กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยทำงานไม่เครียด ห่างไกลโรคซึมเศร้า
รหัสโครงการ 63-L4150-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา
วันที่อนุมัติ 4 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มีนาคม 2563 - 24 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 13,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรอาเซียน อะโรม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ภาวะความเครียดสามารถเกิดได้ในทุกที่ทุกเวลาอาจจะเกิดจากปัจจัยภายนอกเช่น การเปลี่ยนงาน การว่างงาน มีปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านครอบครัวเกิดการหย่าร้าง ความสัมพันธ์กับเพื่อน ภาวะเศรษฐกิจการเงิน เป็นต้น ส่งผลให้เกิดความเครียดสะสมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ และก
115.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะความเครียดสามารถเกิดได้ในทุกที่ทุกเวลาอาจจะเกิดจากปัจจัยภายนอกเช่น การเปลี่ยนงาน การว่างงาน มีปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านครอบครัวเกิดหย่าร้าง ความสัมพันธ์กับเพื่อน ภาวะเศรษฐกิจการเงิน เป็นต้น ส่งผลให้เกิดความเครียดสะสมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ และก่อให้เกิดภาวะแยกตัว อยากอยู่คนเดียวไม่อยากพบเจอใครทำให้เกิดความทุกข์ทรมานด้านจิตใจและสุดท้าย จะทำให้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและนำไปสู่การทำร้ายตนเองและผู้อื่น ปัจจุบันโรคซึมเศร้า นับเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ป่วย เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้หมดกำลังใจ ท้อแท้ในชีวิต ส่งผลให้ประสิทธธิภาพในการเรียนและการทำงานลดลง โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีสาเหตุซับซ้อน เช่นปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยชีวภาพสมอง ปัจจัยทางจิตสังคมและปัจจัยทางบุคลิกภาพทีส่งผลต่อประสิทธิภาพในการคิด และตัดสินใจ และอาจนำมาซึ่งพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ในประเทศไทย หลายครั้งที่ผู้ป่วยที่มีโรคซึมเศร้าอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการทางกาย เช้่น ปวดศรีษะ ปวดท้องเรื้อรัง หรือแาจมาด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโรคซึมเศร้า เช่น ปัญหาการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์กับในครอบครัว และปัญหาอื่น ๆ จากข้อมูลในคลีนิกสุขภาพจิต รพร.ยะหา พบว่าภาวะเครียดและซึมเศร้าจะเกิดขึ้นมากในกลุ่มวัยทำงาน ดังนั้น คณะผู้จัดทำโครงการวัยทำงานไม่เครียด ห่างไกลโรคซึมเศร้า เพื่อเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการภาวะเครียดและโรคซึมเศร้ามีความรู้ความเข้าใจสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนวัยทำงานสามารถจัดการกับความเครียดได้ด้วยตนเอง

ร้อยละ80 ของประชาชนวัยทำงานได้รับการประเมินความเครียดอยู่ในเกฑณ์ปกติ

115.00 0.00
2 ประชาชนวัยทำงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น

ร้อยละ 80 ของประชาชนวัยทำงานได้รับการประเมินความซึมเศร้าอยู่ในเกณฑ์ปกติ/ไม่มีภาวะซึฒมเศร้า

115.00 0.00
3 ประชาชนวัยทำงานเข้าถึงการรักษามากขึ้น

ประชาชนวัยทำงานเข้าถึงการรักษามากขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,600.00 1 13,600.00
23 มี.ค. 63 - 1 มิ.ย. 63 1. ผู้นำสันทนาการเป็นผู้นำทำกิจกรรมละลายพฤติกรรม เพื่อสร้างความผ่อนคลาย 2. ผู้นำกระบวนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยดำเนินกิจกรรม ดังนี้ - กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการสำรวจภาวะเครียดและซึมเศร้าโดยตนเอง - กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องกา 0 13,600.00 13,600.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเครียดและซึมเศร้า
  2. ประชานกลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการป้องกันโรคเครียดและซึมเศร้า
  3. ประชาชนที่กลุ่มเป้าหมายเสี่ยงป่วยได้รับสามารถเข้าสู่ระบบการรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
  4. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขปรับตัวกับสถานการณ์ต่างๆได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2563 00:00 น.