กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

พัฒนาศักยภาพทีม SRRT ตำบลและการจัดการโรคติดต่อในพื้นที่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา

ตำบลลางา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของโลกปัจจุบัน ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง และจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกองค์กรต้องมีการขยับและพัฒนาตนเองให้ทันยุคสมัย เช่นเดียวกับการทำงานด้านโรคติดต่อในพื้นที่ที่ทุกคนต้องได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน และพร้อมที่จะรับมือได้ในทุกๆเหตุการณ์ และด้วยสภาพของตำบลลางาที่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีการเกิดโรคไข้เลือดออกบ่อยครั้ง จำเป็นที่ต้องมีการเตรียมพร้อมอย่างสม่ำเสมอในการรับมือ พร้อมๆกับการดำเนินงานให้ประชาชนในพื้นที่ให้มีความรู้ มีทัศนคติที่ดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทีมสาธารณสุขในพื้นที่ต้องมีความรู้ มีศักยภาพและมีทักษะที่เข้มแข็งในการจัดการได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่น้อยกว้าร้อยละ 10 ต่อแสนประชากร ในปีงบประมาณ 2563

75.00 100.00
2 เพื่อการจัดการโรคติดต่อในพื้นที่ได้ถูกต้อง เหมาะสม

ไม่มีการระบาดของโรคซ้ำซ้อนในพื้นที่

75.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 625
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,109
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6,453
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการระบาดวิทยา หลักสูตร SRRT ตำบล

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการระบาดวิทยา หลักสูตร SRRT ตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านระบาดวิทยาแก่อสม.และทีม SRRT ตำบล เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานและการจัดการโรคติดต่อในพื้นที่ (หลักสูตร 2 วัน) -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 25 บาท จำนวน 4 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆละ 50 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 เมษายน 2563 ถึง 8 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.และทีม SRRT ตำบลมีทักษะในการตรวจสอบเหตุการณ์ สามารถสอบสวนโรคขั้นต้น มีการประสานงานงาน ส่งต่อข้อมูล และส่งเสริม ป้องกัน ควบคุมโรคในพื้นที่ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์โรคติดต่อ(ไข้เลือดออก)ในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์โรคติดต่อ(ไข้เลือดออก)ในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.ลงพื้นที่รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ จัดนิทรรศการ ในพื้นที่ (ลงพื้นที่ 7 ครั้ง) -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการลงพื้นที่รณรงค์ให้ความรู้จำนวน 200 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 10,000 บาท
-ค่าอาหารกลางวันในการลงพื้นที่รณรงค์ให้ความรู้จำนวน 200 คนๆละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านโรคติดต่อ เกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการควบคุม ป้องกันในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมสัปดาห์ราชประชาสมาสัย

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมสัปดาห์ราชประชาสมาสัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมสัปดาห์ราชประชาสมาสัยเพื่อร่วมคัดกรอง ค้นหา ส่งต่อ และให้ความรู้ด้านโรคเรื้อนในพื้นที่ -ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ จำนวน 1 ชุดๆละ 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 พฤษภาคม 2563 ถึง 8 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารด้านโรคเรื้อน -ได้รับการคัดกรอง ส่งต่อ และรักษาอย่างรวดเร็ว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 4 การจัดการโรคติดต่อในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
การจัดการโรคติดต่อในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป็นการลงพื้นที่เมื่อมีโรคติดต่อเกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อควบคุม ป้องกันการระบาดร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ -ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการควบคุมโรค จำนวน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ได้รับการควบคุมโรคทันเวลา
-อสม.มีศักยภาพในการตรวจสอบเหตุการณ์ ควบคุมโรคขั้นต้นและประสานงานได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมติดตามผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมติดตามผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป็นการประชุมติดตามหารือผลการดำเนินงานกิจกรรมในพื้นที่ให้บรรลุวัตถุประสงค์เดือนละ 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เจ้าหน้าที่และอสม.มีศักยภาพร่วมกันในการดำเนินงานควบคุมโรคในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-อสม.ในพื้นที่ตำบลลางา มีศักยภาพในการตรวจจับเหตุการณ์ สามารถป้องกัน ควบคุมโรคขั้นต้นได้
-ประชาชนมีความรู้ด้านการป้องกันโรคไข้เลือดออกและลดการป่วยในพื้นที่ได้
-อสม.มีศักยภาพในการควบคุมการระบาดของโรคในพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ


>