กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองความเสี่ยงจากการทำงานแรงงานนอกระบบในกลุ่มเกษตรกรสวนยางพารา หมู่ที่ 5 บ้านนาแค

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองความเสี่ยงจากการทำงานแรงงานนอกระบบในกลุ่มเกษตรกรสวนยางพารา หมู่ที่ 5 บ้านนาแค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

กลุ่มอาสาพัฒนาสาธารณสุข หมู่ที่ 5 บ้านนาแค

1. นางจิราภรณ์ พรหมเมศว์
2. นางสาวอรศิริ พรหมเมศร์
3. นางสาววรพรรณ รักนุ้ย
4. นางปราณี ไชยรักษ์
5. นางสาวอาริสา บัวผัน

หมู่ที่ 5 บ้านนาแค

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ (คน)

 

0.00
2 ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

 

80.00
3 จำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

 

0.00

ประชากรของหมู่ที่ 5 บ้านนาแค ตำบลคลองขุด ร้อยละ 80 มีอาชีพหลัก คือ การทำสวนยางพารา แรงงานกลุ่มนี้จัดเป็นแรงงานนอกระบบที่มีความเสี่ยงจากการทำงาน เช่น การปวดมือ ปวดข้อมือจากการลับมีดกรีดยางนาน ๆ ซ้ำ ๆ กัน ปวดหลังจากการใช้ท่าทางที่ไม่เหมาะสมกับขนาดของหน้ายางที่ต้องกรีด หรือปวดเข่าจากการนั่งยองเป็นเวลานาน นอกจากนี้เกษตรกรสวนยางพาราบางกลุ่มยังใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อกำจัดวัชพืชในร่องสวนยางพาราอีกด้วย ซึ่งความเสี่ยงจากการทำงานเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดกลุ่มอาการประสาทถูกกดในช่องผ่านข้อมือ โรคนิ้วไกปืน เอ็นอักเสบที่ข้อมือ ข้อเข่าเสื่อม หรือเอ็นร้อยหวายอักเสบได้ สาเหตุหนึ่งของการสัมผัสความเสี่ยงเหล่านี้ คือ การใช้ท่าทางในการทำงาน การจัดสภาพแวดล้อม รวมทั้งการเลือกใช้อุปกรณ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ไม่เหมาะสม
การดำเนินมาตรการเชิงรุกในการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการทำงานโดยค้นหาปัจจัยเสี่ยงจากการทำงาน ด้วยการประเมินปัจจัยเสี่ยงด้วยวิธีวิเคราะห์ความเสี่ยงในกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคจากการทำงาน นอกจากนี้จะทำให้แรงงานกลุ่มนี้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญในการปรับพฤติกรรมการทำงานที่เสี่ยงอย่างมีเป้าหมายแล้ว ยังช่วยให้แรงงานนอกระบบกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีขึ้นอีกด้วย
กลุ่มอาสาพัฒนาสาธารณสุขหมู่ที่ 5 บ้านนาแค จึงทำโครงการคัดกรองความเสี่ยงจากการทำงานแรงงานนอกระบบในกลุ่มเกษตรกรสวนยางพารา บ้านนาแคขึ้น เพื่อมุ่งหวังในการคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพและสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มแรงงานนอกระบบ เพื่อลดอาการเจ็บจากการทำงาน เช่น ปวดเมื่อย ปวดเข่า ปวดหลัง พักผ่อนน้อย เป็นต้น และคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดด้วยเนื่องจากเกษตรกรชาวสวนยางพาราจะมีทำนาและปลูกผักร่วมด้วยในช่วงที่ว่างจากการกรีดยางพารา โดย คัดกรองจากกระดาษทดสอบโคลีนเอสเคอเรส

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ ลดลง

80.00 70.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่

จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ เพิ่มขึ้น(คน)

0.00 20.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนมาตราการ ในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

มีจำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน เพิ่มขึ้น

0.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/05/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อส.อช.) ศึกษาเครื่องมือในการสำรวจประเมินความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
อบรมอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อส.อช.) ศึกษาเครื่องมือในการสำรวจประเมินความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเพื่อคัดเลือกอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อส.อช.) จำนวน 1 ครั้ง และศึกษาเครื่องมือในการสำรวจ
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวันในการจัดอบรม (อส.อช.) และวิทยากร1 มื้อๆ ละ 60 บาท จำนวน 23 คน เป็นเงิน 1,380 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการจัดอบรม (อส.อช.) และวิทยากร จำนวน 23 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,150 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรกระบวนการ จำนวน 5 ชั่วโมง ๆละ 600 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 15 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต เกิดกลุ่ม อส.อช. ในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรชาวสวนยางพารา แรงงานนอกระบบ จำนวน 20 คน
ผลลัพธ์ ได้รับการสำรวจประเมินความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5530.00

กิจกรรมที่ 2 อาสาสมัครอาชีวอนามัย (อส.อช.) สำรวจพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงจากเครื่องมือการสำรวจพฤติกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจ

ชื่อกิจกรรม
อาสาสมัครอาชีวอนามัย (อส.อช.) สำรวจพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงจากเครื่องมือการสำรวจพฤติกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.สำรวจประเมินความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยใช้เครื่องมือการประเมินความเสี่ยง(google form)
2.สรุปผลการสำรวจข้อมูลปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางพารา งบประมาณ ค่าตอบแทนในการสำรวจประเมินความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยใช้เครื่องมือการประเมินความเสี่ยง(google form) จำนวน 50 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 เมษายน 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงจำนวน 50 คนได้รับการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางพาราและกำหนดกติการ่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงในกลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางพาราและกำหนดกติการ่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1. จัดอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายและกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงของในการทำงาน จำนวน 1 วัน 1.1 โรคจากการประกอบอาชีพเกษตรกรสวนยางพารา 1.2 ท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน 1.3 การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
1.4 การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) ขณะทำงาน 2. ทำแบบประเมินก่อนการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสร้างกติการ่วมกันเพื่อเป็นข้อกำหนดของกลุ่มในการลดความเสี่ยง 3. คัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา (กรณีพบกลุ่มเป้าหมายมีสารตกค้าง ส่งต่อไปตรวจซ้ำที่โรงพยาบาลสตูล ) งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 52 คนๆละ 60 คน เป็นเงิน 3,120 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรกระบวนการ จำนวน 2 คน รวมจำนวน 5 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท - วัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรมหรือค่าจ้างในการทำสื่อการอบรม เป็นเงิน 2,500 บาท - ชุดทดสอบสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด จำนวนชุดทดสอบ 1ชุด * 2,000 บาท เป็นเงิน 2,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 30 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.อบรมแรงงานนอกระบบในกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา จำนวน 50 คน
2.สร้างอาสาสมัครอาชีวอนามัยในกลุ่มได้ อย่างน้อย 20 คน
ผลลัพธ์ เกิดมาตรการป้องกันร่วมกันในการประกอบอาชีพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10620.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายและถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายและถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.ติดตามประเมินผลหลังจากกิจกรรมที่ 3 ประมาณ 3 เดือน เพื่อประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากแบบประเมินรายบุคคล 2.ประชุมถอดบทเรียนในทีมงาน อส.อช. และตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆ ละ 60 บาท จำนวน 20 คน เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต แรงงานนอกระบบในกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ท่าทางในการทำงาน การจัดสภาพแวดล้อม รวมทั้งการเลือกใช้อุปกรณ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เหมาะสม ร้อยละ 80 ผลลัพธ์ แรงงานนอกระบบในกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ท่าทางในการทำงาน การจัดสภาพแวดล้อม รวมทั้งการเลือกใช้อุปกรณ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เหมาะสม ทำให้คุณภาพชีวิตการทำงานดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,800.00 บาท

หมายเหตุ :
หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางพาราได้รับความรู้ความเข้าใจการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคจากการทำงานและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น
2. อาสาสมัคร อส.อช. สามารถนำกระบวนการและมีบทบาทในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน


>