กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหมูปรุงสุกชีวิตปลอดภัยห่างไกลโรคไข้หูดับ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สังคมไทยเป็นสังคมบริโภคนิยม คนไทยส่วนใหญ่ให้ความสนใจเรื่องการบริโภคมาก ชอบเสาะแสวงหาอาหารรับประทาน ไม่ว่าในวันสำคัญใดมักจะมีกิจกรรมการกินเลี้ยงอยู่เสมอ อาหารที่คนไทยนิยมรับประทานในช่วงสังสรรค์ ได้แก่ จิ้มจุ่ม หมูกระทะ สุกี้ ชาบู บาร์บีคิว และสเต๊ก การปิ้งย่างหรือต้มเนื้อหมูไม่สุก การใช้ตะเกียบคีบของดิบลงหม้อก่อนจะใช้ตะเกียบคู่เดิมนั้นคีบอาหารเข้าปาก หรือการใช้ภาชนะที่ใส่ของดิบมาใส่ของที่ปรุงแล้ว อาจทำให้เชื้อโรคหรือพยาธิต่างๆที่ติดมากับตะเกียบหรือภาชนะอื่นๆเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้อาหารอีสานที่นิยมทานกันทั่วทุกภาค เช่น น้ำตก ลาบ ลาบหลู้ ที่มีการใส่เลือดหมูดิบผสม อาจก่อให้เกิดโรคได้
โรคไข้หูดับนับเป็นโรคอุบัติใหม่เกิดจากการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ เชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) ซึ่งสามารถติดต่อได้ 2 ทาง คือ 1. ติดต่อผ่านการบริโภค พบในผู้ที่รับประทานเนื้อ เครื่องใน หรือเลือดหมูแบบปรุงไม่สุก 2. ติดต่อผ่านทางบาดแผลหรือรอยขีดข่วนบนร่างกาย มีการสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ ภายหลังรับประทานหรือสัมผัสเนื้อหมูหรือส่วนประกอบของหมูที่มีเชื้อแบบสุกๆดิบ เชื้อจะเข้าไปทำให้เยื่อหุ้มสมอง และเยื่อบุหัวใจอักเสบ ผู้ป่วยมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีประสาทหูทั้ง 2 ข้างจะถูกทำลายทำให้หูหนวกและมีอันตรายถึงชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยโรคไข้หูดับทั่วประเทศอาจมีจำนวนไม่มากแต่พบอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยสูง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจำนวนผู้ป่วยโรคไข้หูดับมีแนวโน้มสูงขึ้น ปี พ.ศ.2560 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 317 ราย เสียชีวิต 15 ราย ปี พ.ศ.2561 ได้รับการรายงานผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 338 ราย เสียชีวิต 29 ราย ในขณะที่ปี พ.ศ.2562 ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 50 ราย เสียชีวิต 10 ราย โดยส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้สูงอายุและวัยทำงานที่มีประวัติรับประทานหมูที่ไม่ได้รับการปรุงสุก ดังนั้นโรคไข้หูดับจึงเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ย้อนไปประมาณ 5 ปีที่แล้ว ในเขตพื้นที่ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอหาดใหญ่ พบว่ามีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้หูดับ จำนวน 1 ราย และพบว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาร้านอาหารประเภทปิ้งย่างและบุฟเฟ่หม้อไฟได้รับความนิยมจากประชาชนในพื้นที่จำนวนมาก เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยและเสียชีวิตที่จะเกิดขึ้น การสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หูดับ จะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับเทศบาลเมืองคอหงส์ที่จะนำมาสู่การพัฒนาระบบสาธารณสุขให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นได้ อีกทั้งข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้ในการแจ้งกลับไปยังประชาชนเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกสุขลักษณะ นอกจากนี้การให้ความรู้แก่ประชาชนโดยเฉพาะในช่วงก่อนงานเทศกาลสำคัญต่างๆให้ระมัดระวังการติดเชื้อโรคไข้หูดับ เช่น การลวก ปิ้ง หรือย่างหมูให้สุก การแยกตะเกียบหรืออุปกรณ์คีบหมูดิบออกจากหมูสุก การงดเมนูหมูสุกๆดิบๆ หรือแม้กระทั่งการระมัดระวังในการสัมผัสกับเนื้อหมูที่น่าจะมากจากหมูที่ป่วยเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อที่จะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้การแนะนำการเลือกซื้อเนื้อหมูที่มีคุณภาพมาปรุงเองที่บ้านก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการติดเชื้อโรคไข้หูดับ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่างและบุฟเฟ่หม้อไฟให้แก่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์เพื่อประเมินพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หูดับ

รายงานพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หูดับเชิงสถิติ

0.00
2 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อโรคไข้หูดับ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่างและบุฟเฟ่ต์หม้อไฟ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หูดับ

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หูดับ เพิ่มมากขึ้นหลังจากได้รับความรู้ (วัดผลผ่านแบบประเมิน ได้ค่าคะแนนมากกว่า 4 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2020

กำหนดเสร็จ 31/10/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดรูปแบบการดำเนินกิจกรรม
- ค่าอาหารว่างและค่าเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน คนละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสำรวจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หูดับ
- ค่าจัดทำเอกสารสำรวจ แบบสอบถาม และเอกสารให้ความรู้ จำนวน 1,500 ชุด ชุดละ 10 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
- ค่าตอบแทน (การสำรวจข้อมูลตามโครงการ) สำรวจ 1,500 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 15 บาท เป็นเงิน 22,500 บาท
รวมเป็นเงิน 37,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อโรคไข้หูดับ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่างและบุฟเฟ่ต์หม้อไฟ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หูดับ
- ค่าอาหารว่างและค่าเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน คนละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน จำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 7,200 บาท
- ค่าป้ายโครงการ ขนาด 2.0 x 2.4 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 720 บาท
- ค่าจัดทำเอกสารให้ความรู้แจก จำนวน 100 ชุด ชุดละ 5 บาท เป็นเงิน 500 บาท
รวมเป็นเงิน 10,920 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10920.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมประชุมสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ การรายงานผลโครงการฯ
- ค่าอาหารว่างและค่าเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน คนละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
- ค่าจัดทำเอกสารสรุปตามแผนงานโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท
รวมเป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,420.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์มีความตระหนักถึงการรับประทานอาการที่ถูกสุขลักษณะ
2. หัวหน้าชุมชน อสม. และประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ได้รับข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของตัวเองที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หูดับ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องและปลอดภัยจากโรคไข้หูดับ
3. เทศบาลเมืองคอหงส์ทราบข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน และคนขายหมูสด ในเขตปกครองของตัวเอง เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการทางด้านสาธารณสุขต่อไป


>