กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารสะอาด ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 63-L7257-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 68,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมัทนียา ขวัญดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 23 มี.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 68,700.00
รวมงบประมาณ 68,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ตามนโยบายกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญในเรื่องอาหารปลอดภัยมาโดยตลอด เพราะอาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในด้านคุณภาพและความสะอาด ประกอบกับปัจจุบันพบว่าวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่นิยมประกอบอาหารเพื่อบริโภคเอง เป็นนิยมบริโภคอาหารนอกบ้านหรือบริโภคอาหารสำเร็จ สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหารจึงมีผลกระทบสำคัญต่อสุขภาพของประชาชน เนื่องจากสถานการณ์จำหน่ายอาหารที่ถูกสุขลักษณะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรค สารเคมี หรือโลหะหนัก รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อและนอกจากนี้การที่ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขาภิบาลอาหารและน้ำ และการไม่ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในระหว่างการเตรียมปรุง ประกอบอาหารก็อาจจะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคลงสู่อาหาร ฉะนั้น จึงต้องมีการควบคุม ดูแล ตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร โดยทั้งนี้ ราชการส่วนท้องถิ่นต้องเข้ามาควบคุม ดูแล สถานที่จำหน่ายอาหารให้ถูกสุขลักษณะ โดยได้บัญญัติมาตรการในการควบคุม กำกับ สถานที่จำหน่ายอาหารไว้ตั้งแต่พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการควบคุม กำกับสถานที่จำหน่ายอาหารไว้ในหมวดที่ 8 มาตรา 38 ถึง 40 จึงได้ให้อำนาจราชการส่วนท้องถิ่นในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น เพื่อให้มาตรการในการควบคุม กำกับ สถานที่จำหน่ายอาหารในเขตรับผิดชอบให้ถูกสุขลักษณะ ส่งเสริมให้เกิดการจัดการให้สถานที่จำหน่ายอาหารมีสุขลักษณะที่ดี และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ และทั้งนี้ได้ประกาศเป็นกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.25561 โดยมีสาระสำคัญของกฎกระทรวงประกอบด้วย สุขลักษณะของอาหาร กรรมวิธีการทำ ประกอบปรับปรุง การเก็บรักษาและการจำหน่ายอาหาร สุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์ และเครื่องใช้อื่นๆ และสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร (รายใหม่)ในเขตเทศบาล มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร

ผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร (รายใหม่) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหาร ร้อยละ 70

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการนำความรู้ไปปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับการการสุขาภิบาลอาหารได้อย่างถูกต้อง

ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ที่ผ่านการตรวจตามเกณฑ์สุขาภิบาลอาหาร ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 68,700.00 4 11,123.00
23 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 เสริมสร้างความรู้ให้แก่ประชาชน 0 38,700.00 0.00
23 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ตรวจประเมิน 0 27,500.00 11,123.00
23 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 0 1,000.00 0.00
23 มี.ค. 63 - 23 ก.ย. 63 ประชาสัมพันธ์ 0 1,500.00 0.00
  1. ทำหนังสือเชิญสถานประกอบการร้านค้าและแผงลอยเข้าร่วมฝึกอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร
  2. จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหารให้แก่ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร
  3. ตรวจประเมินร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารที่เข้าร่วมฝึกอบรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารเห็นความสำคัญในการพัฒนาแยกระดับมาตรฐานสุขาภิบาล
  2. ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารได้รับการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานทำให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยในการบริโภคมากยิ่งขึ้น
  3. ยกระดับมาตรฐานร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารเป็นร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารที่สะอาดปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2563 14:18 น.