กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบการให้บริการทันตกรรมเคลื่อนที่สู่ชุมชน ปี 2
รหัสโครงการ 2563 – L8010 – 1 - 01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลละงู
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 182,160.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลละงู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 182,160.00
รวมงบประมาณ 182,160.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 912 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะโรคฟันผุและปริทันต์อักเสบ เป็นปัญหาที่เด่นชัดซึ่งเมื่อไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคจะลุกลามและสูญเสียฟันในที่สุด ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย การสบฟัน ตลอดการใช้ชีวิตประจำวัน ข้อมูลจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560 ในกลุ่มวัยทำงานอายุ 35-44 ปี ปัญหาที่พบเกิดจากรอยโรคสะสม ทั้งปัญหาสภาวะปริทันต์ ที่พบการอักเสบของเหงือก มีเลือดออกง่าย ร้อยละ 62.4 ปัญหาปริทันต์อักเสบที่มีการทำลายของกระดูกรองรับรากฟันร่วมด้วยซึ่งพบร้อยละ 25.9 และปัญหาโรคฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 43.3 โดยปัญหาดังกล่าว จะแสดงอาการที่รุนแรงจนเกิดความเจ็บปวดและการสูญเสียฟันในช่วงอายุต่อไป ถ้าไม่ได้รับการดูแล ป้องกัน รักษาที่เหมาะสมทันเวลา นอกจากนี้ในวัยนี้ยังมีพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปาก โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ ที่พบร้อยละ 17.9เฉลี่ย 10.4 มวนต่อวัน รวมทั้งพฤติกรรมการไปใช้บริการในรอบปีร้อยละ 42.3 ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.3 ไปรับบริการเมื่อมีหินน้ำลายและร้อยละ 27.8 ไปรับบริการเมื่อมีอาการปวดและเสียวฟันแล้ว มีเพียงร้อยละ 15.8 เท่านั้น ที่ไปรับบริการเพื่อต้องการตรวจเช็คโดยไม่มีอาการ กลุ่มวัยทำงานส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.5 ที่ไม่ไปใช้บริการในรอบปีที่ผ่านมา เนื่องจากร้อยละ 68.6 ยังไม่รู้สึกว่าสุขภาพช่องปากมีปัญหา เพราะยังไม่รู้สึกว่ามีอาการผิดปกติใดๆ และร้อยละ 25.7 เนื่องจากไม่มีเวลา ดังนั้น สำหรับกลุ่มวัยทำงานนอกจากการทำให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และความรู้เพื่อการดูแลอนามัยช่องปากตนเองแล้ว ยังจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมป้องกันโรค โดยเฉพาะสนับสนุนให้ใช้อุปกรณ์เสริมทำความสะอาดซอกฟันเพื่อป้องกันโรคปริทันต์และฟันผุบริเวณด้านประชิด

จากผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากในโครงการพัฒนาระบบการให้บริการทันตกรรมเคลื่อนที่สู่ชุมชนในเขตตำบลกำแพง จำนวน 7 หมู่บ้าน โดยฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลละงู ปีงบปรมาณ 2562 พบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 404 คน อายุเฉลี่ย 42.9 ปี มีปัญหาเหงือกอักเสบและหินปูน คิดเป็นร้อยละ 83.95มีฟันผุเฉลี่ย 3.22 ซี่ต่อคน มีฟันแท้ที่สามารถใช้งานได้เพียง 23.65 ซี่ต่อคน และมีคู่สบฟันแท้ที่สามารถใช้งานได้ 4.03 คู่ต่อคนเท่านั้น และในปีงบประมาณ 2562 มีประชาชนในเขตตำบลกำแพงมีปัญหาบวมติดเชื้อบริเวณใบหน้าทั้งหมด 46 ราย ประกอบกับอัตราการเข้าถึงบริการทันตกรรมในกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-59ปี ในปีงบประมาณ 2562 ในเขตตำบลกำแพงยังมีจำนวนน้อย เพียงร้อยละ 13.39

ดังนั้น เพื่อเป็นการลดอาการบวมติดเชื้อบริเวณใบหน้าที่มีสาเหตุจากโรคฟันผุและโรคปริทันต์อักเสบในเขตตำบลกำแพง ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลละงู จึงได้จัดทำโครงการออกหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ในหมู่บ้าน โดยทำต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาระบบการให้บริการทันตกรรมเคลื่อนที่สู่ชุมชน ปีงบประมาณ 2562 และขยายบริการไปยังหมู่บ้านทั้ง 12 หมู่ในเขตตำบลกำแพง เพื่อให้ประชาชนในเขตตำบลกำแพงเข้าถึงบริการทันตกรรมได้สะดวกขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาโรคฟันผุทะลุโพรงประสาทฟันและโรคปริทันต์อักเสบในกลุ่มวัยทำงาน อายุตั้งแต่ 15-59 ปี
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ที่มีปัญหาโรคฟันผุทะลุโพรงประสาทฟันและโรคปริทันต์อักเสบได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ร้อยละ 90
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับทันตสุขศึกษา และฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี
    ร้อยละ 95
  3. อัตราการเข้าถึงบริการทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-59ปี ในเขตตำบลกำแพง เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15.00
83.95 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1824 182,160.00 3 144,048.00
1 - 31 ม.ค. 63 กิจกรรมที่ 1 ออกหน่วยให้บริการทันตกรรมภายในหมู่บ้าน ทั้งหมด 12 หมู่ๆ ละ 2 วัน 912 180,160.00 143,048.00
1 ม.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 3 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 2,000.00 1,000.00
1 - 30 มิ.ย. 63 กิจกรรมที่ 2 ติดตามผลกลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการทันตกรรม 912 0.00 0.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)

1.ขั้นเตรียมการ

  • ประชุม ประสานงาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนดำเนินงาน
  • ประชาสัมพันธ์โครงการ
  • เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ และวัสดุการสอนต่างๆ

2.ขั้นดำเนินการ ดำเนินการดังนี้

กิจกรรมที่ 1 ออกหน่วยให้บริการทันตกรรมภายในหมู่บ้าน ทั้งหมด 12 หมู่ๆ ละ 2 วัน

1.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขศึกษา การแปรงฟันที่ถูกวิธี แก่กลุ่มเป้าหมาย

1.2 ฝึกทักษะการแปรงฟันและย้อมสีฟันให้แก่ผู้มารับบริการและผู้ที่สนใจ โดยมี อสม.เป็นวิทยากร 3 คน (วิทยากร คือ อาสาสมัครแกนนำที่ผ่านการอบรมจากโครงการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากวัยทำงาน สำหรับ อสม.) และมีเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข เป็นพี่เลี้ยง

1.3 ตรวจสุขภาพช่องปากแก่ประชาชนในหมู่บ้านที่มารับบริการทันตกรรม โดยบริการถอนฟันวันละ 20 ราย และขูดหินน้ำลายวันละ 18 ราย

กิจกรรมที่ 2 ติดตามผลกลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการทันตกรรม


2.1 ตรวจ/ติดตามสุขภาพช่องปากกลุ่มเป้าหมายหลังมารับบริการ โดย อาสาสมัครแกนนำประจำหมู่บ้าน
2.2 กรณีพบปัญหาหาหรือภาวะแทรกซ้อนภายหลังการรักษา ส่งต่อเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง


3.ขั้นสรุปผลการดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่ 3 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง
3.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง
3.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-59 ปี ที่มีปัญหาโรคฟันผุและปริทันต์อักเสบได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 15-59 ปี ได้รับทันตสุขศึกษา และฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี
  3. ภาวะบวมติดเชื้อบริเวณใบหน้าที่มีสาเหตุจากโรคฟันผุ และโรคปริทันต์อักเสบในกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-59 ปี ลดลง
  4. ประชาชนในเขตตำบลกำแพงสามารถเข้าถึงบริการทันตกรรมได้สะดวกขึ้น และได้รับการรักษา/ติดตามอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2563 10:02 น.