กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ เสริมสร้างความเข้าใจร่วมพาลูกน้อยฉีดวัคซีน ชุมชนเทศบาลตำบลหนองจิก ปี ๒๕๖3

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองจิก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ เสริมสร้างความเข้าใจร่วมพาลูกน้อยฉีดวัคซีน ชุมชนเทศบาลตำบลหนองจิก ปี ๒๕๖3

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองจิก

โรงพยาบาลหนองจิก

โรงพยาบาลหนองจิก

ลงพื้นที่ 7 ชุมชน ในเขตเทศบาลตำบลหนองจิก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี พบว่า ผลการดำเนินงานในภาพรวมของชุมชนเขตเทศบาลตำบลหนองจิก จำนวน ๗ ชุมชน ในตำบลตุยงปีงบประมาณ 25๖๐ และ ๒๕๖๑ ผลของความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็กอายุครบ 1 ปี ได้แก่ วัคซีน BCG ร้อยละ ๘๘ , DTB-HB3 , OPV3 ร้อยละ 60.77 และ MMR1 ๗๑.๐๒ , วัคซีน BCG ร้อยละ 99.20 , HBV1 ร้อยละ99.20 , DTB-HB3OPV3 ร้อยละ 62.40 และ MMR1 74.40 , IPV1 ร้อยละ 20 เด็กอายุครบ 2 ปี ได้รับวัคซีน DTP4 , OPV4 ร้อยละ ๕6.65และJE๑ ๕6.65 , วัคซีน DTP4 , OPV4 ร้อยละ 61.17และJE161.17 เด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีน JE๒ ร้อยละ 67.59 , MMR2 ร้อยละ ๕๗ , วัคซีน JE2 ร้อยละ 61.54 , MMR2 ร้อยละ 61.54 และเด็กอายุครบ 5 ปี ได้รับวัคซีน DTP5 , OPV5 ร้อยละ ๕7.73 , วัคซีน DTP5 , OPV5 ร้อยละ 57.52 ตามลำดับ (ข้อมูลจาก HDCของ สสจ.ปัตตานี) จากรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไม่ครบถ้วนตามเกณฑ์ในแต่ละช่วงอายุหรือบางรายไม่ได้รับวัคซีน ทำให้มีโอกาสเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนขึ้น ได้แก่ โรคหัด โรคหัด และโรคไอกรน เป็นต้น จากข้อมูลสถานการณ์โรคหัดในเขตเทศบาลช่วงระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2561 พบว่า เด็กในกลุ่มต่ำกว่า 12 ปี เกิดป่วยด้วยโรคหัด จำนวน ๑๒ ราย จากการไม่ได้รับวัคซีนหรือบางรายได้รับไม่ครบ ต้องเข้ารับการรักษาและนอนในโรงพยาบาลระยะเวลา 4-8 วัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หูชั้นกลางอักเสบ และปวดบวม ทำให้ผู้ปกครองต้องดูแลบุตรอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนต้องป้องกันตนเองเพื่อไม่ให้ได้รับการติดต่อโรคหัดจากลูกโดยการใส่ผ้าปิดจมูก และรับบริการฉีดวัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน ในกลุ่มผู้สัมผัสทุกคนในครอบครัวที่มีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปีจากเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล พร้อมซักประวัติโรคหัดและการได้รับวัคซีนเป็นรายบุคคลในเด็กที่ป่วยและคนในบ้าน
จากการวิเคราะห์และสอบถามข้อมูลจากผู้ปกครอง พบว่า สาเหตุการได้รับวัคซีนในเด็กไม่ครบตามเกณฑ์หรือไม่ได้รับ เนื่องจากผู้ปกครองต้องไปประกอบอาชีพชายแดนมาเลเซียหรือต่างจังหวัด ทำให้ขาดนัดการได้รับวัคซีน กลัวเด็กจะมีไข้ทำให้ผู้ปกครองต้องหยุดงานและขาดรายได้ รวมทั้งเด็กอาศัยอยู่กับญาติ

ผู้ใหญ่ซึ่งมีความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการได้รับวัคซีนทำให้ไม่พาบุตรหลานมาฉีดวัคซีน จากปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบในระยะยาวต่อกลุ่มเป้าหมายเด็กในชุมชนตำบลตุยง ดังนั้นคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของตำบลตุยงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี และลดอัตราป่วยการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนโดยเฉพาะโรคหัด เพื่อพัฒนางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยการเสริมสร้างความเข้าใจของผู้ปกครองในการใช้สมุดบันทึกสุขภาพหน้าที่มีการบันทึกการได้รับวัคซีนเพื่อตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีนของบุตรครบถ้วนหรือไม่ตามเกณฑ์อายุ อาสาสมัครสาธารณสุขมีการติดตามเด็กที่ฉีดวัคซีนไม่ครบหรือไม่ได้รับ เจ้าหน้าที่ให้บริการวัคซีนเชิงรุกในรายที่ไม่สามารถมารับบริการได้ที่โรงพยาบาล และสำรวจเด็กที่เกิดใหม่หรือย้ายเข้าและย้ายออกเพื่อจัดทำฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน เพื่อความสะดวกในการติดตามและให้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการพาบุตรมารับบริการวัคซีนตามเกณฑ์อายุและ สามารถตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีนของบุตรได้ถูกต้อง

 

0.00
2 ๒.เพื่อให้เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีใน ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์มาตรฐาน

 

0.00
3 ๓. เพื่อลดอัตราเกิดโรคจากการไม่ได้รับวัคซีนลดลง

 

0.00
4 ๔. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีการติดตามเด็กในเขตพื้นที่รับผิดชอบนำส่งโรงพยาบาลหรือนัด หมายให้บริการเชิงรุกในชุมขนร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ในรายที่ไม่สามารถมารับวัคซีนได้ในคลินิกสุขภาพเด็กดี

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
๑.อาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ประจำหมู่ จำนวน 30
๒.ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และแกนนำครอบครัว จำนวน 4๐ 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/02/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑. ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ประจำหมู่ เพื่อรับทราบรายชื่อเด็กขาดนัดวัคซีนและติดตาม -

ชื่อกิจกรรม
๑. ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ประจำหมู่ เพื่อรับทราบรายชื่อเด็กขาดนัดวัคซีนและติดตาม -
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500.- บาท
  • ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม 30 คน x 100 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน1,500.-บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ 5000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รับทราบเด็กที่ขาดการฉีควัคซีน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

กิจกรรมที่ 2 ๒. จัดทำเวทีประชาคมในชุมชนเขตเทศบาล 7 ชุมชน เพื่อรับทราบสถานการณ์การเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและข้อมูลเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับไม่ครบ จำนวน ๓ ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
๒. จัดทำเวทีประชาคมในชุมชนเขตเทศบาล 7 ชุมชน เพื่อรับทราบสถานการณ์การเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและข้อมูลเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับไม่ครบ จำนวน ๓ ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๔๐ คน x 50 บาท x 1 มื้อ x ๓ ครั้ง  เป็นเงิน ๖,๐00.- บาท
  • ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม จำนวน ๔๐ คน  x 25 บาท x 2 มื้อ x ๓ ครั้ง เป็นเงิน ๖,๐00.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รับทราบสถานการณ์การเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและข้อมูลเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับไม่ครบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมโดยเชิญผู้นำศาสนาเข้ามาบรรยายด้านศาสนาให้ทราบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมโดยเชิญผู้นำศาสนาเข้ามาบรรยายด้านศาสนาให้ทราบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-บรรยายโดยผู้นำศาสนา

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชาวบ้านจะได้รับรู้และเข้าใจตรงกันในเรื่องการให้ความร่วมมือในการฉีควัคซีน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ในชุมชนได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์และลดอัตราการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
2. ครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักในการพาบุตรมารับบริการวัคซีนเพิ่มขึ้นและมีระบบการติดตามเด็กในชุมชน
3. เกิดระบบการทำงานเป็นเครือข่ายในการดูแลระบบสุขภาพของเด็กในชุมชน


>