กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันไข้เลือดออก ม.3

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3 ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล

1.นางชนิดาองศารา
2.นางวไลภรณ์ ชำนาญเพาะ
3.นางประคองปาลาหา
4.นางอุษาหลำย๊ะ
5.นายมูฮัมหมาด ดินเตบ

ชุมชน หมู่ที่3ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเนื่องจากความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน สังคม ตามลำดับ เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษกิจของประเทศทั้งที่่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไ่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหราสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาอำเภอรามันพบผู้ป่วยไข้เลือดออกและอาการเข้าข่ายโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนตุลาคม 2560 จำนวน 67 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 120.92 ต่อแสนประชากร (เกณฑ์ไม่เกิด 80 ต่อแสนประชากร)จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกทีมีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชากร องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาผู้ป่วยไข้เลือดออก

คนในชุมชนเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้โรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้โรคไข้เลือดออก

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความรุนแรงของโรคไข้เลือกออก

คนในชุมชนช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาด

0.00
4 เพื่อให้คนในชุมชนปลอดจากโรคไข้เลือดออก

คนในชุมชนปลอดจากโรคไข้เลือดออก

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แกนนำและประชาชนทั่วไปในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แกนนำและประชาชนทั่วไปในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชาสัมพันธ์ เชิญประชาชนในหมู่บ้านเข้าร่วมอบรม
2.อบรมให้ความรู้แก่อสม.และประชาชนที่เข้าร่วม -เรื่อง โรคไข้เลือดออก -ค่าป้ายโครงการ 1 ป้าย 500 บาท -ค่าอาหารว่าง 1 มื้อ 100x25=2,500 บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม ได้แก่ แฟ้ม สมุด ปากกา100x20=2000 บาท
-ค่าวิทยากร 2 ชั่วโมง 2 ช.ม. X 300=600 บาท
รวมเป็นเงินทั้งหมด 5,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5600.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตั้งป้ายรณรงค์โรคไข้เลือกออก จำนวน3ป้าย

ชื่อกิจกรรม
ติดตั้งป้ายรณรงค์โรคไข้เลือกออก จำนวน3ป้าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 2 ป้าย
2.นำป้ายประชาสัมพันธ์ไปติดที่หน้ามัสยิด 2 มัสยิด -ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ 2 ป้าย 500x2= 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีสื่อการเรียนที่เห็นได้ชัด คนในชุมชนเข้าถึงข้อมูล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 3 เดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายพร้อมให้ความรู้การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์อย่างถูกวิธี ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
เดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายพร้อมให้ความรู้การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์อย่างถูกวิธี ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เดินรณรงค์ ปรับ เปลี่ยน ปล่อย แหล่งลูกน้ำยุงลายและภาชนะที่มีน้ำขัง
-ค่าทรายอะเบท 2ถังๆละ 4,000 บาท =8,000 บาท
-ค่าอาหารว่าง ในการเดินรณรงค์ 41x25=1,025 บาท รวมเป็นเงิน 9,025 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในชุมชนร่วมเรียนรู้และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9025.00

กิจกรรมที่ 4 เดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายพร้อมให้ความรู้การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์อย่างถูกวิธี ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
เดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายพร้อมให้ความรู้การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์อย่างถูกวิธี ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างในการเดินรณรงค์ 1 มื้อ 25x41= 1,050 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 1,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในชุมชนร่วมเรียนรู้และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,675.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการอาจจะเฉลี่ยค่าใช้จ่ายได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในชุมชนได้รับความรู้และรู้จักการป้องกันโรคไข้เลือดออก
2.อัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
3.ประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมโรคไข้เลือดออก
4.ลดค่าใช้จ่าย ในเรื่องรักษาพยาบาล


>