กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ตามติด ติดตาม รู้ทันความดันโลหิตสูง (รพสต.บานา)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา

1นายสมาน กอลำเบอร์โทร 0819634962

2นางปาซียะห์สาเมาะ เบอร์โทร 0954392339


3 นางอาภรณ์ เจะอุบง เบอร์โทร 085-7994526


4 นางมณัสญา มะจะ เบอร์โทร 098-7066649


5 นางอาซีซะห์คำแปง… เบอร์โทร …081-8976539

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การวัดความดันโลหิต เป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้ภายในเวลารวดเร็วโดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ การวัดอาจทำโดยสอดแขนจนสุดต้นแขนเข้าไปในเครื่องอัตโนมัติ หรือใช้ผ้าพันรอบแขนแล้วสูบลมให้ผ้าพองขึ้นจนเกิดแรงบีบที่แขน จากนั้นจึงค่อย ๆ ปล่อยลมออกและรอดูค่าความดันที่จะปรากฏคงที่ในเวลาต่อมา ภาวะความดันโลหิตสูง มักไม่มีอาการบ่งบอก ผู้ป่วยอาจไม่เคยรู้ตัวจนกระทั่งได้รับการตรวจความดันโลหิตเบื้องต้นเมื่อเข้ารับการรักษาหรือตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลการตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้นสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง รวมถึงโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตาได้การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น สามารถทำได้ง่าย ค่าความดันโลหิตที่วัดที่บ้านจะต่ำกว่าค่าที่วัดจากโรงพยาบาล จากการศึกษาพบว่าค่าความดันโลหิตที่วัดจากบ้าน มีความสัมพันธ์โรคแทรกซ้อน ซึ่ง ประโยชน์ของการวัดความดันโลหิตที่บ้าน คือการวัดความดันชนิดนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่ความดันสูงที่โรงพยาบาล แต่วัดที่บ้านพบว่า ปกติ เพื่อตรวจว่าความดันโลหิตสูงหรือไม่ ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตแตกต่างกันระหว่างที่บ้านและที่โรงพยาบาล จากการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ตำบลบานาในปี 2562 พบกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 377 ราย และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 231 รายคิดเป็นร้อยละ61.27และในปี 2563 จากการคัดกรองพบกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 139 ราย (ความดันโลหิต มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท)กลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วันและหาค่าเฉลี่ย หากยังเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท จะต้องส่งพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาต่อไป เพราะหากปล่อยไว้จะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานาได้เล็งเห็นความสำคัญของการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน จึงจัดทำโครงการตามติดติดตามรู้ทันความดันโลหิตสูงป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถเข้าถึงบริการพบแพทย์และวินิจฉัยได้รวดเร็วและสามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ดีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพตามมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วย มีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส.

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ได้ถูกต้อง

80.00
2 กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการติดตามความดันโลหิตแล้วยังสูงได้รับการส่งต่อเพื่อกรับการวินิจฉัยและรักษาครบทุกคน

ร้อยละ100 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามและส่งต่อเพื่อวินิจฉัยโดยแพทย์ได้รวดเร็ว

100.00
3 ผู้ป่วยและอาสาสมัครสาธารณสุขสามารถประเมินโดยใช้แบบประเมินHMBP ได้ถูกต้อง

ร้อยละ 95 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมสามารถลงบันทึกตามแบบบันทึกHMBPได้ถูกต้อง

95.00

1 จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย
2 จัดทำแนวทางการวัดความดันโลหิตที่บ้าน และแบบบันทึก
3 จัดอบรมให้ความรู้ ฝึกทักษะวิธีการวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง และลงบันทึกในแบบ (HMBP )Home Bp Monitoringหาค่าเฉลี่ยความดันโลหิตในรอบ 7 วัน หากยังสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ส่งพบแพทย์
4. ประสานความร่วมมือติดตามวัดความดันโลหิตติดต่อกัน 7 วัน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข ติดตามอย่างใก้ลชิด กลุ่มเป้าหมาย1 คน: อสม 1 คน
5.สรุปและประเมินผลโครงการ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 110
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/04/2020

กำหนดเสร็จ 21/04/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตามติด ติดตาม รู้ทันความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตามติด ติดตาม รู้ทันความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม(พร้อมผู้จัดอบรม)( จำนวน110 คนผู้จัดอบรม 5 คน รวม 115 คน )25 บาท X 2 มื้อ ( เช้า-บ่าย)X 115 คนเป็นเงิน5,750.-บาท

2.อาหารกลางวัน( พร้อมผู้จัดอบรม)50บาท X115คนเป็นเงิน5,750.-บาท

3.ค่าเอกสารประกอบการอบรม50 บาท X 110 ชุดเป็นเงิน 5,500.-บาท

4ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด1เมตรX3เมตรจำนวน1 ป้าย เป็นเงิน750.-บาท

5ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอลเพื่อใช้หมุนเวียนในกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2,500บาท X 25เครื่อง เป็นเงิน 62,500.-บาท

6.ค่าติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย 100 บาท X 55 คนเป็นเงิน 5,500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2563 ถึง 21 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
85750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 85,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มสงสัยป่วยจะได้รับการแปรผลที่ถูกต้องและส่งต่อ เพื่อวินิจฉัยโดยแพทย์ได้รวดเร็ว

2.สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตรายใหม่ และลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้


>