กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ต. เขาปู่ อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ต. เขาปู่ อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

โรงพยาบาลศรีบรรพต

พื้นที่ตำบลเขาปู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคฟันผุในเด็กปฐมวัยยังเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้ในเด็กกลุ่มก่อนวัยเรียน สาเหตุหนึ่งมาจากพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการดูแลความสะอาดช่องปาก การดูแลความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟันมีผลช่วยลดฟันผุเนื่องจากช่วยป้องกันการก่อตัวของเชื้อ อีกทั้งสามารถหยุดและชะลอการเกิดฟันผุในระยะเริ่มแรกได้
จากการสำรวจสภาวะช่องปากเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอศรีบรรพต ปี 2558, 2559, 2560 และ 2561 พบว่า เด็กอายุ 3 ขวบ มีฟันผุ ร้อยละ 66.0, 54.9, 58.6, 67.5 และ 59.1 จากการสำรวจพฤติกรรมทางทันตสุขภาพของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปัจจัยหลักของการเกิดโรคในช่องปาก คือ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การดูแลรักษาความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี เด็กแปรงฟันไม่ครบ 2 นาที การแปรงฟันแบบเปียกน้ำทำให้เกิดฟองฟู่และเด็กบ้วนปากออกทันที ทำให้ฟลูออไรด์เจือจาง ผลการป้องกันฟันผุลดลง กลุ่มงานบริการทางการแพทย์ (ทันตสาธารณสุข) จึงได้เห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ปี 2563” โดยให้บริการทางทันตกรรมที่เหมาะสมแก่เด็ก และประกวดหนูน้อยฟันดีพิทักษ์ฟันน้ำนมโดยการแข็งขันแปรงฟันผ่านแอพพลิเคชั่น Brushing Hero เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนได้ร่วมหาแนวทางหรือรูปแบบการแก้ปัญหาโรคฟันผุของเด็กปฐมวัย สร้างความตระหนักให้แก่เครือข่ายที่มีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป โดยได้มีการเสนอของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรของสาธารณสุขไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานทันตสาธารณสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองและครูผู้เข้าร่วมโครงการ

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองและครูผู้เข้าร่วมโครงการม1ความพึงพอใจต่อโครงการในระดับมาก

0.00
2 เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

0.00
3 เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต ได้รับการรักษาทางทันตกรรมอย่างน้อย 1 ครั้ง ของเด็กที่มีปัญหาโรคในช่องปาก

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต ได้รับการรักษาทางทันตกรรมอย่างน้อย 1 ครั้ง ของเด็กที่มีปัญหาโรคในช่องปาก

0.00
4 เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

การเกิดฟันผุของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต ลดลงร้อยละ 1

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การตรวจสุขภาพช่องปากและให้บริการทันตกรรม

ชื่อกิจกรรม
การตรวจสุขภาพช่องปากและให้บริการทันตกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1  การตรวจสุขภาพช่องปากและให้บริการทันตกรรมเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต 2  ประกวดหนูน้อยฟันดีพิทักษ์ฟันน้ำนมโดยการแข็งขันแปรงฟันผ่านแอพพลิเคชั่น Brushing Hero 1. ค่าวัสดุทันตกรรม (ฟลูออไรด์) จำนวน 2 หลอด x 695 บาท = 1,390 บาท 2. ค่าวัสดุทันตกรรม (spoon excavator) จำนวน 11 อัน x 350 บาท = 3,850 บาท 3. ค่าวัสดุสีเหมือนฟัน (GI filling)  จำนวน 3 หลอด x 4,000 บาท = 12,000 บาท 4. ค่าวัสดุสีเหมือนฟัน (composite flow) จำนวน 7 หลอด x 760 บาท = 5,320 5. แปรงทาฟลูออไรด์ (micro brush) จำนวน 7 กล่อง x 120 บาท = 840 บาท 6. ชุดผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพช่องปาก จำนวน 130 ชุด x 20 บาท = 2,600 บาท 7. อุปกรณ์ทำฟันและฟันจำลอง 3,000 บาท    *สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กมีการตื่นตัว เห็นความสำคัญและตระหนักถึงความจำเป็นในการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้น
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนประถมศึกษามีการดำเนินงานส่งเสริมทางทันตสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
3. เด็กก่อนวัยเรียนและชั้นอนุบาลได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี
4. เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขภาพช่องปาก


>