กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมูปรุงสุกชีวิตปลอดภัยห่างไกลโรคไข้หูดับ
รหัสโครงการ 63-L7257-1-
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาจารย์ประจำ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วันที่อนุมัติ 28 พฤษภาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 ตุลาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,420.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.เด่นนภา แซ่หล่อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2564 30 ต.ค. 2564 50,420.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 50,420.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมไทยเป็นสังคมบริโภคนิยม คนไทยส่วนใหญ่ให้ความสนใจเรื่องการบริโภคมาก ชอบเสาะแสวงหาอาหารรับประทาน ไม่ว่าในวันสำคัญใดมักจะมีกิจกรรมการกินเลี้ยงอยู่เสมอ อาหารที่คนไทยนิยมรับประทานในช่วงสังสรรค์ ได้แก่ จิ้มจุ่ม หมูกระทะ สุกี้ ชาบู บาร์บีคิว และสเต๊ก การปิ้งย่างหรือต้มเนื้อหมูไม่สุก การใช้ตะเกียบคีบของดิบลงหม้อก่อนจะใช้ตะเกียบคู่เดิมนั้นคีบอาหารเข้าปาก หรือการใช้ภาชนะที่ใส่ของดิบมาใส่ของที่ปรุงแล้ว อาจทำให้เชื้อโรคหรือพยาธิต่างๆที่ติดมากับตะเกียบหรือภาชนะอื่นๆเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้อาหารอีสานที่นิยมทานกันทั่วทุกภาค เช่น น้ำตก ลาบ ลาบหลู้ ที่มีการใส่เลือดหมูดิบผสม อาจก่อให้เกิดโรคได้
โรคไข้หูดับนับเป็นโรคอุบัติใหม่เกิดจากการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ เชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) ซึ่งสามารถติดต่อได้ 2 ทาง คือ 1. ติดต่อผ่านการบริโภค พบในผู้ที่รับประทานเนื้อ เครื่องใน หรือเลือดหมูแบบปรุงไม่สุก 2. ติดต่อผ่านทางบาดแผลหรือรอยขีดข่วนบนร่างกาย มีการสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ ภายหลังรับประทานหรือสัมผัสเนื้อหมูหรือส่วนประกอบของหมูที่มีเชื้อแบบสุกๆดิบ เชื้อจะเข้าไปทำให้เยื่อหุ้มสมอง และเยื่อบุหัวใจอักเสบ ผู้ป่วยมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีประสาทหูทั้ง 2 ข้างจะถูกทำลายทำให้หูหนวกและมีอันตรายถึงชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยโรคไข้หูดับทั่วประเทศอาจมีจำนวนไม่มากแต่พบอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยสูง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจำนวนผู้ป่วยโรคไข้หูดับมีแนวโน้มสูงขึ้น ปี พ.ศ.2560 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 317 ราย เสียชีวิต 15 ราย ปี พ.ศ.2561 ได้รับการรายงานผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 338 ราย เสียชีวิต 29 ราย ในขณะที่ปี พ.ศ.2562 ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 50 ราย เสียชีวิต 10 ราย โดยส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้สูงอายุและวัยทำงานที่มีประวัติรับประทานหมูที่ไม่ได้รับการปรุงสุก ดังนั้นโรคไข้หูดับจึงเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ย้อนไปประมาณ 5 ปีที่แล้ว ในเขตพื้นที่ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอหาดใหญ่ พบว่ามีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้หูดับ จำนวน 1 ราย และพบว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาร้านอาหารประเภทปิ้งย่างและบุฟเฟ่หม้อไฟได้รับความนิยมจากประชาชนในพื้นที่จำนวนมาก เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยและเสียชีวิตที่จะเกิดขึ้น การสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หูดับ จะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับเทศบาลเมืองคอหงส์ที่จะนำมาสู่การพัฒนาระบบสาธารณสุขให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นได้ อีกทั้งข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้ในการแจ้งกลับไปยังประชาชนเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกสุขลักษณะ นอกจากนี้การให้ความรู้แก่ประชาชนโดยเฉพาะในช่วงก่อนงานเทศกาลสำคัญต่างๆให้ระมัดระวังการติดเชื้อโรคไข้หูดับ เช่น การลวก ปิ้ง หรือย่างหมูให้สุก การแยกตะเกียบหรืออุปกรณ์คีบหมูดิบออกจากหมูสุก การงดเมนูหมูสุกๆดิบๆ หรือแม้กระทั่งการระมัดระวังในการสัมผัสกับเนื้อหมูที่น่าจะมากจากหมูที่ป่วยเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อที่จะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้การแนะนำการเลือกซื้อเนื้อหมูที่มีคุณภาพมาปรุงเองที่บ้านก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการติดเชื้อโรคไข้หูดับ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่างและบุฟเฟ่หม้อไฟให้แก่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์เพื่อประเมินพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หูดับ

รายงานพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หูดับเชิงสถิติ

0.00
2 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อโรคไข้หูดับ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่างและบุฟเฟ่ต์หม้อไฟ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หูดับ

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หูดับ เพิ่มมากขึ้นหลังจากได้รับความรู้ (วัดผลผ่านแบบประเมิน ได้ค่าคะแนนมากกว่า 4 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 50,420.00 0 0.00
1 มิ.ย. 63 - 30 ต.ค. 63 กิจกรรมประชุมคณะทำงาน 0 500.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ต.ค. 63 กิจกรรมสำรวจ 0 37,500.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ต.ค. 63 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 10,920.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ต.ค. 63 กิจกรรมประชุมสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงา 0 1,500.00 -

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสำรวจ สำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หูดับ โดยใช้แบบสอบถาม โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
ได้แก่ - ประชาชนทั่วไปจาก 30 ชุมชน ชุมชนละ 50 คน รวมทั้งหมด 1,500 คน
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้
จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อโรคไข้หูดับ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่างและบุฟเฟ่ต์หม้อไฟ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน
ในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หูดับ โดยทำการอบรมจำนวน 2 ครั้ง ได้แก่
1. ณ. ศาลาเอนกประสงค์ชุมชนบ้านคลองเตย (ผู้นำชุมชน อสม. และประชาชน จำนวน 50 คน)
2. ณ. ศาลาเอนกประสงค์ชุมชนบ้านคลองหวะ (ผู้นำชุมชน อสม. และประชาชน จำนวน 50 คน)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์มีความตระหนักถึงการรับประทานอาการที่ถูกสุขลักษณะ
  2. หัวหน้าชุมชน อสม. และประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ได้รับข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของตัวเองที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หูดับ
    เพื่อเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องและปลอดภัยจากโรคไข้หูดับ
  3. เทศบาลเมืองคอหงส์ทราบข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน และคนขายหมูสด ในเขตปกครองของตัวเอง เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการทางด้านสาธารณสุขต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2563 14:23 น.