กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพจิต ห่างไกลภาวะซึมเศร้า ( Major Depressive Disorder : MDD )

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

ประชาชนทั่วไป

1.นางสาวนิตยา ดินเตบ
2.นางเสาวณีย์ รอดเสน
3.นางจิราภา ดาราหมานเศษ
4.นางสุนีย์ ศรีอ่อน
5.นางซีตีลานี ยาประจัน

มัสยิดบ้านทุ่งเกาะปาบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์ประเทศไทย มีการสำรวจความชุกของโรคซึมเศร้า พ.ศ.2551 พบว่า มีคนไทยป่วยซึมเศร้า 1.5 ล้านคน หากพิจารณาตามเพศและอายุของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่า ผู้หญิงเสี่ยงป่วยมากกว่าผู้ชาย 1.7 เท่า โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานอายุ 25-59 ปี ร้อยละ 62 รองลงมาเป็นวัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 26.5 และเป็นเยาวชนอายุ 15-24 ปี ร้อยละ 11.5 โรคซึมเศร้า เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง และสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจการเงิน ความผิดหวัง ความสัมพันธ์ ความรัก ความสูญเสีย เป็นต้น หากเยาวชนไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ จะทำให้ทุกปัญหากลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล จนพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้าและคิดทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายได้ และอาการของโรคซึมเศร้า ได้แก่ เศร้า หดหู่ ซึม เบื่อหน่าย หงุดหงิด ฉุนเฉียว ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ มีความคิดอยากตาย โรคซึมเศร้าจึงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีจะก่อให้เกิดการสูญเสียสุขภาวะ ส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคมและเศรษฐกิจรวมทั้งเป็นภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาของภาครัฐ นอกจากนี้หากเป็นเรื้อรังจะทำให้ผู้ป่วยมีความคิดทำร้ายตนเองและฆ่าตัวตายในที่สุด การให้ความสำคัญในการป้องกันและค้นหาผู้ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเขาขาวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพจิต ห่างไกลภาวะซึมเศร้า เพื่อป้องกันโรคซึมเศร้า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองและค้นหาโรคซึมเศร้าในประชาชนในเขตรับผิดชอบ

ประชาชนในเขตรับผิดชอบเข้าถึงบริการโรคซึมเศร้ามากขึ้น

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามากขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/02/2020

กำหนดเสร็จ 10/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายโครงการ 500 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ มื้อละ 75 บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน 4,500 บาท
  3. ค่าอาหารว่าง 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน 1,500 บาท
  4. ค่าเอกสารประกอบการอบรม
    • คู่มือโรคซึมเศร้า 45 หน้ารวมปก ชุดละ 50 บาท จำนวน 60 ชุด เป็นเงิน 3,000 บาท
  5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 3,060 บาท
    • แฟ้ม 60 ชุด ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
    • สมุด 60 เล่ม เล่มละ 10 บาท เป็นเงิน 600 บาท
    • ปากกา 2 กล่อง กล่องละ 320 บาท เป็นเงิน 640 บาท
    • ปากกาเคมี 2 หัว ตราม้า 20 ด้าม ด้ามละ 15 บาท เป็นเงิน 300 บาท
    • เทปโฟม 2 หน้า 3 M (ยาว 5 เมตร) ม้วนละ 220 บาท
    • อื่นๆ 100 บาท
  6. ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู่้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14360.00

กิจกรรมที่ 2 เพิ่มรอย ลดโรค

ชื่อกิจกรรม
เพิ่มรอย ลดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ป้ายประชาสัมพันธ์ 4 ป้าย ป้ายละ 500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท พร้อมไม้ติดตั้ง 1,500 บาท จำนวน 4 แห่ง เป็นเงิน 6,000 บาท รวมเป็นเงิน 8,000 บาท (ติดตั้งป้ายแหล่งชุมชุนให้ประชาชนเข้าถึง)
  2. ค่าอาหารว่าง 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 60 คน รวมเป็นเงิน 1,500 บาท
  3. ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท แบ่งเป็นฐานที่ 1 ตีกอร์ฟคนจน ฐานที่ 2 เตะปี๊ป ฐานที่ 3 รวมพลังสายใยผ่านเชือก
  4. ค่าอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม 60 คน คนละ 20 บาท เป็นเงิน 1,200
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาสุขภาพทั้ง 4 ด้าน ร่างกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,960.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในเขตรับผิดชอบเข้าถึงบริการโรคซึมเศร้ามากขึ้น
2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น


>