กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันไข้เลือดออก ม.3
รหัสโครงการ 63-l5310-2-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3 ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 กุมภาพันธ์ 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 16,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางชนิดา องสารา
พี่เลี้ยงโครงการ นายสุทธินันท์ มานะก้า
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ 3 ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 16,650.00
รวมงบประมาณ 16,650.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเนื่องจากความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน สังคม ตามลำดับ เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษกิจของประเทศทั้งที่่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไ่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหราสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาอำเภอรามันพบผู้ป่วยไข้เลือดออกและอาการเข้าข่ายโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนตุลาคม 2560 จำนวน 67 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 120.92 ต่อแสนประชากร (เกณฑ์ไม่เกิด 80 ต่อแสนประชากร)จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกทีมีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชากร องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในชุมชน

คนในชุมชนเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้โรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้โรคไข้เลือดออก

100.00
3 เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความรุนแรงของโรคไข้เลือกออก

คนในชุมชนช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
2 พ.ค. 63 อบรมให้ความรู้แกนนำและประชาชนทั่วไปในหมู่บ้าน 100 5,600.00 5,600.00
2 พ.ค. 63 ติดตั้งป้ายรณรงค์โรคไข้เลือกออก จำนวน 2 ป้าย 0 1,000.00 1,000.00
2 พ.ค. 63 เดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายพร้อมให้ความรู้การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์อย่างถูกวิธี ครั้งที่ 1 41 9,025.00 9,025.00
25 ก.ค. 63 เดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายพร้อมให้ความรู้การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์อย่างถูกวิธี ครั้งที่ 2 41 1,025.00 1,025.00
รวม 182 16,650.00 4 16,650.00

ขั้นเตรียมการ

1.ประชุมวางแผนการดำเนินงาน 2.สำรวจและกำหนดกลุ่มเป้าหมาย

ขั้นดำเนินการ

1.เขียนโครงการเสนอประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาขาวเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ 2.ประชาสัมพันธ์โครงการ 3.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 4.ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง 5.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

ขั้นประเมินผล

1.สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน 2.รายงานผลการดำเนินงานต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาขาว

ค่าใช้จ่าย

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แกนนำและประชาชนทั่วไปในหมู่บ้าน

1.ประชาสัมพันธ์ เชิญประชาชนในหมู่บ้านเข้าร่วมอบรม

2.อบรมให้ความรู้แก่อสม.และประชาชนที่เข้าร่วมเรื่อง โรคไข้เลือดออก

  • ค่าป้ายโครงการ(ป้ายไวนิล) จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 100 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม ได้แก่ แฟ้ม สมุด ปากกา 100 คน คนละ 20 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าวิทยากร 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท
    รวมเป็นเงินทั้งหมด 5,600 บาท

กิจกรรมที่ 2 ติดตั้งป้ายรณรงค์โรคไข้เลือกออก จำนวน 2 ป้าย

1.จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 2 ป้าย
2.นำป้ายประชาสัมพันธ์ไปติดที่หน้ามัสยิด 2 มัสยิด

  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ 2 ป้าย ป้ายละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

กิจกรรมที่ 3 เดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายพร้อมให้ความรู้การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์อย่างถูกวิธี ครั้งที่ 1 1.เดินรณรงค์ ปรับ เปลี่ยน ปล่อย แหล่งลูกน้ำยุงลายและภาชนะที่มีน้ำขัง

  • ค่าทรายอะเบท 2 ถังๆละ 4,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 41 คน เป็นเงิน 1,025 บาท รวมเป็นเงิน 9,025 บาท

กิจกรรมที่ 4 เดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายพร้อมให้ความรู้การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์อย่างถูกวิธี ครั้งที่ 2

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการเดินรณรงค์ 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 41 คน เป็นเงิน 1,025 บาท
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในชุมชนได้รับความรู้และรู้จักการป้องกันโรคไข้เลือดออก

2.อัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง

3.ประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมโรคไข้เลือดออก

4.ลดค่าใช้จ่าย ในเรื่องรักษาพยาบาล

                ลงชื่อ .............................................ผู้เสนอโครงการ

                (................................................)

                ตำแหน่ง .......................................

                วันที่-เดือน-พ.ศ.................................

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2563 10:40 น.