กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการให้ความรู้การลดปวดกล้ามเนื้อด้วยการประคบสมุนไพรไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรบ้านไอสะเตียร์

1. น.ส.อานีรา แวยูโซ๊ะ
2. นายชานนท์ โสอุดร
3. น.ส.นูรีซะห์ แวยูโซ๊ะ
4. นาง เจ๊ะมิ เจ๊ะลี
5. นายมิฟตาฮูดีน แวยูโซ๊ะ

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรบ้านไอสะเตียร์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในพื้นที่

 

40.00

กล้ามเนื้อลายเป็นอวัยวะที่หนักถึง 40 % ของน้ำหนักตัว และมีถึง 696 มัด ซึ่งต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงพบว่า ประชากรโดยทั่วไป ประมาณ 30 % ขึ้นไปมีอาการปวดที่มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อ เป็นอาการปวดที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ในการทำงานทำกิจกรรมต่าง ๆอาการปวดจากกล้ามเนื้อ จะมีลักษณะได้หลายแบบ เช่น ปวดมากจนขยับร่างกายส่วนนั้น ๆ ไม่ได้เลย ปวดหนักๆ ปวดเสียว ปวดเมื่อยล้าง่ายปวดตึง ปวดหรือเสียวแปล๊บเมื่อเอื้อมแขนหรือยกแขนในบางอิริยาบถ ปวดเมื่อเอี้ยวตัว เช่น เอื้อมหยิบของที่อยู่สูง เอี้ยวหยิบของไกลตัว เป็นต้น อาการปวดดังกล่าวอาจไม่ได้เกิดตลอดเวลา อาจเกิดบางครั้งบางคราว เป็นๆ หายๆ ปวดเวลาใดก็ได้ เช่น เช้าตื่นขึ้นรู้สึกตึงขยับลำบาก หรือเมื่อยล้ามากในช่วงเย็นในบางคนอาจมีอาการชายิบ ๆ บริเวณที่ปวดร่วมด้วย จนทำให้กลัวว่าจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
จากการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อภูมิปัญญาไทยมีมาตั้งแต่โบราณ หลังการนวดรักษาผู้ป่วยหมอมักจะนำเอาสมุนไพรที่อยู่ในห่อผ้า ซึ่งเราเรียกว่า “ลูกประคบ” มาประคบให้หลังจากการนวด หรือบางอาการที่ไม่เหมาะกับการนวดหมอก็จะใช้ลูกประคบมาประคบตามส่วนต่าง ๆของร่างกายที่มีอาการปวดเมื่อยทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายสบายตัว และรับรู้ได้ถึงอาการปวดเมื่อยดีขึ้น อาการปวดตึงได้คลายลง
ดังนั้นทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรบ้านไอสะเตียร์ ต.บูกิต อ.เจาะไอร้องจ.นราธิวาสจึงได้เล็งเห็นถึงการใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการลดปวดโดยจัดทำโครงการให้ความรู้การลดปวดกล้ามเนื้อด้วยการประคบสมุนไพรไทย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในท้องถิ่น ในการลดปวดกล้ามเนื้อได้เบื้องต้น

ผู้เข้ารับการอบรมมีการใช้สมุนไพรท้องถิ่นในการลดการปวดกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น

40.00 10.00
2 เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น

40.00 10.00
3 เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชุมชนในด้านส่งเสริมสุขภาพ

ประชาชนใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชุมชนในการดูแลสุขภาพ

40.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมภาคบรรยายหัวข้อ “สมุนไพรท้องถิ่นและการนำมาใช้ประโยชน์” และ จัดกิจกรรมภาคปฏิบัติ สาธิตการทำประคบสมุนไพรเพื่อนำไปใช้งานได้จริง

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมภาคบรรยายหัวข้อ “สมุนไพรท้องถิ่นและการนำมาใช้ประโยชน์” และ จัดกิจกรรมภาคปฏิบัติ สาธิตการทำประคบสมุนไพรเพื่อนำไปใช้งานได้จริง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าไวนิล“สมุนไพรท้องถิ่นและการนำมาใช้ประโยชน์” ขนาด 1.2 X 2.4 เมตร รวมเป็นเงิน720บาท

-ค่าใบความรู้40ชุดx5บาท รวมเป็นเงิน 200บาท

-ค่าวิทยากรชั่วโมงละ600บาทx3ชั่วโมงรวมเป็นเงิน 1,800 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเช้า40 คน x25บาท x 1 มื้อ x 1 วัน รวมเป็นเงิน 1,000บาท

-ค่าอาหารกลางวัน 40คน x 60บาท x 1 มื้อ x 1 วัน รวมเป็นเงิน 2,400บาท

-ค่าสมุนไพรและวัสดุสำหรับทำลูกประคบรวมเป็นเงิน 3,880 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.  เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในท้องถิ่น ในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อในเบื้องต้น
๒.  จำนวนผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการลดอาการปวดเบื้องต้นด้วยสมุนไพร หลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80
๓.  ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเกิดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ขอถัวเฉลี่ยทุกรายการ

วิธีการดำเนินการ
ขั้นเตรียมการ
๑. เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ
๒. แจ้ง – ประสาน ประชาสัมพันธ์ กำหนดการดำเนินงาน ในชุมชน
๓. จัดเตรียมอุปกรณ์ใช้ในการจัดอบรม
๔. จัดเตรียมสถานที่ในการสาธิตการทำลูกประคบสมุนไพร


ขั้นดำเนินการ
๑. จัดประชุมเตรียมการ
๒. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรในท้องถิ่น แก่สมาชิกกลุ่มและประชาชนทั่วไปที่สนใจ
๓. จัดทำการสาธิตการทำลูกประคบสมุนไพร ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรบ้านไอสะเตียร์
๔. สรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน


ประกอบด้วย กิจกรรมหลัก ดังนี้
๑. อบรมทางกลุ่มและชาวบ้านให้รู้จักสรรพคุณทางยาของสมุนไพรและสามารถนำมาใช้ในการลดปวดกล้ามเนื้อได้
๒. ร่วมกันปฏิบัติการทำลูกประคบสมุนไพรเพื่อนำไปใช้งานได้จริง
๓. ติดตามผลจากการใช้งานลูกประคบด้วยแบบสอบถาม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในท้องถิ่น ในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อในเบื้องต้น
๒. จำนวนผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการลดอาการปวดเบื้องต้นด้วยสมุนไพร หลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80
๓. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเกิดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดี


>