กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบูรณาการแรงงานนอกระบบ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรมอาสาอาชีวอนามัยตำบลโคกชะงาย

1. นางหนูอั้น ไข่ทอง
2. นางสาวสุณีย์ มาสวัสดิ์
3. นางละเอียด สุวรรณชาตรี
4. นางขนิษฐา วุ่นน้อย
5. นางหนูออง ยังน้อย

ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

 

2.00

การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการบริการด้านอาชีวอนามัยแก่แรงงานนอกระบบ หรือแรงงานในชุมชน จำเป็นที่จะต้องเข้าใจวิถีชีวิตและระบบการทำงานของกลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพเศรษฐกิจและการแข่งขันด้านการผลิตและการค้าจากภายนอก ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในวิถีอาชีพแรงงานนอกระบบหรือแรงงานในชุมชนทั้งการเอารัดเอาเปรียบ การต่อรอง การต่อต้านการจ้างงาน รวมทั้งปัญหาสุขภาพและสังคมที่เกิดจากสภาพการทำงาน สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมของแรงงานนอกระบบ หรือแรงงานในชุมชนด้วย แม้ว่าแรงงานจะมีการดูแลสุขภาพหรือการพึ่งตนเองทางสุขภาพได้บ้างแต่ยังขาดความเหมาะสมและต่อเนื่อง ส่วนการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและสังคมแก่แรงงานพบว่าครอบครัว เครือข่ายแรงงาน และชุมชนมีบทบาทที่สำคัญที่สุด ส่วนเครือข่ายอื่นๆ ทั้งองค์กรท้องถิ่น หน่วยงานราชการและนายจ้าง ยังมีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่แรงงานนอกระบบหรือแรงงานในชุมชนน้อยมาก โครงการนี้ดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในชุมชนด้วยด้วยการสร้างกระบวนการรวมกลุ่มหรือเครือข่ายแรงงาน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมขององค์กรท้องถิ่น ชุมชน หรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้มีทักษะการจัดการด้านอาชีพ สุขภาพและสวัสดิการตามสภาพปัญหาและความจำเป็นพื้นฐานที่เหมาะสมแก่แรงงานในแต่ละพื้นที่ของตำบลโคกชะงายอำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 จัดตั้งชมรมอาสาอาชีวอนามัย

มีชมรมอาชีวอนามัย

2.00 1.00
2 สมาชิกชมรมอาสาสมัครอาชีวอนามัยได้รับการพัฒนาศักยภาพ

ร้อยละ 100 ของ อสอช. ได้รับการพัฒนาศักยภาพ

2.00 36.00
3 จัดทำฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบ(แบบสอบถามภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงาน)

ร้อยละ 100  ของกลุ่มเสียงจากการทำงานได้สำรวจสุขภาพ(  จำนวน  200  ราย)

2.00 200.00
4 แรงงานกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด

กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 90  ได้รับการตรวจคัดกรอง

2.00 180.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/05/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 2 คน เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 36 คนจำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน 2,160 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 36 คน 1 มื้อ ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 2,880 บาท
  • วัสดุอุปกรณ์ในการอบรมพร้อมกระเป๋าบรรจุเอกสาร จำนวน 36 ชุด ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • อสอช.ได้รับการพัฒนาศักยภาพ
  • มีแกนนำ อสอช.
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12240.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจแรงงานนอกระบบตามแบบสอบถามภาวะสุขภาพฯ

ชื่อกิจกรรม
สำรวจแรงงานนอกระบบตามแบบสอบถามภาวะสุขภาพฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถามภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานชุดละ 10 ใบ จำนวน 200 ชุดเป็นเงิน 800 บาท
  • ค่าตอบแทน อสอช.ในการสัมภาษณ์แบบสอบถามและบันทึกในโปรแกรม จำนวน 200 ชุด ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบกลุ่มเสี่ยง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กิจกรรมร่วมกับโครงการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านทุ่งยาว
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีฐานข้อมูลภาวะสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำมาวิเคราะห์ในการแก้ปัญหาสุขภาพต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,040.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสอช.ได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพเพื่อเป็นแกนนำเพื่อดูแลสุขภาวะของแรงงานนอกระบบ
2. มีฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบตำบลโคกชะงาน
3. แรงงานนอกระบบได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเพื่อวางแผนในการดูแลสุขภาวะต่อไป


>