กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบการให้บริการทันตกรรมเคลื่อนที่สู่ชุมชน ปี 2

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงพยาบาลละงู

1. ทพญ.กนกวรรณฮ่องสายผู้ประสานงานคนที่ 1
2. ทพญ.วิไลลักษณ์หนูฤทธิ์ผู้ประสานงานคนที่ 2
3. นางสาวทิราภรณ์ ทองรักษา
4.นางสาวนุรรัยมีย์แยบคาย
5. นางสาวจุฑาทิพย์รอเกตุ

พื้นที่ในหมู่บ้านตำบลกำแพง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะโรคฟันผุและปริทันต์อักเสบ เป็นปัญหาที่เด่นชัดซึ่งเมื่อไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคจะลุกลามและสูญเสียฟันในที่สุด ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย การสบฟัน ตลอดการใช้ชีวิตประจำวัน ข้อมูลจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560 ในกลุ่มวัยทำงานอายุ 35-44 ปี ปัญหาที่พบเกิดจากรอยโรคสะสม ทั้งปัญหาสภาวะปริทันต์ ที่พบการอักเสบของเหงือก มีเลือดออกง่าย ร้อยละ 62.4 ปัญหาปริทันต์อักเสบที่มีการทำลายของกระดูกรองรับรากฟันร่วมด้วยซึ่งพบร้อยละ 25.9 และปัญหาโรคฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 43.3 โดยปัญหาดังกล่าว จะแสดงอาการที่รุนแรงจนเกิดความเจ็บปวดและการสูญเสียฟันในช่วงอายุต่อไป ถ้าไม่ได้รับการดูแล ป้องกัน รักษาที่เหมาะสมทันเวลา นอกจากนี้ในวัยนี้ยังมีพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปาก โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ ที่พบร้อยละ 17.9เฉลี่ย 10.4 มวนต่อวัน รวมทั้งพฤติกรรมการไปใช้บริการในรอบปีร้อยละ 42.3 ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.3 ไปรับบริการเมื่อมีหินน้ำลายและร้อยละ 27.8 ไปรับบริการเมื่อมีอาการปวดและเสียวฟันแล้ว มีเพียงร้อยละ 15.8 เท่านั้น ที่ไปรับบริการเพื่อต้องการตรวจเช็คโดยไม่มีอาการ กลุ่มวัยทำงานส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.5 ที่ไม่ไปใช้บริการในรอบปีที่ผ่านมา เนื่องจากร้อยละ 68.6 ยังไม่รู้สึกว่าสุขภาพช่องปากมีปัญหา เพราะยังไม่รู้สึกว่ามีอาการผิดปกติใดๆ และร้อยละ 25.7 เนื่องจากไม่มีเวลา ดังนั้น สำหรับกลุ่มวัยทำงานนอกจากการทำให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และความรู้เพื่อการดูแลอนามัยช่องปากตนเองแล้ว ยังจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมป้องกันโรค โดยเฉพาะสนับสนุนให้ใช้อุปกรณ์เสริมทำความสะอาดซอกฟันเพื่อป้องกันโรคปริทันต์และฟันผุบริเวณด้านประชิด

จากผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากในโครงการพัฒนาระบบการให้บริการทันตกรรมเคลื่อนที่สู่ชุมชนในเขตตำบลกำแพง จำนวน 7 หมู่บ้าน โดยฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลละงู ปีงบปรมาณ 2562 พบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 404 คน อายุเฉลี่ย 42.9 ปี มีปัญหาเหงือกอักเสบและหินปูน คิดเป็นร้อยละ 83.95มีฟันผุเฉลี่ย 3.22 ซี่ต่อคน มีฟันแท้ที่สามารถใช้งานได้เพียง 23.65 ซี่ต่อคน และมีคู่สบฟันแท้ที่สามารถใช้งานได้ 4.03 คู่ต่อคนเท่านั้น และในปีงบประมาณ 2562 มีประชาชนในเขตตำบลกำแพงมีปัญหาบวมติดเชื้อบริเวณใบหน้าทั้งหมด 46 ราย ประกอบกับอัตราการเข้าถึงบริการทันตกรรมในกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-59ปี ในปีงบประมาณ 2562 ในเขตตำบลกำแพงยังมีจำนวนน้อย เพียงร้อยละ 13.39

ดังนั้น เพื่อเป็นการลดอาการบวมติดเชื้อบริเวณใบหน้าที่มีสาเหตุจากโรคฟันผุและโรคปริทันต์อักเสบในเขตตำบลกำแพง ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลละงู จึงได้จัดทำโครงการออกหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ในหมู่บ้าน โดยทำต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาระบบการให้บริการทันตกรรมเคลื่อนที่สู่ชุมชน ปีงบประมาณ 2562 และขยายบริการไปยังหมู่บ้านทั้ง 12 หมู่ในเขตตำบลกำแพง เพื่อให้ประชาชนในเขตตำบลกำแพงเข้าถึงบริการทันตกรรมได้สะดวกขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาโรคฟันผุทะลุโพรงประสาทฟันและโรคปริทันต์อักเสบในกลุ่มวัยทำงาน อายุตั้งแต่ 15-59 ปี
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ที่มีปัญหาโรคฟันผุทะลุโพรงประสาทฟันและโรคปริทันต์อักเสบได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ร้อยละ 90
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับทันตสุขศึกษา และฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี
    ร้อยละ 95
  3. อัตราการเข้าถึงบริการทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-59ปี ในเขตตำบลกำแพง เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15.00
83.95 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 912
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ออกหน่วยให้บริการทันตกรรมภายในหมู่บ้าน ทั้งหมด 12 หมู่ๆ ละ 2 วัน

ชื่อกิจกรรม
ออกหน่วยให้บริการทันตกรรมภายในหมู่บ้าน ทั้งหมด 12 หมู่ๆ ละ 2 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขศึกษา การแปรงฟันที่ถูกวิธี แก่กลุ่มเป้าหมาย

1.2 ฝึกทักษะการแปรงฟันและย้อมสีฟันให้แก่ผู้มารับบริการและผู้ที่สนใจ โดยมี อสม.เป็นวิทยากร 3 คน (วิทยากร คือ อาสาสมัครแกนนำที่ผ่านการอบรมจากโครงการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากวัยทำงาน สำหรับ อสม.) และมีเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข เป็นพี่เลี้ยง

1.3 ตรวจสุขภาพช่องปากแก่ประชาชนในหมู่บ้านที่มารับบริการทันตกรรม โดยบริการถอนฟันวันละ 20 ราย และขูดหินน้ำลายวันละ 18 ราย

เป้าหมาย

  • ประชาชนในในเขตตำบลกำแพงที่มารับบริการทันตกรรม จำนวน 912 ราย

งบประมาณ

  • ค่าวิทยากรสำหรับ อสม.แกนนำ..300..บ. x 3 คน X 24 วัน = 21,600 บ.
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับคณะทำงาน.65..บ.x.13..คน X 24 วัน = 20,280 บ.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม..25..บ.x 13 คน x 2 มื้อ X 24 วัน = 15,600 บ
  • ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกทักษะการแปรงฟัน..50..บ.x 912 คน = 45,600 บ.
  • ค่าไวนิล ขนาด 80 x 120 ซม. ราคา 300บ. X 2 ผืน = 600 บ.

ค่าวัสดุทางทันตกรรม

  • ยาชา 2% lidocaine 440 บ X 11 กล่อง= 4,840 บ
  • ยาชา 4% artricaine 590 บ X 5 กล่อง= 2,950 บ
  • หลอดดูดน้ำลาย 75 บ X 10 ถุง = 750 บ
  • เข็มสั้น 200 บ X 4 กล่อง = 800 บ
  • เข็มยาว 200 บ X 2 กล่อง = 400บ

ค่าเครื่องมือทันตกรรม

  • หัวขูดหินน้ำลาย P10730 บ x 3 อัน =2,190 บ
  • คีมถอนฟัน cow horn2,270 บ x 5 อัน = 11,350 บ.
  • bone curette 1460 บ x 20 อัน = 29,200 บ.

ค่าครุภัณฑ์ทางทันตกรรม

  • โคมไฟสนามส่องปาก LED พร้อมกระเป๋า 12,000 บ x 2 เครื่อง= 24,000 บ
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ที่มีปัญหาโรคฟันผุทะลุโพรงประสาทฟันและโรคปริทันต์อักเสบได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ร้อยละ 90
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับทันตสุขศึกษา และฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี
    ร้อยละ 95
  3. อัตราการเข้าถึงบริการทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-59  ปี ในเขตตำบลกำแพง เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15.00
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
180160.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามผลกลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการทันตกรรม

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลกลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการทันตกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

2.1 ตรวจ/ติดตามสุขภาพช่องปากกลุ่มเป้าหมายหลังมารับบริการ โดย อาสาสมัครแกนนำประจำหมู่บ้าน

2.2 กรณีพบปัญหาหาหรือภาวะแทรกซ้อนภายหลังการรักษา ส่งต่อเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมาย

  • กลุ่มเป้าหมายที่พบปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน

งบประมาณ

ไม่ขอใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามหลังรับบริการ และกรณีพบปัญหาหาหรือภาวะแทรกซ้อนภายหลังการรักษา ส่งต่อเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

3.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง 3.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

งบประมาณ

  • ค่าเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้งๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีการนำเสนอโครงการเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  • มีการจัดทำรูปเล่มรายงาน จำนวน 4 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 182,160.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-59 ปี ที่มีปัญหาโรคฟันผุและปริทันต์อักเสบได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 15-59 ปี ได้รับทันตสุขศึกษา และฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี
3. ภาวะบวมติดเชื้อบริเวณใบหน้าที่มีสาเหตุจากโรคฟันผุ และโรคปริทันต์อักเสบในกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-59 ปี ลดลง
4. ประชาชนในเขตตำบลกำแพงสามารถเข้าถึงบริการทันตกรรมได้สะดวกขึ้น และได้รับการรักษา/ติดตามอย่างต่อเนื่อง


>