กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุกาสาเมาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุกาสาเมาะ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ

ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ (คน)

 

0.00
2 ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

 

30.00
3 จำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

 

0.00

ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 60 มีอาชีพหลักคือการทำสวนยางพารา แรงงานกลุ่มนี้จัดเป็นแรงงานนอกระบบที่มีความเสี่ยงจากการทำงาน เนื่องจากพฤติกรรมการทำงานที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น การปวดข้อมือจากการลับมีดกรีดยางนานๆ ซ้ำๆ กัน ปวดหลังจากการใช้ท่าทางที่ไม่เหมาะสมกับขนาดของหน้ายางที่ต้องกรีดหรือปวดข้อเข่าจากการนั่งยองเป็นเวลานาน เกษตรกรสวนยางพารามักจะทำงานตอนกลางคืนโดยเฉพาะช่วงตี 2 – 6 โมงเช้า การนอนพักบ้างครั้งต้องเหลื่อมเวลาทำงานและพักผ่อนทำให้ร่างกายต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้เกิดความอ่อนล้าจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ และการทำงานในช่วงยามวิกาลนั้นหากในพื้นที่สวนยางพารามีวัชพืชรกก็เสี่ยงต่อการถูกสัตว์มีพิษกัด เช่น งู แมลงป่อง ตะขาบ เกษตรกรสวนยางพาราบางกลุ่มจึงเลือกใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชเป็นทางเลือกในการกำจัดวัชพืชในร่องสวนยางพารา ซึ่งหากใช้สารเคมีในปริมาณที่มากหรือผิดวิธีอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม นอกจากสารเคมีกำจัดวัชพืชการใช้น้ำกรดฟอร์มิค – ความเข้มข้น 10 % ที่เติมลงในถ้วยยางเพื่อทำให้ยางพาราตกตะกอนจับตัวได้เร็ว หากไม่ใช้อุปกรณ์เพื่อป้องกันความเสี่ยง สารเคมีอาจจะกระเด็นเข้าตาหรือผิวหนังส่งผลต่อสุขภาพได้เช่นกัน นอกจากนี้การดูแลสิ่งแวดล้อมก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ ถ้วยยางพาราที่มีน้ำขังอาจกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงนำไปสู่การเกิดโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรคได้ สาเหตุของการสัมผัสความเสี่ยงนอกจากการใช้ท่าทางในการทำงานหรือการจัดสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ยังรวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ไม่เหมาะสมด้วย เช่น ในกระบวนการทำยางแผ่นเกษตรกรสวนยางพารามีโอกาสได้รับบาดเจ็บจากเครื่องนวดและรีดแผ่นยาง หรือถูกไฟฟ้าช็อต การลำเลียงเคลื่อนย้ายน้ำยางพาราหากมีการหกลงบนถนนลาดยางหรือถนนซีเมนต์จะทำให้ถนนลื่น ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ขับขี่รถบนถนนก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การดำเนินมาตรการเชิงรุกในการส่งเสริมและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพของแรงงานนอกระบบ เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคจากการทำงานในภายหน้า นอกจากจะทำให้แรงงานกลุ่มนี้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานที่เสี่ยงอย่างมีเป้าหมายแล้ว ยังช่วยให้แรงงานนอกระบบกลุ่มนี่มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีขึ้น เกิดกลุ่มเครือข่ายแรงงานนอกระบบที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มอาชีพอีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ ลดลง

30.00 15.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่

จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ เพิ่มขึ้น(คน)

0.00 150.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนมาตราการ ในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

มีจำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน เพิ่มขึ้น

0.00 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 150
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2020

กำหนดเสร็จ 03/06/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) ตำบลปะลุกาสาเมา

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) ตำบลปะลุกาสาเมา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพในการทำงานโดยใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยง จำนวน 150 คน ระยะเวลา 1 วัน 1.1 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท 1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท 1.3 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 7 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท 1.4 ค่าจัดทำป้ายโครงการ (ไวนิล) ขนาด 1.5*3 เมตรๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 1,350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 1 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดกลุ่มอาสาสมัครอาชีวอนามัยตำบลปะลุกาสาเมาะ ที่มีความรู้ และมีทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20550.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจข้อมูลความเสี่ยง ภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพ และวัดระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราตำบลปะลุกาสาเมาะ

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลความเสี่ยง ภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพ และวัดระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราตำบลปะลุกาสาเมาะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพ และจัดทำระบบข้อมูลเพื่อวัดระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราตำบลปะลุกาสาเมาะ โดยตัวแทนอาสาสมัคร อาชีวอนามัย (อสอช.) ตำบลปะลุกาสาเมาะ จำนวน 20 คน
2.1 ค่าตอบแทนผู้สำรวจข้อมูล จำนวน 20 คนๆ ละ 500 บาทเป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2563 ถึง 2 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดฐานข้อมูลสถานการณ์และความเสี่ยงด้านสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพทำสวนยางพาราตำบลปะลุกาสาเมาะ โดยการปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการทำงานที่เสี่ยงจากการประกอบอาชีพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่วนบุคคลและกลุ่มเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพทำสวนยางพารา เช่น การปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำงาน การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เป็นต้น และถอดบทเรียนกำหนดมาตรการหรือข้อบังคับสำหรับป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ จำนวน 150 คน ระยะเวลา 1 วัน 3.1 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท 3.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท 3.3 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 7 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2563 ถึง 3 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดมาตราการสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดกลุ่มอาสาสมัครอาชีวอนามัยตำบลปะลุกาสาเมาะ ที่มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพในการทำงาน
2. มีข้อมูลสถานการณ์และความเสี่ยงด้านสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อวางแผนการสนับสนุนกลุ่มอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ
3. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
4. มีมาตรการสำหรับป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพในกลุ่มอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ


>