมูลฝอยชุมชนหมู่ที่ 2 ต้องการให้ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะเปียกออกจากถุงขยะประจำบ้านเพื่อลดกลิ่นและความสกปรกที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นแหล่งเพาะพันธ์ุโรค และพูดคุยทำความเข้าใจกับสมาชิกในชุมชนให้ช่วยกันรักษาความสะอาดและทิ้งขยะให้ถูกต้อง และการสร้างจุดเรียนรู้ จุดสาธิตในชุมชน ในการนำขยะเปียกจากครัวเรือนมาใช้ประโยชน์เป็นกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะเปียกออกจากถุงขยะประจำบ้าน

ร้อยละ 50 ของครัวเรือนมีการคัดแยกขยะเปียกออกจากถุงขยะประจำบ้าน

36.00 50.00
2 สามารถแก้ไขปัญหาการลักลอบทิ้งขยะในพื้นที่ว่างได้

จำนวนจุดลักลอบทิ้งขยะมูลฝอยในพื้นที่ว่างลดลง

2.00 0.00
3 สร้างจุดเรียนรู้การปลูกผักแบบปลอดสารพิษจากการนำขยะเปียกในครัวเรือนมาใช้ประโยชน์

เกิดแหล่งเรียนรู้สาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน

0.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้านทุ่งวิมาน (คน) 120

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมพูดคุย ซักถามและสร้างความเข้าใจ สร้างข้อตกลงในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมพูดคุย ซักถามและสร้างความเข้าใจ สร้างข้อตกลงในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้าน จำนวน 120 คน เพื่อพูดคุยทำความเข้าใจและรับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมใช้ประโยชน์จากขยะเปียกในชุมชน และสร้างข้อกลงในการไม่ทิ้งขยะมูลฝอยในพื้นที่ว่าง
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการจัดประชุมทำความเข้าใจ จำนวน 120 คน * 25 บาท เป็นเงิน3,000 บาท
2. ค่าใช้จ่ายในการจัดทำ ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ (ขนาด 1.5*2 เมตร ) และสื่อให้ความรู้ที่เกี่ยวข้อง(เช่น แผ่นพับ) เป็นเงิน2,000 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากรชุมชน จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ300 บาทเป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 พฤษภาคม 2563 ถึง 13 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ตัวแทนครัวเรือนมีความเข้าใจที่ถูกต้อง
-มีครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมคัดแยกขยะเปียกเพื่อใช้ปลูกผักปลอดสารพิษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5600.00

กิจกรรมที่ 2 คัดแยกขยะเปียกในครัวเรือน สร้างประโยชน์ปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
คัดแยกขยะเปียกในครัวเรือน สร้างประโยชน์ปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ประชุมแกนนำผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อวางแผนงาน
-จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม สถานที่การจัดกิจกรรม
-จัดอบรมตัวแทนครัวเรือนและวิธีการใช้ประโยชน์จากขยะเปียกของสมาชิกในครัวเรือน
-ปลูกผักโดยใช้ปุ๋ยหรือน้ำหมักชีวภาพจากครัวเรือน
-จัดเวรการดูแลหรือทำกิจกรรม ดูแลผักปลอดสารพิษตามความสมัครใจ งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนวิทยากรในการจัดอบรม จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาทเป็นเงิน 900 บาท
2.จัดซื้ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง (ถังน้ำหมักชีวภาพ ท่อซีเมนต์วัสดุไม้ วัตถุดิบในการทำน้ำมัก ปุ๋ยอินทรีย์เมล็ดผัก ฯลฯ)เป็นเงิน 7,500 บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการจัดกิจกรรมอบรม จำนวน 120 คน*25 บาท เป็นเงิน3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มิถุนายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-มีครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างน้อย 120 ครัวเรือน
-เกิดกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากขยะเปียกในครัวเรือน สร้างกิจกรรมให้เห็นเป็นรูปธรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะเปียกและนำไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง
2.สามารถแก้ไขปัญหาการลักลอยทิ้งขยะในพื้นที่ว่างได้
3.สร้างจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดในหมู่บ้าน


>