กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารสะอาด ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์

เทศบาลเมือง คอหงส์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ตามนโยบายกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญในเรื่องอาหารปลอดภัยมาโดยตลอด เพราะอาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในด้านคุณภาพและความสะอาด ประกอบกับปัจจุบันพบว่าวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่นิยมประกอบอาหารเพื่อบริโภคเอง เป็นนิยมบริโภคอาหารนอกบ้านหรือบริโภคอาหารสำเร็จ สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหารจึงมีผลกระทบสำคัญต่อสุขภาพของประชาชน เนื่องจากสถานการณ์จำหน่ายอาหารที่ถูกสุขลักษณะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรค สารเคมี หรือโลหะหนัก รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อและนอกจากนี้การที่ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขาภิบาลอาหารและน้ำ และการไม่ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในระหว่างการเตรียมปรุง ประกอบอาหารก็อาจจะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคลงสู่อาหาร ฉะนั้น จึงต้องมีการควบคุม ดูแล ตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร โดยทั้งนี้ ราชการส่วนท้องถิ่นต้องเข้ามาควบคุม ดูแล สถานที่จำหน่ายอาหารให้ถูกสุขลักษณะ โดยได้บัญญัติมาตรการในการควบคุม กำกับ สถานที่จำหน่ายอาหารไว้ตั้งแต่พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการควบคุม กำกับสถานที่จำหน่ายอาหารไว้ในหมวดที่ 8 มาตรา 38 ถึง 40 จึงได้ให้อำนาจราชการส่วนท้องถิ่นในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น เพื่อให้มาตรการในการควบคุม กำกับ สถานที่จำหน่ายอาหารในเขตรับผิดชอบให้ถูกสุขลักษณะ ส่งเสริมให้เกิดการจัดการให้สถานที่จำหน่ายอาหารมีสุขลักษณะที่ดี และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ และทั้งนี้ได้ประกาศเป็นกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.25561 โดยมีสาระสำคัญของกฎกระทรวงประกอบด้วย สุขลักษณะของอาหาร กรรมวิธีการทำ ประกอบปรับปรุง การเก็บรักษาและการจำหน่ายอาหาร สุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์ และเครื่องใช้อื่นๆ และสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร (รายใหม่)ในเขตเทศบาล มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร

ผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร (รายใหม่) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหาร ร้อยละ 70

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการนำความรู้ไปปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับการการสุขาภิบาลอาหารได้อย่างถูกต้อง

ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ที่ผ่านการตรวจตามเกณฑ์สุขาภิบาลอาหาร ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เสริมสร้างความรู้ให้แก่ประชาชน

ชื่อกิจกรรม
เสริมสร้างความรู้ให้แก่ประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย ฝึกอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับหลักการและมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารและสุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร
- ผู้ประกอบกิจการ (2 รุ่นๆ ละ 50 คน)- ค่าวิทยากร 12 ชม. x 600 บ. x 1 คน = 7,200 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 2 มื้อ/80 บ. x 50 คน = 8,000 บาท
- ค่าอาหารว่าง 4 มื้อ/25 บ. x 50 คน = 5,000 บาท
ค่าวัสดุ
- ค่าไวนิล ขนาด 1.2 x 3.4 x ตร.ม. = 500 บาท
- ค่าสมุด 100 x 25 เล่ม = 2,500 บาท
- ค่าปากกา 100 x 7 แท่ง = 700 บาท
- ค่าวุฒิบัตร = 500 บาท - ค่าจัดทำบัตรประจำตัว = 2,000 บาท
- ผู้สัมผัสอาหาร (2 รุ่นๆละ 50 คน)
- ค่าวิทยากร 6 ชม.x 600 บ.x 1 คน = 3,600 บาท
- ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ/25 บ.x 50 คน = 2,500บาท
ค่าวัสดุ
- ค่าไวนิล ขนาด 1.2 x 3.4 x ตร.ม. = 500 บาท
- ค่าสมุด 100 x 25 เล่ม = 2,500 บาท
- ค่าปากกา 100 x 7 แท่ง = 700 บาท
- ค่าวุฒิบัตร = 500 บาท
- ค่าจัดทำบัตรประจำตัว = 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38700.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจประเมิน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจประเมิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย ตรวจสถานที่จำหน่ายอาหารค่าวัสดุ
- ค่าชุดน้ำยาทดสอบ จำนวน 500 ขวดๆ ละ 15 บาท  = 7,500 บาท
- ค่าป้ายอาหารสะอาด 20 ป้าย x 500 บาท 10,000 บาท
- ค่าครุภัณฑ์ตรวจวัดแสงและอุณหภูมิ = 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27500.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงานโครงการ = 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 4 ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าแผ่นพับประชาสัมพันธ์สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร จำนวน 300 ใบ x 5 บาท = 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 68,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>