กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาศักยภาพการให้บริการสุขภาพประชาชนแบบองค์รวมโดยทีมหมอครอบครัว ปีงบประมาณ2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล
รหัสโครงการ 63-L3333-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 19,187.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสังคม ชูยิ้มพานิชย์
พี่เลี้ยงโครงการ นายกำพล เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 82 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนา ปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับให้ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพและได้ยกระดับสถานีอนามัยเป็น “โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)”โดยแนวคิดมุ่งเน้นการบริการสาธารณสุขผสมผสานเชิงรุก ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม และให้บริการอย่างต่อเนื่อง สามารถให้คำปรึกษา พร้อมทั้งยังส่งต่อผู้ป่วยได้ มีความเชื่อมโยงและมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการบริการสุขภาพของประชาชน ชุมชน และท้องถิ่น โดยมีรั้วตำบลเป็นรั้วของโรงพยาบาล เตียงที่บ้านผู้ป่วยคือเตียงของโรงพยาบาล และมีทีมสหวิชาชีพ อาทิ พยาบาลวิชาชีพหรือเวชปฏิบัติ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทันตสาธารณสุข นักกายภาพ  และอื่นๆ รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ร่วมกันดูแลสุขภาพ    ของคนในตำบลที่รับผิดชอบ
      ประกอบกับ กระทรวงสาธารณสุข  มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System : DHS) โดยมีหลักคิดของระบบสุขภาพระดับอำเภอ ต้องการให้เกิดภาพของการรับรู้และการร่วมสร้างสุขภาวะที่ดีของประชาชนในอำเภอให้ดีขึ้น โดยกลไกทีมหมอครอบครัว ทั่วไทย คนไทยแข็งแรง ทุกครัวเรือน มีหมอครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุข จิตอาสาสุขภาพ (นักบริบาล-ชุมชน) ที่มีบทบาทในการให้บริการสุขภาพเกิดสมดุลด้วยทีมสาธารณสุขที่เป็นทีมเดียวกันในการร่วมรับรู้และทำงาน เพื่อการตอบสนองต่อสุขภาวะ และสภาวะที่เปลี่ยนแปลงในชุมชนตลอดเวลา การบริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพที่มีความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการปัญหาสุขภาพอย่างเป็นเอกภาพในแต่ละอำเภอ โดยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการปรับปรุงการบริหารจัดการระบบบริการปฐมภูมิอย่างมีคุณภาพและมีความสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพในพื้นที่รวมทั้งลดการส่งต่อ ลดความแออัดในสถานบริการระดับตติยภูมิอันจะส่งผลให้ประชาชนและชุมชนพึ่งพาตนเอง มีขีดความสามารถในการจัดการปัญหาโรคประจำถิ่นและภัยสุขภาพให้ลดลงได้ ดังคำว่า “มีญาติเป็นหมอ มี อสม.เป็นเพื่อน” โดยมีเป้าหมายหลักหรือผลผลิตของบริการปฐมภูมิที่สำคัญมี 2 ประการ คือ การส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็นอย่างเสมอภาคเป็นธรรม (Essential care) และ การส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค(Self care) และการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวกลยุทธ์ คือ แนวทางการดำเนินงานการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System :DHS) และมีกลไกที่สำคัญในการดำเนินงาน คือ ทีมหมอครอบครัว (Family Care Team) แพทย์ที่ปรึกษา/หมอครอบครัว/อสม. เพื่อให้ทุกครัวเรือนมีญาติเป็นหมอ และสามารถพึ่งพาได้ทุกเมื่อ ปัจจุบันพบว่าการพึ่งตนเองด้านสุขภาพของคนในชุมชนลดลง จึงได้เพิ่มศักยภาพเป็นทีมหมอครอบครัวเพื่อเข้าไปดูแล จัดการให้บริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชนรายครัวเรือน รวมทั้งการสรุปวิเคราะห์ข้อมูล ปัญหาสุขภาพ การแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชนที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งสร้างนักจิตอาสาสุขภาพ(นักบริบาลชุมชน) เพื่อให้มีความรู้ด้านสุขภาพที่จำเป็นแก่ครัวเรือน สามารถช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้น ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การฟื้นฟูสภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนการพัฒนาบ้าน อสม.ต้นแบบ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล เห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพทีมหมอครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) เพื่อให้มีขีดความสามารถในการทำหน้าที่ในบทบาทผู้ช่วยทีมหมอครอบครัว โดยใช้รูปแบบในการดูแลตามกลุ่มเป้าหมายที่จำเป็นต้องดูแล และจัดบริการ เพื่อให้การบริการมีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำ โครงการพัฒนาศักยภาพการให้บริการสุขภาพประชาชนแบบองค์รวม โดยทีมหมอครอบครัว ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ขึ้น    โดยมุ่งหวังในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่มีสุขภาวะที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการแบบองค์รวม โดยทีมหมอครอบครัว

มีการจัดบริการโดยทีมหมอครอบครัวที่ชัดเจนและมีผู้ช่วยหมอครอบครัวหมู่บ้านละ 1 ทีม

0.00
2 เพื่อพัฒนาพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)และจิตอาสาสุขภาพให้มีความสามารถในการเป็นผู้ช่วยหมอครอบครัว และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่

อสม.และจิตอาสาสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพประชาชน 5 กลุ่มวัย ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 164 19,187.00 0 0.00
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 อบรมพัฒนาองค์ความรู้ อสม.และจิตอาสาสุขภาพในบทบาทผู้ช่วยหมอครอบครัว 82 14,687.00 -
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 ลงเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่มวัย ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เดือนละ 1 ครั้ง 82 4,500.00 -
  1. จัดทำโครงการเสนอต่อคณะกรรมการ
  2. ประชุมประสานความร่วมมือจาก อสม. ผู้นำชุมชน และบุคคลที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน
  3. อบรมพัฒนาองค์ความรู้ อสม.และจิตอาสาสุขภาพ(ประชาชนในพื้นที่หมู่ละ 10 คน) ในบทบาทผู้ช่วยหมอครอบครัว
    • ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและการวัดความดันโลหิตที่บ้านรวมไปถึงวิธีการตรวจคัดกรองระดับน้ำตาล ระดับความดันโลหิตที่ถูกต้อง
    • ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น
    • ให้ความรู้เรื่องการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น
    • ให้ความรู้เรื่องโภชนาการและพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี
  4. ประชุมเพื่อวางแผนทีมหมอครอบครัว (Family Care Team) เพื่อจัดลำดับ ในการติดตามเยี่ยมบ้าน (Home Visit)
  5. ลงเยี่ยมบ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบโดยการสำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่มวัยและให้บริการตามสภาพปัญหาที่พบเดือนละ 1 ครั้ง
  6. ดำเนินการติดตามให้บริการเชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่มวัย ทุก 2 เดือน เพื่อติดตามจำนวนกลุ่มเป้าหมายและปัญหาที่พบในแต่ละพื้นที่
  7. สรุป ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทีมหมอครับครัวได้รับการอบรมและพัฒนาทีมให้ดีขึ้น มีการจัดระบบบริการที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน
  2. ทีมหมอครอบครัว มีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2563 13:37 น.