กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตำบลโตนดด้วน ประจำปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโตนดด้วน

นายโชคชัย เสนเผือก

พื้นที่ตำบลโตนดด้วน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

17.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

20.00
3 ร้อยละของประชาชนที่สงสัยเป็นโรคเบาหวาน

 

2.00
4 ร้อยละของประชาชนที่สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

8.00

จังหวัดพัทลุงสถิติจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในระดับประเทศย้อนหลัง ปี พ.ศ. 2560 มีจำนวนผู้ป่วย 55,955 คน คิดเป็นอัตราป่วย 1,075.00 ต่อแสนประชากรปี พ.ศ. 2561 มีจำนวนผู้ป่วย 56,116 คน คิดเป็นอัตราป่วย 1,207.76 ต่อแสนประชากรปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนผู้ป่วย 57,686 คน คิดเป็นอัตราป่วย 1,078.13ต่อแสนประชากร ตามลำดับและสถิติจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ปี พ.ศ. 2560 มีจำนวนผู้ป่วย 24,622 คน คิดเป็นอัตราป่วย 507.33 ต่อแสนประชากรปี พ.ศ. 2561 มีจำนวนผู้ป่วย 23,458 คน คิดเป็นอัตราป่วย 515.76 แสนประชากรปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนผู้ป่วย 24,365 คนคิดเป็นอัตราป่วย 487.70 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสุขภาพตำบลโตนดด้วนมีจำนวนสถิติและอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงย้อนหลังปี พ.ศ.2560มีจำนวนผู้ป่วย 757 คน คิดเป็นอัตราป่วย 11,078.59 ต่อแสนประชากร ปีพ.ศ.2561 มีจำนวนผู้ป่วย 788 คนคิดเป็นอัตราป่วย 11,549.118 ต่อแสนประชากรปีพ.ศ.2562 มีจำนวนผู้ป่วย892 คนคิดเป็นอัตราป่วย 13,618.32 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และจำนวนสถิติอัตราป่วยด้วนโรคเบาหวานย้อนหลังปี พ.ศ. 2560 มีจำนวนผู้ป่วย 315 คนคิดเป็นอัตราป่วย 4,609.98 ต่อแสนประชากร ปีพ.ศ.2561 มีจำนวนผู้ป่วย 293 คนคิดเป็นอัตราป่วย 4,294.30 ต่อแสนประชากรปีพ.ศ.2562 มีจำนวนผู้ป่วย405 คนคิดเป็นอัตราป่วย 6,183.21 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ จากสถิติดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นซึ่งส่งผลให้เกิดมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนเป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วยแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและการควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป

1.คัดกรองเบาหวาน  ความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไปอย่างน้อย ร้อยละ 90

90.00 92.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓อ.๒ส. ในกลุ่มสงสัยเป็นโรคจากการคัดกรอง

1.กลุ่มสงสัยเป็นโรคจากการคัดกรองได้รับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓อ.๒ส. อย่างน้อย ร้อยละ 50

2.00 1.50
3 เพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX ≥ 100 mg/dl ) มารับการเจาะ FBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

1.กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX ≥ 100 mg/dl ) มารับการเจาะ FBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 50

50.00 52.00
4 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่ รพ.สต.ได้รับบริการตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางปฏิบัติ

1.ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่ รพ.สต.ได้รับบริการตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางปฏิบัติ ร้อยละ 95

95.00 96.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 28
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,232
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าแถบตรวจระดับน้ำตาลในเลือดพร้อมเข็มเจาะ จำนวน 20 กล่อง (กล่องละ 2 ขวดๆละ 50 ชิ้น) ราคากล่องละ 960 บาทเป็นเงิน 19,200บาท 2.ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล (0.1-180 กก.)จำนวน 11 เครื่อง ๆละ1,300 บาทเป็นเงิน14,300 บาท 3.ค่าสายวัดรอบเอวความยาว 100 ซม.130 เส้น ๆละ 50 บาทเป็นเงิน6,500บาท 4.ค่าถ่ายเอกสารแบบบันทึกการตรวจความเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง แบบสรุปผลการคัดกรอง จำนวน 3,050ชุด ชุดละ 3 บาทเป็นเงิน 9,150บาท 5.ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนอายุ 60ปีขึ้นไป จำนวน1,450แผ่นๆละ 2บาท เป็นเงิน 2,900บาท 6.ค่าทำป้ายไวนิลขนาด 1.2× 2.5 ตร.ม.ๆละ150 บาท เป็นเงิน450 บาท รวมเป็นเงิน52,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 15 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไปอย่างน้อย ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและ 3อ.2ส.ในกลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 1 รุ่น

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและ 3อ.2ส.ในกลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 1 รุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารตามโซนสีจำนวน 80 แผ่นๆละ 2 บาท เป็นเงิน 160 บาท
2.ค่าทำป้ายไวนิลขนาด 1.2× 2.5 ตร.ม.ๆละ150 บาท เป็นเงิน450 บาท 3.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและผู้จัด จำนวน 50 คน1 มื้อๆละ80บาท เป็นเงิน4,000บาท 4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและผู้จัดจำนวน 50คน2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน2,500บาท 5. ชุดธงโภชนาการ ชุดใหญ่ แบบ Roll up ขนาด 85 × 200 ซม. จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 2,790บาท 6.ชุดปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารชุดใหญ่ แบบ Roll up ขนาด 85 × 200 ซม. จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 2,790บาท 7.ชุดโรคเบาหวาน – ความดันโลหิตสูง ชุดใหญ่แบบ Roll upขนาด 85×20 ซม. จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 2,790บาท รวมเป็นเงิน 15,480บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 พฤษภาคม 2563 ถึง 26 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มที่สงสัยเป็นโรคจำนวน 46 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15480.00

กิจกรรมที่ 3 เจาะFBS กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
เจาะFBS กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นัดกลุ่มเสี่ยงเบาหวานมาเจาะเลือดที่ รพ.สต.โตนดด้วน (ค่า DTX ≥ 100 mg/dl ) หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน มารับการเจาะ FBS ร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเท้าและตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางผู้ป่วยเบาหวานปฏิบัติ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเท้าและตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางผู้ป่วยเบาหวานปฏิบัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าวิทยากรจำนวน ๒ คนๆละ 3 ชม.ๆละ๖๐๐บาท เป็นเงิน 3600บาท 2.ค่าทำป้ายไวนิลขนาด 1.2× 2.5 ตร.ม.ๆละ150 บาท เป็นเงิน450 บาท 3.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและผู้จัด จำนวน 33 คน1 มื้อๆละ80บาท เป็นเงิน2640บาท 4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและผู้จัดจำนวน 33คน2 มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 1650บาท 5. เครื่องมือตรวจเท้า Monofilamentจำนวน 2 เครื่องๆละ 2800 บาท เป็นเงิน 5600 บาท 6. สบู่เหลวล้างเท้าขนาด 100 มล.จำนวน28ขวด ๆละ 25บาทเป็นเงิน700บาท 7.กะละมังล้างเท้าขนาด 30 ซม. จำนวน10กะละมังๆ 30บาท เป็นเงิน300 บาท 8. ผ้าขนหนูเช็ดเท้าขนาด 15 × 30 นิ้วจำนวน28 ผืนๆละ 30บาท เป็นเงิน 840 บาท 9. ที่ตัดเล็บเท้าขนาดกลางจำนวน10อันๆ ละ 30บาทเป็นเงิน 300 บาท 10.ผ้ายางกันเปื้อนแบบเต็มตัว จำนวน4ผืนๆ130 บาทเป็นเงิน 520 บาท รวมเป็นเงิน 16,150บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มิถุนายน 2563 ถึง 9 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้า ร้อยละ 95

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 84,130.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
2.ลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยง
3.กลุ่มสงสัยเป็นโรคจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ.2 ส.
4.กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX ≥ 100 mg/dl ) ได้รับการเจาะ FBSซ้ำเพื่อติดตามผล
5.ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความเสี่ยงสงสัยเป็นโรคลดลง
6.ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้าตามเกณฑ์มาตรฐานได้รับการส่งต่อในรายที่พบความผิดปกติ


>