กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์การปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพของนักเรียนตาดีกาประจำปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

ศูนย์ (ตาตีกา) ยันนาตุสสาลาม

1.นายดือราแมมูดออาแซ

2.นางสาวรุสมาวาตีสะแลแม

3.นางสาวปาตีเมาะสะแลแม

4.นางสาวซูไรนี ดอเล๊าะ

5.ตูแวเม๊าะ ตูแวบราเฮ็ง

ณ ศูนย์ (ตาตีกา) ยันนาตุสสาลาม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน มีภาวะโชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

 

10.00

ภาวะโภชนาการเกินและภาวะขาดสารอาหารในเด็กวัยเรียนเป็นปัญหาสำคัญที่ควรให้ความสำคัญและทุกคนจะต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ซึ่งมีเด็กไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา) ยันนาตุสสาลาม สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กวัยเรียน ผอม เตี้ย อ้วน เพราะพฤติกรรมทางโภชนาการและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ การกินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ กินผัก ผลไม้น้อยลง การบริโภคขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมเพิ่มขึ้น และกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายน้อยลง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กไทย โดยเฉพาะอาหารที่ไม่เป็นที่โปรดปรานของเด็ก เห็นจะไม่พ้น ผัก และผลไม้ ซึ่งเป็นอาหารที่จะให้สารพวกวิตามิน อันเป็นตัวการสำคัญในกระบวนการเจริญเติบโต และพัฒนาการต่าง ๆ ของเด็กโดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็ก ที่สำคัญคือผักผัก ส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะซื้อมาจากตลาด ทำให้เด็กอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาหารผัก ที่ไม่ปลอดภัยไม่ปลอดสารพิษ ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่าง ๆ ได้และแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพต้องให้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายที่กระตุ้นให้เด็ก และผู้ปกครอง ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของการดูแลสุขภาพที่สามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน การส่งเสริมกิจกรรมทางสุขภาพที่มีความหลากหลายวิธีควบคู่กันไป จะช่วยสร้างโอกาสให้สุขภาพเด็กไทยได้รับการคุ้มครองอย่างปลอดภัย ในการนี้
ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา) ยันนาตุสสาลาม ได้เล็งเห็นความสำคัญของประโยชน์ของผัก ภาวะโภชนาการและการดูแลสุขภาพในเด็กวัยเรียน จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์การปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพของนักเรียน ตาดีกา ประจำปี 2562 ขึ้นในศูนย์ ฯ(ตาดีกา) ยันนาตุลสาลาม เพื่อให้เด็กได้ลงมือปลูกผักด้วยตัวเอง ได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ เพื่อจะได้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงมีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัยเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กมีสุขอนามัยที่ดีและเหมาะสมตามเกณฑ์

ร้อยละ 60 เด็กมีสุขอนามัยที่ดี และเหมาะสมตามเกณฑ์

100.00 100.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเสริมสร้างสุขลักษณะนิสัยอันดีเกี่ยวกับการบริโภคผัก ผลไม้

ร้อยละ 60เด็กมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคผักผลไม้

100.00 100.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองและเด็กปลูกผักปลอดสารพิษด้วยตนเอง

ร้อยละ 80 เด็กได้รับประทานผักปลอดสารพิษ

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 45
กลุ่มวัยทำงาน 45
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ให้เด็กนักเรียนในครูศูนย์ฯ(ตาดีกา)ยันนาตุสสาลาม เกี่ยวกับประโยชน์ผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ให้เด็กนักเรียนในครูศูนย์ฯ(ตาดีกา)ยันนาตุสสาลาม เกี่ยวกับประโยชน์ผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ให้เด็กนักเรียนในครูศูนย์ฯ(ตาดีกา)ยันนาตุสสาลาม

-กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ให้เด็กนักเรียนในครูศูนย์ฯ(ตาดีกา)ยันนาตุสสาลาม เกี่ยวกับประโยชน์ของการทานผัก วิธีการเลือกผักที่ปลอดสารพิษ การจัดอาหารสำหรับเด็ก การปลูกผักด้วยตัวเอง

-กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักให้เด็กนักเรียนในบริเวณศูนย์ฯ(ตาดีกา) ยันนาตุสสาลาม

-กิจกรรมสาธิตการทำเมนูอาหาร/แปรรูปอาหาร เช่น เมนูผักชุบแป้งทอด เมนูเซนวิส เมนูสลัดผัก/ผลไม้ ผักผลไม้ปั่น เป็นต้น

-ค่าอาหารกลางวัน+เครื่องดื่ม จำนวน 45 คน x 60 บาทx 1 มื้อ= 2,700 บาท

-ค่าอาหารว่าง+เครื่องดื่ม จำนวน 45 คน x 25 บาท x 2 มื้อ = 2,250 บาท

-ค่าวัตถุดิบ วัสดุ อุปกรณ์สำหรับสาธิตการทำเมนูอาหาร/แปรรูปอาหาร= 1,300 บาท

-ค่าวิทยากร 1 คน x 5 ชม. x 600 บาท = 3,000 บาท

-ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ 1 x 3x 1 แผ่น=750 บาท

10,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนมีความรู้ และสามารถไปปฎิบัติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ให้ผู้ปกครองเด็กนักเรียนในครูศูนย์ฯ(ตาดีกา)ยันนาตุสสาลาม การปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ให้ผู้ปกครองเด็กนักเรียนในครูศูนย์ฯ(ตาดีกา)ยันนาตุสสาลาม การปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ ให้ผู้ปกครองเด็กนักเรียนในครูศูนย์ฯ(ตาดีกา)ยันนาตุสสาลาม การปลูกผักปลอดสารพิษ

-กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ ให้ผู้ปกครองเด็กนักเรียนในครูศูนย์ฯ(ตาดีกา)ยันนาตุสสาลาม การปลูกผักปลอดสารพิษ ประโยชน์ของการทานผัก วิธีการเลือกผักที่ปลอดสารพิษ การจัดอาหารสำหรับเด็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองเด็กนักเรียนมีความรู้ เข้าใจ และสามารถไปปฎิบัติได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมดูแลแปลงผัก รดน้ำผัก ทุกเย็น โดยแบ่งกลุ่ม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมดูแลแปลงผัก รดน้ำผัก ทุกเย็น โดยแบ่งกลุ่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

.ให้นักเรียนแบ่งกลุมเพื่อจัด กิจกรรมดูแลแปลงผัก รดน้ำผัก ทุกเย็น โดยแบ่งกลุ่ม

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้มีการรดผักทุกวัน ผักเจริญเติบโต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแจกผักให้เด็กนำผักที่ได้จากโครงการไปรับประทานที่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแจกผักให้เด็กนำผักที่ได้จากโครงการไปรับประทานที่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เมื่อผักโต พอได้เก็บเกี่ยว ครู แจกผักให้เด็กนำผักที่ได้จากโครงการไปรับประทานที่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ด็กนักเรียนได้รับประทานผักปลอดสารพิษ มีสุขภาพแข้งแรง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (บรรยายเพิ่มเติม)

1.. เขียนโครงการขออนุมัติเพื่อจัดทำโครงการ

2. เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็กภายในศูนย์ฯ(ตาดีกา)ยันนาตุสสาลาม

3. เก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการทานผักของเด็ก ที่ศูนย์ฯ(ตาดีกา)ยันนาตุสสาลาม

4. ประชุมคณะกรรมการศูนย์ฯ(ตาดีกา) ยันนาตุสสาลามเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ปรึกษาการจัดทำโครงการ

5. ดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ดังนี้

5.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ให้เด็กนักเรียนในครูศูนย์ฯ(ตาดีกา)ยันนาตุสสาลาม เกี่ยวกับประโยชน์ของการทานผัก วิธีการเลือกผักที่ปลอดสารพิษ การจัดอาหารสำหรับเด็ก การปลูกผักด้วยตัวเอง

5.2 กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักให้ผู้ปกครองและเด็กนักเรียนในบริเวณศูนย์ฯ(ตาดีกา) ยันนาตุสสาลาม และในบริเวณที่อยู่อาศัย

5.3 กิจกรรมสาธิตการทำเมนูอาหาร/แปรรูปอาหาร เช่น เมนูผักชุบแป้งทอด เมนูเซนวิส เมนูสลัดผัก/ผลไม้ ผักผลไม้ปั่น เป็นต้น

6. กิจกรรมดูแลแปลงผัก รดน้ำผัก ทุกเย็น โดยแบ่งกลุ่ม

7. กิจกรรมแจกผักให้เด็กนำผักที่ได้จากโครงการไปรับประทานที่บ้าน

8. ติดตามและประเมินผลโครงการ

9. รายงานผลการดำเนินโครงการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเสริมสร้างสุขลักษณะนิสัยอันดีเกี่ยวกับการบริโภคผักผลไม้

2. เด็กปลูกผักด้วยตนเอง

3. เด็กมีสุขอนามัยที่ดีและเหมาะสมตามเกณฑ์

4. นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านโภชนาการ ด้านสุขภาพ


>