กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

พัฒนาศักยภาพการให้บริการสุขภาพประชาชนแบบองค์รวมโดยทีมหมอครอบครัว ปีงบประมาณ2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

พัฒนาศักยภาพการให้บริการสุขภาพประชาชนแบบองค์รวมโดยทีมหมอครอบครัว ปีงบประมาณ2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล

ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนา ปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับให้ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพและได้ยกระดับสถานีอนามัยเป็น “โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)”โดยแนวคิดมุ่งเน้นการบริการสาธารณสุขผสมผสานเชิงรุก ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม และให้บริการอย่างต่อเนื่อง สามารถให้คำปรึกษา พร้อมทั้งยังส่งต่อผู้ป่วยได้มีความเชื่อมโยงและมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการบริการสุขภาพของประชาชน ชุมชน และท้องถิ่น โดยมีรั้วตำบลเป็นรั้วของโรงพยาบาลเตียงที่บ้านผู้ป่วยคือเตียงของโรงพยาบาล และมีทีมสหวิชาชีพอาทิพยาบาลวิชาชีพหรือเวชปฏิบัติเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันตสาธารณสุข นักกายภาพ และอื่นๆรวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ร่วมกันดูแลสุขภาพ ของคนในตำบลที่รับผิดชอบ
ประกอบกับ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System : DHS) โดยมีหลักคิดของระบบสุขภาพระดับอำเภอ ต้องการให้เกิดภาพของการรับรู้และการร่วมสร้างสุขภาวะที่ดีของประชาชนในอำเภอให้ดีขึ้น โดยกลไกทีมหมอครอบครัว ทั่วไทยคนไทยแข็งแรงทุกครัวเรือนมีหมอครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุข จิตอาสาสุขภาพ (นักบริบาล-ชุมชน) ที่มีบทบาทในการให้บริการสุขภาพเกิดสมดุลด้วยทีมสาธารณสุขที่เป็นทีมเดียวกันในการร่วมรับรู้และทำงาน เพื่อการตอบสนองต่อสุขภาวะ และสภาวะที่เปลี่ยนแปลงในชุมชนตลอดเวลา การบริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพที่มีความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการปัญหาสุขภาพอย่างเป็นเอกภาพในแต่ละอำเภอ โดยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการปรับปรุงการบริหารจัดการระบบบริการปฐมภูมิอย่างมีคุณภาพและมีความสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพในพื้นที่รวมทั้งลดการส่งต่อลดความแออัดในสถานบริการระดับตติยภูมิอันจะส่งผลให้ประชาชนและชุมชนพึ่งพาตนเอง มีขีดความสามารถในการจัดการปัญหาโรคประจำถิ่นและภัยสุขภาพให้ลดลงได้ดังคำว่า “มีญาติเป็นหมอ มี อสม.เป็นเพื่อน” โดยมีเป้าหมายหลักหรือผลผลิตของบริการปฐมภูมิที่สำคัญมี 2 ประการ คือ การส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็นอย่างเสมอภาคเป็นธรรม (Essential care) และ การส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค(Self care) และการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวกลยุทธ์ คือ แนวทางการดำเนินงานการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System :DHS) และมีกลไกที่สำคัญในการดำเนินงาน คือ ทีมหมอครอบครัว (Family Care Team) แพทย์ที่ปรึกษา/หมอครอบครัว/อสม. เพื่อให้ทุกครัวเรือนมีญาติเป็นหมอ และสามารถพึ่งพาได้ทุกเมื่อ ปัจจุบันพบว่าการพึ่งตนเองด้านสุขภาพของคนในชุมชนลดลงจึงได้เพิ่มศักยภาพเป็นทีมหมอครอบครัวเพื่อเข้าไปดูแลจัดการให้บริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชนรายครัวเรือนตามกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มเด็กและสตรีกลุ่มวัยเรียนกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุรวมทั้งการสรุปวิเคราะห์ข้อมูล ปัญหาสุขภาพ การแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชนที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งสร้างนักจิตอาสาสุขภาพ(นักบริบาลชุมชน) เพื่อให้มีความรู้ด้านสุขภาพที่จำเป็นแก่ครัวเรือน สามารถช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้น ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การฟื้นฟูสภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภคตลอดจนการพัฒนาบ้าน อสม.ต้นแบบ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล เห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพทีมหมอครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) เพื่อให้มีขีดความสามารถในการทำหน้าที่ในบทบาทผู้ช่วยทีมหมอครอบครัว โดยใช้รูปแบบในการดูแลตามกลุ่มเป้าหมายที่จำเป็นต้องดูแล และจัดบริการ เพื่อให้การบริการมีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพจึงได้จัดทำ โครงการพัฒนาศักยภาพการให้บริการสุขภาพประชาชนแบบองค์รวม โดยทีมหมอครอบครัว ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ขึ้น โดยมุ่งหวังในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่มีสุขภาวะที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการแบบองค์รวม โดยทีมหมอครอบครัว

มีการจัดบริการโดยทีมหมอครอบครัวที่ชัดเจนและมีผู้ช่วยหมอครอบครัวหมู่บ้านละ 1 ทีม

0.00
2 เพื่อพัฒนาพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)และจิตอาสาสุขภาพให้มีความสามารถในการเป็นผู้ช่วยหมอครอบครัว และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่

อสม.และจิตอาสาสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพประชาชน 5 กลุ่มวัย ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 82
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาองค์ความรู้ อสม.และจิตอาสาสุขภาพในบทบาทผู้ช่วยหมอครอบครัว

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาองค์ความรู้ อสม.และจิตอาสาสุขภาพในบทบาทผู้ช่วยหมอครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่บ้าน 2.ให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง
3.ให้ความรู้เรื่องการตรวจพัฒนาการเด็ก 4.ให้ความรู้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ 5.ให้ความรู้เรื่องโภชนาการในเด็กวัยเรียน
6.สรุปทบทวนความรู้แลกเปลี่ยนซักถามข้อสงสัย งบประมาณ - ค่าวิทยากร จำนวน 6 คน ๆ ละ  1 ชม. ๆ ละ 600 บาท  เป็นเงิน  3,600 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 82 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ  ๗๐บาท เป็นเงิน 5,740 บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 82 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ  25 บาท  4,100 บาท ค่าวัสดุโครงการ - สมุดปกอ่อน จำนวน 82 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 820 บาท - ปากกาลูกลื่น จำนวน 82 ด้ามๆละ 6 บาท เป็นเงิน 492 บาท - กระดาษ A4 1 รีมๆละ 135 เป็นเงิน 135 บาท รวมเป็นเงิน 1,447 บาท - ค่าเครื่องขยายเสียงในการอบรม เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15887.00

กิจกรรมที่ 2 ลงเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่มวัย ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เดือนละ 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ลงเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่มวัย ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เดือนละ 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่มวัย 2.เยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ให้บริการตามสภาพปัญหาเดือนละ 1 ครั้ง 3.ประชุมติดตามผลการเยี่ยมบ้าน การสำรวจข้อมูลและรายงานสภาพปัญหาที่พบทุก 3 เดือน (โดยมีอสม.และจิตอาสาสุขภาพ) - ค่าอาหารว่าง  จำนวน 82 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ 25 บาท (2ครั้ง)  เป็นเงิน  4,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,987.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทีมหมอครับครัวได้รับการอบรมและพัฒนาทีมให้ดีขึ้น มีการจัดระบบบริการที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน
2. ทีมหมอครอบครัว มีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


>