กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการให้ความรู้การลดปวดกล้ามเนื้อด้วยการประคบสมุนไพรไทย
รหัสโครงการ 63 - L2479 - 2 -27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรบ้านไอสะเตียร์
วันที่อนุมัติ 7 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในพื้นที่
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กล้ามเนื้อลายเป็นอวัยวะที่หนักถึง 40 % ของน้ำหนักตัว และมีถึง 696 มัด ซึ่งต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงพบว่า ประชากรโดยทั่วไป ประมาณ 30 % ขึ้นไปมีอาการปวดที่มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อ เป็นอาการปวดที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ในการทำงานทำกิจกรรมต่าง ๆอาการปวดจากกล้ามเนื้อ จะมีลักษณะได้หลายแบบ เช่น ปวดมากจนขยับร่างกายส่วนนั้น ๆ ไม่ได้เลย ปวดหนักๆ ปวดเสียว ปวดเมื่อยล้าง่ายปวดตึง ปวดหรือเสียวแปล๊บเมื่อเอื้อมแขนหรือยกแขนในบางอิริยาบถ ปวดเมื่อเอี้ยวตัว เช่น เอื้อมหยิบของที่อยู่สูง เอี้ยวหยิบของไกลตัว เป็นต้น อาการปวดดังกล่าวอาจไม่ได้เกิดตลอดเวลา อาจเกิดบางครั้งบางคราว เป็นๆ หายๆ ปวดเวลาใดก็ได้ เช่น เช้าตื่นขึ้นรู้สึกตึงขยับลำบาก หรือเมื่อยล้ามากในช่วงเย็นในบางคนอาจมีอาการชายิบ ๆ บริเวณที่ปวดร่วมด้วย จนทำให้กลัวว่าจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ จากการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อภูมิปัญญาไทยมีมาตั้งแต่โบราณ หลังการนวดรักษาผู้ป่วยหมอมักจะนำเอาสมุนไพรที่อยู่ในห่อผ้า ซึ่งเราเรียกว่า “ลูกประคบ” มาประคบให้หลังจากการนวด หรือบางอาการที่ไม่เหมาะกับการนวดหมอก็จะใช้ลูกประคบมาประคบตามส่วนต่าง ๆของร่างกายที่มีอาการปวดเมื่อยทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายสบายตัว และรับรู้ได้ถึงอาการปวดเมื่อยดีขึ้น อาการปวดตึงได้คลายลง ดังนั้นทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรบ้านไอสะเตียร์ ต.บูกิต อ.เจาะไอร้องจ.นราธิวาสจึงได้เล็งเห็นถึงการใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการลดปวดโดยจัดทำโครงการให้ความรู้การลดปวดกล้ามเนื้อด้วยการประคบสมุนไพรไทย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในท้องถิ่น ในการลดปวดกล้ามเนื้อได้เบื้องต้น

ผู้เข้ารับการอบรมมีการใช้สมุนไพรท้องถิ่นในการลดการปวดกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น

40.00 10.00
2 เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น

40.00 10.00
3 เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชุมชนในด้านส่งเสริมสุขภาพ

ประชาชนใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชุมชนในการดูแลสุขภาพ

40.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 10,000.00 1 10,000.00
30 ส.ค. 63 จัดกิจกรรมภาคบรรยายหัวข้อ “สมุนไพรท้องถิ่นและการนำมาใช้ประโยชน์” และ จัดกิจกรรมภาคปฏิบัติ สาธิตการทำประคบสมุนไพรเพื่อนำไปใช้งานได้จริง 40 10,000.00 10,000.00

วิธีการดำเนินการ ขั้นเตรียมการ
๑. เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ
๒. แจ้ง – ประสาน ประชาสัมพันธ์ กำหนดการดำเนินงาน ในชุมชน
๓. จัดเตรียมอุปกรณ์ใช้ในการจัดอบรม ๔. จัดเตรียมสถานที่ในการสาธิตการทำลูกประคบสมุนไพร


ขั้นดำเนินการ
๑. จัดประชุมเตรียมการ
๒. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรในท้องถิ่น แก่สมาชิกกลุ่มและประชาชนทั่วไปที่สนใจ ๓. จัดทำการสาธิตการทำลูกประคบสมุนไพร ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรบ้านไอสะเตียร์
๔. สรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน


ประกอบด้วย กิจกรรมหลัก ดังนี้ ๑. อบรมทางกลุ่มและชาวบ้านให้รู้จักสรรพคุณทางยาของสมุนไพรและสามารถนำมาใช้ในการลดปวดกล้ามเนื้อได้ ๒. ร่วมกันปฏิบัติการทำลูกประคบสมุนไพรเพื่อนำไปใช้งานได้จริง ๓. ติดตามผลจากการใช้งานลูกประคบด้วยแบบสอบถาม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในท้องถิ่น ในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อในเบื้องต้น
๒. จำนวนผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการลดอาการปวดเบื้องต้นด้วยสมุนไพร หลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80
๓. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเกิดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2563 17:05 น.