กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมล่ามและภาษามือสำหรับสื่อสารกับผู้พิการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

สำนักงานปลัด อบต.เขาชัยสน

สำนักงานปลัด อบต.เขาชัยสน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อ้างถึงพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2551 มาตรา 20 คนพิการมีสิทธิเข้าถึง และใช้ประโยชน์ ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ(ข้อ 7) การใช้บริการล่ามภาษามือและจากฐานจ้อมูลคนพิการของ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน ร้อยละ 12 ของผู้พิการทั้งหมดเป็นผู้พิการหูหนวก และเป็นใบ้ ซึ่งผู้พิการเหล่านี้มีข้อจำกัดในการพูดและได้ยิน ทำให้มีอุปสรรคในการสื่อสารความหมายกับคนทั่วไป และทำให้คนหูหนวกประสบปัญหาในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำตำบลเขาชัยสน ยังมีคนหูหนวกอีกเป็นจำนวนมาก ที่ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษา หรือรับรู้ข่าวสารเช่นเดียวกับคนทั่วไปสำหรับคนหูหนวกที่ได้รับการศึกษา การเขียนไม่สามารถช่วยในการสื่อสาร ระหว่างคนหูหนวกกับคนทั่วไป ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในการพบแพทย์ การแจ้งความ หรือตัดสินคดี การเรียน การฝึกอาชีพ การติดต่อขอรับบริการต่างๆ จากราชการ องค์กรต่างๆ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในสังคมอย่างเสมอภาพ ในจังหวัดพัทลุง และในพื้นที่ตำบลเขาชัยสน ยังขาดบุคลากรทางด้านนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องหาทางช่วยเหลือ และสนับสนุนให้บริการล่ามภาษามือ แก่คนหูหนวก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นฐานของผู้พิการในความเป็นจริง ล่ามภาษามือเป็นสิทธิที่คนพิการทางการได้ยิน ควรได้รับและต้องเข้าถึงคนหูหนวกดำรงชีวิตอยู่ด้วยความยากลำบาก มีข้อจำกัดทางการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ขาดโอกาสในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้บริการของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน อาทิ โรงพยาบาล สถานศึกษา โรงพัก ซึ่งจำเป็นต้องมีล่ามภาษามือ ช่วยในการสื่อสารแต่ปัจจุบันล่ามภาษามือไม่เพียงพอ และไม่ทั่วถึง องค์การบริการส่วนตำบลเขาชัยสน ได้ตระหนักถึงความสำคัญ ในการช่วยให้คนหูหนวกและผู้ที่บกพร่องทางการได้ยิน ได้เข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอันจะส่งผล ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการที่บกพร่องทางการได้ยิน“โครงการล่ามภาษามือกลุ่มเป้าหมายประมาณ 70 คน ประกอบด้วย คนหูหนวก อสม.อพม.อาสาสมัครดูแลคนพิการ บุคลากรจากหน่วยงานราชการและเอกชน ในพื้นที่ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้พิการเหล่านี้เช่น โรงพยาบาลรพสต.สถานีตำรวจธนาคารอบต.กศน. ซึ่งผู้อบรมเหล่านี้ จะมีส่วนสำคัญในการช่วย ให้คนหูหนวกหรือผู้บกพร่องทางการได้ยิน เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และบริการสาธารณะต่างๆได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อช่วยในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารต่างๆ แก่คนหูหนวก

ผู้เข้าอบรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับดำเนินชีวิตคนพิการ สามารถใช้ภาษาล่ามพื้นฐาน สื่อสารอย่างง่ายกับคนหูหนวกได้

0.00
2 เพื่อช่วยเหลือคนหูหนวกที่มีปัญหา ในการติดต่อขอรับบริการต่างๆ จากหน่วยงานของรัฐ และเอกชน

คนหูหนวก สามารถเข้าถึงบริการสารธารณะต่างๆของรัฐ ได้อย่างสะดวกและทั่วถึง

0.00
3 เพื่อช่วยสื่อสารระหว่างคนหูหนวก กับคนหูปกติ หรือคนหูปกติกับคนหูหนวก ในสถานการณ์ต่างๆ และในการทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน

คนหูหนวก มีโอกาสเข้าถึงสิทธิ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 20 ความว่า คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวก อันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ “ข้อ 7  การเข้าถึงบริการล่ามภาษามือตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด”ส่งผลในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้ประสานงานกับผู้พิการ 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรม การใช้ล่าม ภาษามือ 1.บทบาทของ องค์การบริหารส่วนตำบล และกองทุนสปสช. ที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 2. รายงานผลความคืบหน้าของการดำเนินงาน อาสาพัฒนาสังคมของแต่ละหมู่บ้าน (อพม) และอาสาสมัครดูแลคนพิการ (อพมก.) โดย อพม. และ อพมก. ของแต่ละหมู่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรม การใช้ล่าม ภาษามือ 1.บทบาทของ องค์การบริหารส่วนตำบล และกองทุนสปสช. ที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 2. รายงานผลความคืบหน้าของการดำเนินงาน อาสาพัฒนาสังคมของแต่ละหมู่บ้าน (อพม) และอาสาสมัครดูแลคนพิการ (อพมก.) โดย อพม. และ อพมก. ของแต่ละหมู่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรม การใช้ล่าม ภาษามือ 1.บทบาทของ องค์การบริหารส่วนตำบล และกองทุนสปสช. ที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 2. รายงานผลความคืบหน้าของการดำเนินงาน อาสาพัฒนาสังคมของแต่ละหมู่บ้าน (อพม) และอาสาสมัครดูแลคนพิการ  (อพมก.) โดย อพม. และ อพมก. ของแต่ละหมู่บ้าน 3. ฝึกอบรมการใช้ล่าม ภาษามือ  มีประสบในการใช้ชีวิตประจำวันของคนหูหนวกหรือผู้ที่บกพร่องทางการพูดและการได้ยิน 4. ทบทวนบทเรียน และตอบข้อซักถาม

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คนหูหนวกได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างมีคุณภาพ ส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนหูหนวกให้ดีขึ้น ปัญหาในการติดต่อสื่อสารระหว่างคนหูหนวก กับคนปกติลดลง โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วย อาสาสมัครดูแลคนพิการในพื้นที่ บุคลากรจากหน่วยงานของรัฐ เอกชน ที่เกี่ยวข้อง โรงพยาบาล สถานีอนามัย  กศน.  ซึ่งผู้อบรมเหล่านี้ จะมีส่วนสำคัญมาก ในการช่วยคนหูหนวก เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร และบริการสาธารณะต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน ได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11472.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,472.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

คนหูหนวกได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างมีคุณภาพ ส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนหูหนวกให้ดีขึ้น ปัญหาในการติดต่อสื่อสารระหว่างคนหูหนวก กับคนปกติลดลง โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วย อาสาสมัครดูแลคนพิการในพื้นที่ บุคลากรจากหน่วยงานของรัฐ เอกชน ที่เกี่ยวข้อง โรงพยาบาล สถานีอนามัยกศน.ซึ่งผู้อบรมเหล่านี้ จะมีส่วนสำคัญมาก ในการช่วยคนหูหนวก เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร และบริการสาธารณะต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน ได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง


>