กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรวมพลังชุมชน ชาวห้วยไทรใส่ใจความสะอาด ปราศจากโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 10 บ้านห้วยไทร ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

1.นางสุวรรณี แซ่หลี
2.นางไมมูน๊ะหลำย๊ะ
3.นางวิภา สงแก้ว
4.นางไมตรี ไชยนวล
5.นางสุภาวดีอ่อนมาก

หมู่ที่ 10 บ้านห้วยไทร ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากรายงานสรุปสถานการณ์มลพิษประเทศไทย ปี่ 2561 (กรมควบคุมมลพิษ,2561) มีปริมาณขยะมูลฝอยที่่เกิดขึ้นประมาณ 27.8 ล้านตัน เมื่อเทียบปริมาณกับปี 2560 มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.64 เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนเมือง และการปรับเปลี่่ยนวิถีชีวิตจากสังคมเกษตรสู่สังคมเมือง การเพิ่มขึ้นของประชากร การส่งเสริมการท่องเที่ยว การบริโภคเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยในหลายพื้นที่เพิ่มมากขึ้นจากการศึกษาบริบทของชุมชนตำบลละงู พบว่ามีการเพิ่มการกระจายตัวของร้านค้า และตลาดสดในทุกหมู่บ้าน ตอบสนองความต้องการการอุปโภค บริโภคของประชาชน ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะในชุมชน และที่สำคัญไปกว่านั้น ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน บ้านห้วยไทร หมู่ที่ 10 ตำบลละงู พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในปี 2562 จำนวน 17 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1,406 ต่อแสนประชากร (เกณฑ์ < 50 ต่อแสน) สถานการณ์ป่วยเกินค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี (Median = 9) เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมพบว่า มีการกระจายของเศษขยะ แก้ว ถุงพลาสติก ถังพลาสติกที่มีน้ำขังและลูกน้ำยุงตามบ้านเรือน ศาลาประชาคม มัสยิด และเส้นทางสาธารณะในหมู่บ้านและถนนสัญจรสายหลัก เมื่อพิจารณาตามปัจจัยบุคคลพบว่าประชาชนมีความรู้ควาสามารถเข้าถึงข่าวสารสาธรณะและสุขภาพ แต่ยังขาดควมตระหนัก และมีพฤติกรรมสุขวิทยาไม่ถูกต้อง เมื่อพิจารณาตามปัจจัยด้านเชื้อโรคการเกิดโรค พบว่า การเคลื่อนย้ายของประชากรไปยังพื้นที่่ทีมีการป่วยส่งผลให้ติดต่อคนในครอบครัวอย่างต่อเนื่อง จากการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยใช้งบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลละงู ปีงบประมาณ 2562 ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านห้วยไทร ประสบความสำเร็จด้าน 1)การจัดระบบรายงานค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายผ่านระบบออนไลน์เพื่อควบคุมปริมาณยุงที่มีเชื้อ 2)สร้างการมีส่วนร่วมการเก็บขยะในรูปแบบ Big Cleaning Day 3)การบริหารจัดการวัสดุ เคมีภัณฑ์การกำจัดยุง ความทันเวลาในการควบคุมโรค แต่ยังขาดความเชื่อมโยงความร่วมมือและการแสดงพลังของชุมชน ผู้นำชุมชน ในการจัดการขยะที่เป็นรูปธรรมอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ จากความสำคัญดังกล่าวอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านห้วยไทร จึงได้จัดโครงการรวมพลังชุมชนชาวห้วยไทร ใส่ใจความสะอาด ปราศจากโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2563 เพื่อส่งเสริมการรวมพลังภาคีเครือข่าย สร้างจิตสำนึก จิตอาสาในการกำจัด คัดแยกขยะอย่างถูกต้อง ไม่เป็แหล่งรังโรคและอัตราป่วยไข้เลือดออกลดลงและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้มีความสะอาด สร้างสรรค์สังคมสุขภาวะที่ดี และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์การจัดระบบสุขภาพอำเภอละงู คนละงูรักสะอาดปราศจากโรคต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้และแนวทางปฏิบัติในการคัดแยกขยะและป้องกันโรคไข้เลือดออก

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อลดปริมาณขยะ แหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในหมู่บ้าน

-จัดกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ปีละ 4 ครั้ง
-ระบบรายงานคัดแยกขยะและสำรวจลูกน้ำยุงลายประจำเดือน

0.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน

อัตราป่วยน้อยกว่าปี 2562

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน/เครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน/เครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. ประชุมคณะทำงาน/เครือข่าย     จัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงาน     พัฒนาระบบรายงาน HICI, การกำจัดขยะ ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x ๓๐ คน  = ๑,๕๐๐ บ. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๒ มื้อ x ๓๐ คน = ๑,๕๐๐ บ. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ๕๐๐ บาท x ๒ แผ่น = ๑,๐๐๐ บ.
รวมเงิน ๔,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การจัดการขยะ โรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การจัดการขยะ โรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้การจัดการขยะ,โรคไข้เลือดออก 1.1 กิจกรรมย่อย
บรรยายให้ความรู้โดยวิทยากรทางสาธารณสุข ค่าวิทยากร ๓๐๐ บ.x ๓ ชม.x ๒ ครั้ง = ๑,๘๐๐ บ. ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x ๕๐ คน x ๒ ครั้ง = ๕,๐๐๐ บ. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๒ มื้อ x ๕๐คน x ๒ ครั้ง= ๕,๐๐๐บ. รวมเงิน 11,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11800.00

กิจกรรมที่ 3 พัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน 2.1 กิจกรรมย่อย - ประชุมรายงานสถานการณ์โรค ประจำเดือน - รณรงค์การเก็บขยะ / ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย มัสยิด วัด ถนนสาธารณะ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๑ มื้อ x 30คน x 4ครั้ง = ๓,๐๐๐บ. ถังขยะแยกสี ๑ ชุด = ๓,๕๐๐ บ. ถุงดำ ๑๒ แพ็คx55บ. = ๖๖๐ บ. รวมเป็นเงิน ๗,๑๖๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7160.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,960.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. จำนวนผู้ป่วย ปี 2563 ลดลง
2. มีระบบรายงานค่า HI CI และระบบรายงานการคัดแยกขยะออนไลน์
3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีพฤติกรรมสุขวิทยาที่ถูกต้องในระดับครัวเรือน เด็ก นักเรียนและเยาวชนเกิดจิตสำนึกนิสัยรักสะอาด และปริมาณขยะในชุมชนลดลง
4. ความสามัคคีในชุมชนเอื้อต่อการพัฒนาระบบสุขภาพด้านอื่นๆ


>