กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรวมพลังชุมชนตำบลควนโดน ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน

พื้นที่ หมู่ 2,3,4,6,7,8,9,10

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

67.00

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก และยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูล รง. 506 ของงานระบาดวิทยา โรงพยาบาลควนโดน ได้รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในปี 2560 พบผู้ป่วยจำนวน 15 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 159.32 ต่อประชากรแสนคน ปี 2561 พบผู้ป่วยจำนวน 48 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 564.70 ต่อประชากรแสนคน และปี 2562 พบผู้ป่วยจำนวน 67 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 701.50 แต่ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต โดยพบเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ15 - 24 ปี, 5 - 9 ปี และ 10 - 14 ปีขึ้นไปตามลำดับ พบผู้ป่วยสูงที่สุดในเดือน เมษายน – มิถุนายน หมู่บ้านที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ หมู่ 7 หมู่ 1 และหมู่ 6 ตามลำดับ จากผลการดำเนินงานโครงการรณรงค์โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะในชุมชน ปีงบประมาณ 2562 พบว่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่ได้สุ่มสำรวจ โดยคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง สำรวจ 4 ครั้ง ทั้งหมด 8 หมู่บ้าน โดยครั้งที่ 4 พบหมู่บ้านที่ผ่านเกณฑ์ ค่า HI ต่ำกว่า 10 ตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งหมด 8 หมู่บ้าน และจากผลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ในสถานที่ราชการ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ มัสยิด จำนวน 12 แห่ง พบว่า มีค่า CI = 0 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (H.I.) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (H.I.) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

60.00 80.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน (C.I.) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ในเขตรับผิดชอบ

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน (C.I.) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ในเขตรับผิดชอบ

66.66 100.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและโรคติดต่ออื่นๆ

นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและโรคติดต่ออื่นๆ หลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80

60.00 80.00
4 ข้อที่ 4. เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดจากขยะและแหล่งแพร่กระจายโรคในชุมชน

จำนวนหลังคาเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มากกว่าร้อยละ 70

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4,935
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/01/2020

กำหนดเสร็จ : 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและโรคติดต่ออื่นๆ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและโรคติดต่ออื่นๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ และสำรวจลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน แก่แกนนำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 ในโรงเรียนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ อบต. ควนโดน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านควนโต๊ะเหลง จำนวนนักเรียน 50 คน โรงเรียนบ้านดูสนจำนวนนักเรียน 56 คน โรงเรียนบ้านบูเก็ตยามูจำนวนนักเรียน 50 คน

งบประมาณ
โรงเรียนบ้านควนโต๊ะเหลง

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท

โรงเรียนบ้านดูสน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 56 คน ๆ ละ25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,800 บาท

โรงเรียนบ้านบูเก็ตยามู

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและโรคติดต่ออื่นๆ หลังการอบรม มากกว่า ร้อยละ 80
  2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน (CI) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ในเขตรับผิดชอบ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานจัดการยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก โดยภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการควบคุมพาหะนำโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานจัดการยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก โดยภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการควบคุมพาหะนำโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานจัดการยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก โดยภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการควบคุมพาหะนำโรค
งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน จำนวน 102 คน ๆ ละ 100 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 10,200 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์สร้างสิ่งแวดล้อมเชิงรุกในชุมชน ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อม และการรักษาความสะอาด ตามมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์สร้างสิ่งแวดล้อมเชิงรุกในชุมชน ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อม และการรักษาความสะอาด ตามมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์สร้างสิ่งแวดล้อมเชิงรุกในชุมชน ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อม และการรักษาความสะอาด ตามมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค และการจัดการขยะในครัวเรือน ด้วยหลัก 3 R (Reduce/ Reuse/ Recycle) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมพลังสร้างสุขภาพและป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะ ได้แก่ โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ฯลฯ และสร้างชุมชนสะอาดปราศจากขยะ โดยทุกภาคีมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน

งบประมาณ

หมู่ 2

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 3 มื้อ เป็นเงิน 1,875 บาท

หมู่ 3

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 3 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท

หมู่ 4

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 3 มื้อ เป็นเงิน 2,250 บาท

หมู่ 6

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 3 มื้อ เป็นเงิน 2,250 บาท

หมู่ 7

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 3 มื้อ เป็นเงิน 1,875 บาท

หมู่ 8

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 3 มื้อ เป็นเงิน 1,125 บาท

หมู่ 9

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 3 มื้อ เป็นเงิน 1,125 บาท

หมู่ 10

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 3 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (ค่า HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
  2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด (CI) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและโรคติดต่ออื่นๆ หลังการอบรม มากกว่า ร้อยละ 80
2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (ค่า HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
3. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด (CI) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบ
4. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ


>