กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ต. เขาปู่ อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง
รหัสโครงการ 63-L3366-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศรีบรรพต
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ แพทย์หญิงวัชรียา ปาละกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีบรรพต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคฟันผุในเด็กปฐมวัยยังเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้ในเด็กกลุ่มก่อนวัยเรียน สาเหตุหนึ่งมาจากพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการดูแลความสะอาดช่องปาก การดูแลความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟันมีผลช่วยลดฟันผุเนื่องจากช่วยป้องกันการก่อตัวของเชื้อ อีกทั้งสามารถหยุดและชะลอการเกิดฟันผุในระยะเริ่มแรกได้ จากการสำรวจสภาวะช่องปากเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอศรีบรรพต ปี 2558, 2559, 2560 และ 2561 พบว่า เด็กอายุ 3 ขวบ มีฟันผุ ร้อยละ 66.0, 54.9, 58.6, 67.5 และ 59.1 จากการสำรวจพฤติกรรมทางทันตสุขภาพของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปัจจัยหลักของการเกิดโรคในช่องปาก คือ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การดูแลรักษาความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี เด็กแปรงฟันไม่ครบ 2 นาที การแปรงฟันแบบเปียกน้ำทำให้เกิดฟองฟู่และเด็กบ้วนปากออกทันที ทำให้ฟลูออไรด์เจือจาง ผลการป้องกันฟันผุลดลง กลุ่มงานบริการทางการแพทย์ (ทันตสาธารณสุข) จึงได้เห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ปี 2563” โดยให้บริการทางทันตกรรมที่เหมาะสมแก่เด็ก และประกวดหนูน้อยฟันดีพิทักษ์ฟันน้ำนมโดยการแข็งขันแปรงฟันผ่านแอพพลิเคชั่น Brushing Hero เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนได้ร่วมหาแนวทางหรือรูปแบบการแก้ปัญหาโรคฟันผุของเด็กปฐมวัย สร้างความตระหนักให้แก่เครือข่ายที่มีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป โดยได้มีการเสนอของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรของสาธารณสุขไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานทันตสาธารณสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองและครูผู้เข้าร่วมโครงการ

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองและครูผู้เข้าร่วมโครงการม1ความพึงพอใจต่อโครงการในระดับมาก

0.00
2 เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ต.เขาปู่  อ.ศรีบรรพต ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

0.00
3 เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต ได้รับการรักษาทางทันตกรรมอย่างน้อย 1 ครั้ง ของเด็กที่มีปัญหาโรคในช่องปาก

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ต.เขาปู่  อ.ศรีบรรพต ได้รับการรักษาทางทันตกรรมอย่างน้อย ๑ ครั้ง ของเด็กที่มีปัญหาโรคในช่องปาก

0.00
4 เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

การเกิดฟันผุของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต ลดลงร้อยละ 1

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,000.00 0 0.00
??/??/???? การตรวจสุขภาพช่องปากและให้บริการทันตกรรม 0 29,000.00 -
  1. ติดต่อประสานงานกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน
  2. จัดทำและขออนุมัติโครงการ
  3. ตรวจ/บันทึก สภาวะช่องปากเด็กเล็กและชั้นอนุบาลก่อนทำการรักษา
  4. แจ้งผลการตรวจแก่ครู ผู้ปกครอง และนัดเข้ารับการรักษา
  5. จัดกิจกรรม “หนูน้อยฟันดีพิทักษ์ฟันน้ำนม”
  6. ประสาน ติดตาม รวมรวมและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน
  7. วิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
  8. ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กมีการตื่นตัว เห็นความสำคัญและตระหนักถึงความจำเป็นในการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้น
  2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนประถมศึกษามีการดำเนินงานส่งเสริมทางทันตสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
  3. เด็กก่อนวัยเรียนและชั้นอนุบาลได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี
  4. เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขภาพช่องปาก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2563 11:05 น.