กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพจิต ห่างไกลภาวะซึมเศร้า ( Major Depressive Disorder : MDD )
รหัสโครงการ 63-l5310-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ตอละใต้ใส่ใจสุขภาพ ต.เขาขาว
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 กุมภาพันธ์ 2563 - 17 เมษายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 15 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 39,260.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนิตยา ดินเตบ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสุทธินันท์ มานะก้า
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 39,260.00
รวมงบประมาณ 39,260.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ประเทศไทย มีการสำรวจความชุกของโรคซึมเศร้า พ.ศ.2551 พบว่า มีคนไทยป่วยซึมเศร้า 1.5 ล้านคน หากพิจารณาตามเพศและอายุของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่า ผู้หญิงเสี่ยงป่วยมากกว่าผู้ชาย 1.7 เท่า โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานอายุ 25-59 ปี ร้อยละ 62 รองลงมาเป็นวัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 26.5 และเป็นเยาวชนอายุ 15-24 ปี ร้อยละ 11.5 โรคซึมเศร้า เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง และสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจการเงิน ความผิดหวัง ความสัมพันธ์ ความรัก ความสูญเสีย เป็นต้น หากเยาวชนไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ จะทำให้ทุกปัญหากลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล จนพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้าและคิดทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายได้ และอาการของโรคซึมเศร้า ได้แก่ เศร้า หดหู่ ซึม เบื่อหน่าย หงุดหงิด ฉุนเฉียว ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ มีความคิดอยากตาย โรคซึมเศร้าจึงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีจะก่อให้เกิดการสูญเสียสุขภาวะ ส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคมและเศรษฐกิจรวมทั้งเป็นภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาของภาครัฐ นอกจากนี้หากเป็นเรื้อรังจะทำให้ผู้ป่วยมีความคิดทำร้ายตนเองและฆ่าตัวตายในที่สุด การให้ความสำคัญในการป้องกันและค้นหาผู้ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเขาขาวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพจิต ห่างไกลภาวะซึมเศร้า เพื่อป้องกันโรคซึมเศร้า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองและค้นหาโรคซึมเศร้าในประชาชนในเขตรับผิดชอบ

ประชาชนในเขตรับผิดชอบเข้าถึงบริการโรคซึมเศร้ามากขึ้น

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามากขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 39,260.00 1 39,260.00
9 เม.ย. 63 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า 100 39,260.00 39,260.00

ขั้นเตรียมการ

  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
  2. สำรวจและกำหนดกลุ่มเป้าหมาย

ขั้นดำเนินการ

  1. เขียนโครงการเสนอประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาขาวเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
  4. ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง
  5. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

ขั้นประเมินผล

  1. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน
  2. รายงานผลการดำเนินงานต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาขาว

ค่าใช้จ่าย

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า

  1. ค่าป้ายโครงการ 500 บาท
  2. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 3 ป้าย ป้ายๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท พร้อมติดตั้งจำนวน 3 แห่งๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 6,000 บาท
  3. ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ มื้อละ 75 บาท จำนวน 100 คน เป็นเงิน 7,500 บาท
  4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 100 คน เป็นเงิน 5,000 บาท
  5. ค่าเอกสารประกอบการอบรม
    • คู่มือโรคซึมเศร้า ชุดละ 50 บาท จำนวน 100 ชุด เป็นเงิน 5,000 บาท
  6. ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 12,260 บาท
    • กระเป๋าใส่เอกสาร 100 ใบ ใบละ 100 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
    • สมุด 100 เล่ม เล่มละ 10 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
    • ปากกา 2 กล่อง กล่องละ 320 บาท เป็นเงิน 640 บาท
    • ปากกาเคมี 2 หัว ตราม้า 20 ด้าม ด้ามละ 15 บาท เป็นเงิน 300 บาท
    • กระดาษขาวบรู๊ฟ 24 แผ่น แผ่นละ 5 บาท เป็นเงิน 120 บาท
    • แผ่นผับ (หน้าหลัง) 100 แผ่น แผ่นละ 2 บาท เป็นเงิน 200 บาท
  7. ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในเขตรับผิดชอบเข้าถึงบริการโรคซึมเศร้ามากขึ้น
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น

                                                ลงชื่อ .............................................ผู้เสนอโครงการ

                                                  (................................................)

                                                  ตำแหน่ง .......................................

                                                วันที่-เดือน-พ.ศ.................................

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2563 00:00 น.