กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแม่บ้านยุคใหม่ลดละเลิกกล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

กลุ่มแม่บ้านทำขนม ม.5บ้านดาหลำ

1.นาง เสาวณีย์ รอดเสน
2.นาง กันยา โพธิ์ดก
3.นางสาว สุวรรณี ยาบา
4.นาง จิราภา ชายเหตุ
5.นาง สีหวัน ย่าเหล่

อาคารเอนกประสงค์ ม.5 บ้านดำหลำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สังคมในยุค การใช้ชีวิตของผู้คนดำเนินไปอย่างเร่งรีบและให้ความสำคัญกับความสะดวกจนบางครั้งลืมมองถึงอันตรายที่อยู่รอบตัว การให้ความสำคัญกับความสะดวก ประหยัดเวลาจนกระทั่งละเลยความใส่ใจ เรื่องพิษภัยที่อยู่รอบตัว ที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ กล่องโฟมบรรจุอาหารซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบสนองชีวิตที่เร่งรีบได้อย่างลงตัว จนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันก็มีอันตรายที่แฝงมากับกล่องโฟมที่บรรจุอาหาร ในชีวิตประจำวันของเราเองต้องพบเจอกับกล่องโฟมบรรจุอาหาร เช่น ข้าวผัด ข้าวกะเพราไข่ขาว หรือแม้แต่ขนมโตเกียว ขนมครกร้อนๆ ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นกล่องโฟมบางประเภท มีการระบุเตือนไว้ มีการระบุเตือนอย่างชัดเจนว่า “ไม่ควรนำมาใส่อาหาร” หรือ “ไม่ควรนำมาใส่ของร้อน” ซึ่งอันตรายกับการใช้กล่องโฟมอย่างผิดประเภทเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้คนไทยป่วยเป็นมะเร็งมากขึ้นทุกปีและปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน คือ กล่องโฟม ไม่สามารถ ย่อยสลายได้หรือหากย่อยสลายได้ก็ต้องใช้ระยะเวลานาน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อนหรือ ปัญหามลพิษจากขยะล้นเมือง และพิษรอบตัวอีกอย่างหนึ่งที่หลายคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้น้ำมันทอดซ้ำในการประกอบอาหารแม้กระทั่งบางครอบครัวนำน้ำมันที่ใช้แล้วมาทอดซ้ำ เพราะเห็นว่าประหยัดค่าใช้จ่ายหรือคิดว่าเสียดายน้ำมันที่ทอดครั้งเดียว จึงนำน้ำมันเหล่านั้นกลับมาทอดซ้ำอีกหลายๆครั้ง จนลักษณะทางกายภาพของน้ำมันหรือคุณลักษณะของอาหารเสียไป จึงเปลี่ยนน้ำมันใหม่ผสมลงไปทอดอาหารซ้ำๆต่อไป การเสื่อมสภาพของน้ำมันจากการทอดเกิดสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย คือ “สารโพลาร์” ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคความดันโลหิตสูงหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคมะเร็ง ซึ่งในน้ำมันสำหรับทอดอาหาร กำหนดให้มีปริมาณสารโพลาร์ ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก จากปัญหาดังกล่าว กลุ่มบ้านป่าฝาง รักษ์สขภาพ หมู่ที 5 จึงเล็งเห็นความสำคัญ และตระหนักถึงพิษภัยที่ตามมาจึงได้จัดทำโครงการ ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำต่อเนื่องเป็น ปีที่ 1 ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน และเพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคและผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในเขตพื้นที่ หมู่ที่ ม.5ได้ตระหนักถึงอันตรายจากกล่องโฟมที่ใช้บรรจุอาหารและน้ำมันทอดซ้ำ ให้ประชาชนมีสุขภาพดีต่อไป และ ห่างไกลโรคในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำในหมู่บ้านและผู้บริโภคเกิดมีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่อมโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ

1.กลุ่มแม่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำในหมู่บ้าน และผู้บริโภคเกิดความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ โดยใช้แบบประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรมที่จัดทำขึ้นเอง 2.เกิดหมู่บ้านต้นแบบ ลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ โดยใช้วิธีการสำรวจ/ติดตาม การละ ละ เลิก การใช้กล่องโฟมในหมู่บ้าน 3.ร้อยละ 80 ของร้านจำหน่ายอาหารในชุมชนเป็นร้านที่ปลอดน้ำมันทอดซ้ำและกล่องโฟม

100.00 1.00
2 เพื่อให้คนชุมชนลดภาวะเสี่ยงจากการเกิดโรคในการใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
  1. เพื่อให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีร่างกายแข็งแรงไมมีโรคภัย 2.เพื่อลดขยะในชุมชน 3ทำให้ ม.บ้านสะอาด น่าอยู่ยิ่งขึ้น
50.00 1.00
3 เพื่อให้ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำในหมู่บ้านและผู้บริโภคเกิดมีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่อมโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ

 

0.00

1.ผู้นำชุมชน และกลุ่มแม้บ้าน แกนนำในหมู่บ้าน และผู้บริโภคเกิดความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ โดยใช้แบบประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรมที่จัดทำขึ้นเอง
2.เกิดหมู่บ้านต้นแบบ ลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ โดยใช้วิธีการสำรวจ/ติดตาม การละ ละ เลิก การใช้กล่องโฟมในหมู่บ้าน
3.ร้อยละ 80 ของกลุ่มแม่บ้านและชุมชมที่ปลอดน้ำมันทอดซ้ำและกล่องโฟม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการแม่บ้านยุคใหม่ลดละเลิกกล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ

ชื่อกิจกรรม
โครงการแม่บ้านยุคใหม่ลดละเลิกกล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ป้ายไว้นิล1 ป้าย จำ 500 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรมมีดังนี้ แฟ้ม 8 โหล ปากกา 8 โหล สมุด 8 โหล ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ มื้อ 25 บาท จำนวน 100 คน
=5000 บาท
อาหารเที่ยง 1 มื้อ มื้อล่ะ 75 บาท จำนวน 100 =7500

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มแม่บ้านในชุมชนได้รู้ถึงพิษภัยในการใช้กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการอาจมีถัวเฉลี่ยได้ตามความเหมะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้และเข้าใจในการใช้กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
2.ประชาชนนำความรู้ที่ได้ในการอบรมไปใช้ในชีวิตประจำวันและในครอบครัว


>