กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ตามติด ติดตาม รู้ทันความดันโลหิตสูง (รพสต.บานา)
รหัสโครงการ 63-L3013-01-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 เมษายน 2563 - 21 เมษายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 21 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 85,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมาน กอลำ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 เม.ย. 2563 21 เม.ย. 2563 85,750.00
รวมงบประมาณ 85,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 115 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การวัดความดันโลหิต เป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้ภายในเวลารวดเร็วโดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ การวัดอาจทำโดยสอดแขนจนสุดต้นแขนเข้าไปในเครื่องอัตโนมัติ หรือใช้ผ้าพันรอบแขนแล้วสูบลมให้ผ้าพองขึ้นจนเกิดแรงบีบที่แขน จากนั้นจึงค่อย ๆ ปล่อยลมออกและรอดูค่าความดันที่จะปรากฏคงที่ในเวลาต่อมา ภาวะความดันโลหิตสูง มักไม่มีอาการบ่งบอก ผู้ป่วยอาจไม่เคยรู้ตัวจนกระทั่งได้รับการตรวจความดันโลหิตเบื้องต้นเมื่อเข้ารับการรักษาหรือตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลการตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้นสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง รวมถึงโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตาได้การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น สามารถทำได้ง่าย ค่าความดันโลหิตที่วัดที่บ้านจะต่ำกว่าค่าที่วัดจากโรงพยาบาล จากการศึกษาพบว่าค่าความดันโลหิตที่วัดจากบ้าน มีความสัมพันธ์โรคแทรกซ้อน ซึ่ง ประโยชน์ของการวัดความดันโลหิตที่บ้าน คือการวัดความดันชนิดนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่ความดันสูงที่โรงพยาบาล แต่วัดที่บ้านพบว่า ปกติ เพื่อตรวจว่าความดันโลหิตสูงหรือไม่ ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตแตกต่างกันระหว่างที่บ้านและที่โรงพยาบาล จากการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ตำบลบานาในปี 2562 พบกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 377 ราย และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 231 รายคิดเป็นร้อยละ61.27และในปี 2563 จากการคัดกรองพบกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 139 ราย (ความดันโลหิต มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท)กลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วันและหาค่าเฉลี่ย หากยังเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท จะต้องส่งพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาต่อไป เพราะหากปล่อยไว้จะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานาได้เล็งเห็นความสำคัญของการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน จึงจัดทำโครงการตามติดติดตามรู้ทันความดันโลหิตสูงป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถเข้าถึงบริการพบแพทย์และวินิจฉัยได้รวดเร็วและสามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ดีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพตามมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วย มีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส.

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ได้ถูกต้อง

80.00
2 กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการติดตามความดันโลหิตแล้วยังสูงได้รับการส่งต่อเพื่อกรับการวินิจฉัยและรักษาครบทุกคน

ร้อยละ100 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามและส่งต่อเพื่อวินิจฉัยโดยแพทย์ได้รวดเร็ว

100.00
3 ผู้ป่วยและอาสาสมัครสาธารณสุขสามารถประเมินโดยใช้แบบประเมินHMBP ได้ถูกต้อง

ร้อยละ 95 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมสามารถลงบันทึกตามแบบบันทึกHMBPได้ถูกต้อง

95.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 115 85,750.00 1 85,750.00
21 เม.ย. 63 กิจกรรมตามติด ติดตาม รู้ทันความดันโลหิตสูง 115 85,750.00 85,750.00

1.จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย

2.จัดทำแนวทางการวัดความดันโลหิตที่บ้าน และแบบบันทึก

3.จัดอบรมให้ความรู้ ฝึกทักษะวิธีการวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง และลงบันทึกในแบบ (HMBP ) Home Bp Monitoringหาค่าเฉลี่ยความดันโลหิตในรอบ 7 วัน หากยังสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ส่งพบแพทย์

4.ประสานความร่วมมือติดตามวัดความดันโลหิตติดต่อกัน 7 วัน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข ติดตามอย่างใก้ลชิด กลุ่มเป้าหมาย1 คน: อสม 1 คน

5.สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มสงสัยป่วยจะได้รับการแปรผลที่ถูกต้องและส่งต่อ เพื่อวินิจฉัยโดยแพทย์ได้รวดเร็ว

2.สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตรายใหม่ และลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2563 10:54 น.