กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวัยทำงานไม่เครียด ห่างไกลโรคซึมเศร้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ภาวะความเครียดสามารถเกิดได้ในทุกที่ทุกเวลาอาจจะเกิดจากปัจจัยภายนอกเช่น การเปลี่ยนงาน การว่างงาน มีปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านครอบครัวเกิดการหย่าร้าง ความสัมพันธ์กับเพื่อน ภาวะเศรษฐกิจการเงิน เป็นต้น ส่งผลให้เกิดความเครียดสะสมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ และก

 

115.00

ภาวะความเครียดสามารถเกิดได้ในทุกที่ทุกเวลาอาจจะเกิดจากปัจจัยภายนอกเช่น การเปลี่ยนงาน การว่างงาน มีปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านครอบครัวเกิดหย่าร้าง ความสัมพันธ์กับเพื่อน ภาวะเศรษฐกิจการเงิน เป็นต้น ส่งผลให้เกิดความเครียดสะสมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ และก่อให้เกิดภาวะแยกตัว อยากอยู่คนเดียวไม่อยากพบเจอใครทำให้เกิดความทุกข์ทรมานด้านจิตใจและสุดท้าย จะทำให้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและนำไปสู่การทำร้ายตนเองและผู้อื่น
ปัจจุบันโรคซึมเศร้า นับเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ป่วย เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้หมดกำลังใจ ท้อแท้ในชีวิต ส่งผลให้ประสิทธธิภาพในการเรียนและการทำงานลดลง โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีสาเหตุซับซ้อน เช่นปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยชีวภาพสมอง ปัจจัยทางจิตสังคมและปัจจัยทางบุคลิกภาพทีส่งผลต่อประสิทธิภาพในการคิด และตัดสินใจ และอาจนำมาซึ่งพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ในประเทศไทย หลายครั้งที่ผู้ป่วยที่มีโรคซึมเศร้าอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการทางกาย เช้่น ปวดศรีษะ ปวดท้องเรื้อรัง หรือแาจมาด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโรคซึมเศร้า เช่น ปัญหาการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์กับในครอบครัว และปัญหาอื่น ๆ จากข้อมูลในคลีนิกสุขภาพจิต รพร.ยะหา พบว่าภาวะเครียดและซึมเศร้าจะเกิดขึ้นมากในกลุ่มวัยทำงาน ดังนั้น คณะผู้จัดทำโครงการวัยทำงานไม่เครียด ห่างไกลโรคซึมเศร้า เพื่อเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการภาวะเครียดและโรคซึมเศร้ามีความรู้ความเข้าใจสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนวัยทำงานสามารถจัดการกับความเครียดได้ด้วยตนเอง

ร้อยละ80 ของประชาชนวัยทำงานได้รับการประเมินความเครียดอยู่ในเกฑณ์ปกติ

115.00 0.00
2 ประชาชนวัยทำงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น

ร้อยละ 80 ของประชาชนวัยทำงานได้รับการประเมินความซึมเศร้าอยู่ในเกณฑ์ปกติ/ไม่มีภาวะซึฒมเศร้า

115.00 0.00
3 ประชาชนวัยทำงานเข้าถึงการรักษามากขึ้น

ประชาชนวัยทำงานเข้าถึงการรักษามากขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/03/2020

กำหนดเสร็จ 24/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ผู้นำสันทนาการเป็นผู้นำทำกิจกรรมละลายพฤติกรรม เพื่อสร้างความผ่อนคลาย 2. ผู้นำกระบวนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยดำเนินกิจกรรม ดังนี้ - กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการสำรวจภาวะเครียดและซึมเศร้าโดยตนเอง - กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องกา

ชื่อกิจกรรม
1. ผู้นำสันทนาการเป็นผู้นำทำกิจกรรมละลายพฤติกรรม เพื่อสร้างความผ่อนคลาย 2. ผู้นำกระบวนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยดำเนินกิจกรรม ดังนี้ - กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการสำรวจภาวะเครียดและซึมเศร้าโดยตนเอง - กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องกา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวันจำนวน 100คน50บาท1มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน 25 บาท2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
  3. ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท รวมทั้งหมด เป็นเงิน 13,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มีนาคม 2563 ถึง 1 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเครียดและซึมเศร้า
  2. ประชานกลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการป้องกันโรคเครียดและซึมเศร้า
  3. ประชาชนที่กลุ่มเป้าหมายเสี่ยงป่วยได้รับสามารถเข้าสู่ระบบการรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
  4. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขปรับตัวกับสถานการณ์ต่างๆได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเครียดและซึมเศร้า
2. ประชานกลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการป้องกันโรคเครียดและซึมเศร้า
3. ประชาชนที่กลุ่มเป้าหมายเสี่ยงป่วยได้รับสามารถเข้าสู่ระบบการรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
4. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขปรับตัวกับสถานการณ์ต่างๆได้


>